ตัวบ่งชี้ที่ 5.1

ข้อที่ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนํามาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ที่ 5 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกํากับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

ชนิดตัวบ่งชี้ ผลลัพธ์

เกณฑ์การประเมิน ค่าคะแนน

เกณฑ์การประเมิน (ข้อ) (กระบวนการ)

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ข้อที่ 5.5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนํามาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

คณะครุศาสตร์ มีการพัฒนาคณะสู่การจัดการความรู้ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการการจัดการความรู้(เอกสารหมายเลข 5.1-5-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ ) เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (เอกสารหมายเลข 5.1-5-2 คู่มือการจัดการความรู้ ) มีการพิจารณาความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้ยุทธศาสตร์บรรลุเป้าหมาย โดยมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดอบรม การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในกลุ่มผู้ที่อบรม การจัดทำคู่มือ การติดผล และช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคณะฯ ดำเนินการอย่างน้อย 4 ประการเพื่อให้เกิดกระบวนการการจัดการความรู้ ได้แก่

(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของคณะฯ โดยปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร ได้ประชุมและหารือร่วมกับผู้บริหาร และบุคลากรของคณะ เพื่อกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่อการพัฒนางานของคณะฯ สามารถสรุปข้อมูลได้ดังนี้

เรื่องที่ 1 “การจัดการความรู้ แนวทางการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ Platform Moodle SRRU”

เรื่องที่ 2 “จัดการความรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ”

เรื่องที่ 3 “การจัดการความรู้ คู่มือสำหรับผู้รับบริการ หน่วยงาน คณะครุศาสตร์ ”

(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ จากการกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น ซึ่งได้ออกมา 3 เรื่อง ทางคณะกรรมการพัฒนาบุคลากร ได้ดำเนินการจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และบุคลากรผู้มีประสบการณ์ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรของคณะฯ

(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการใช้งานของบุคลากรแต่ละตำแหน่งงาน จากการเข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรแต่ ละตำแหน่งงานได้นำไปปรับปรุงให้เหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในงานที่รับผิดชอบ บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในงานที่รับผิดชอบ เช่น งานสอน งานสารบรรณ งานพัฒนาวิชาการ หรือการผลิตเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น

(เอกสารหมายเลข 5.1-5-3-1 สรุปโครงการการจัดการความรู้ แนวทางการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ Platform Moodle SRRU )

(เอกสารหมายเลข 5.1-5-3-2 สรุปโครงการจัดการความรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ )

(เอกสารหมายเลข 5.1-5-3-3 คู่มือสำหรับผู้รับบริการ หน่วยงาน คณะครุศาสตร์ )