ตัวบ่งชี้ที่ 5.1

ข้อที่ 4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ที่อธิบายการดําเนินงานอย่างชัดเจน

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกํากับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

ชนิดตัวบ่งชี้ ผลลัพธ์

เกณฑ์การประเมิน ค่าคะแนน

เกณฑ์การประเมิน (ข้อ) (กระบวนการ)

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ข้อที่ 5.4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดําเนินงานอย่างชัดเจน

1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คณะครุศาสตร์ จัดทำและดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อนําไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติงาน และเป็นกรอบในการจัดทําคําของบประมาณประจําปี รวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-1)

2) หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ผู้บริหารมีการบริหารจัดการทรัพยากรของคณะฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการบริหารจัดการทรัพยากรทางด้านการเงิน บุคลากรและอื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการรายงานผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนดต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ หรือ คณะกรรมการบริหารคณะ เช่น การจัดสรรงบประมาณ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของคณะ อีกทั้ง ยังสนับสนุนให้บุคลากรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ที่ได้พัฒนาเป็นระบบที่สมบูรณ์แล้ว มาใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงาน และระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตาม พันธกิจ โดยมีระบบที่นำมาบริหารจัดการคือ ระบบงานบุคลากร ระบบงานทะเบียนนักศึกษา ระบบงานหลักสูตรการศึกษา ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและบทความ ระบบกองทุนพัฒนาบุคลากร ระบบงานสารบรรณ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ภารกิจหลักหรืองานหลักเพื่อวิเคราะห์หาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการ หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันของผู้ปฏิบัติงาน (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-2.1) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-2.2) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-2.3)

3) หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คณะครุศาสตร์ มีการบริหารตามพันธกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมตามยุทธศาสตร์ของคณะ เช่น มีการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น โดยมีการสอบถามความต้องการของชุมชนและนำไปสู่การจัดทำโครงการที่ตอบสนองต่อความต้อง การส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อตอบสนองการเป็นโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาในการดูแลของมหาวิทยาลัย ตอบสนองในเรื่อง การปรับปรุง พัฒนา อาคารสถานที่ ตามความต้องการของนักศึกษา เช่น การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ Learning Space เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำงาน การเพิ่มแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบบอร์ดประชาสัมพันธ์ ให้มีความครอบคุลมทุกพื้นที่ในชั้น ที่ 1- 3 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการตอบสนองความต้องการของนักศึกษา การเพิ่มพื้นที่จอดรถของมอเตอร์ไซต์นักศึกษา การปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยล้อมคณะครุศาสตร์ให้เป็นพื้นที่สีเขียว (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-3) (ภาพที่เกี่ยวข้อง)

4) หลักการรับผิดชอบ (Accountability) ผู้บริหารได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการบริหารจัดการ/การดำเนินงาน โดยถ่ายทอดตัวชี้วัด/เป้าหมายขององค์การสู่ระดับบุคคล และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ คณะฯ ได้แสดงความรับผิดชอบตามพันธกิจด้วยการให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจาก หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-4) (คำสั่งที่เกี่ยวข้อง)

5) หลักความโปร่งใส (Transparency) คณะฯ มีความมุ่งมั่นในการ บริหารงานตามหลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม โดยกำหนดให้มีผู้แทนบุคลากรอยู่ในคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อให้มีโอกาสในการรับทราบ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารงานของคณะฯ นโยบายการบริหารงาน รวมถึงรับทราบ และตรวจสอบการดำเนินงานของคณะฯ ได้อย่างโปร่งใส นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ตามหลักความโปร่งใส คณะฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในคณะครุศาสตร์ (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-5 )

6) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ มีการใช้กระบวนการตัดสินใจ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงการบริหารงานโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย เช่น คณะกรรมการคุรุศึกษา คณะอนุกรรมการคุรุศึกษา ที่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตร่วมกันทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ให้มีคุณภาพและมาตรฐานโดยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และคณะกรรมการบริหารงานระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีผู้แทนจากแต่ละหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน พัฒนา และพิจารณางานในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะให้มีคุณภาพ (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-6)

7) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้บริหารได้กระจายอำนาจในการบริหารงาน โดยได้มีการจัดทำคำสั่งมอบหมายงานรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าสำนักงานคณบดี หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ ดูแลกำกับติดตามงานด้านต่างๆของคณะ รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในคณะให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-7)

8) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ผู้บริหาร มีแนวทาง/นโยบายในการปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของทางราชการ เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม เช่น ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะเลขานุการจะจัดเตรียมแฟ้ม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั้งหมด ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน เพื่อให้ที่ประชุมยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินใจ และ ผู้บริหารมีการมอบหมายภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในตำแหน่งต่างๆ อย่างเหมาะสมตรงตามตำแหน่งที่รับผิดชอบ และสอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ โดยมีการแต่งตั้งทีมบริหารในตำแหน่งรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหัวหน้างาน (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-8 )

9) ความเสมอภาค (Equity) ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคทั้งในด้านการบริหารและการให้บริการ โดยผู้บริหารคณะฯ สนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหารงานและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน โดยในคณะ ส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ เข้ารับการอบรมและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-9 )

10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับการนำหลักการตัดสินใจโดยฉันทามติมาใช้ ในการตัดสินใจทางการบริหาร ตัวอย่างสำคัญที่แสดงการยึดหลักมุ่งเน้นฉันทามติ คือ กระบวนการตัดสินใจในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ หรือที่ประชุมสำคัญของคณะฯ ล้วนยึดถือประเพณีปฏิบัติที่ดีงามในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ ทั้งประเด็นเชิงนโยบาย การบริหาร แนวทางปฏิบัติ และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยอาศัยฉันทามติของที่ประชุมที่มีการยอมรับใน หลักเหตุผลที่มีการประสานความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกัน (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-10)