ตัวบ่งชี้ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการ




ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง


ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

1.คณะมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และตามความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของสังคม ชุมชน หรือท้องถิ่น

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้เห็นความจำเป็นและสำคัญในการดำเนินภารกิจด้านการบริการวิชาการ โดยการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา โดยได้กำหนดไว้ในพันธกิจข้อที่ ๓ คือบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น โดยมีเป้าประสงค์ในข้อ ๕ คือ ให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์คณะฯ ข้อที่ ๕ คือ ส่งเสริมการบริการวิชการแก่ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีกลยุทธ์หลัก คือ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคณะครุศาสตร์ให้เป็นศุนย์กลางเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

รายการเอกสารหลักฐาน

EDU3.1-1-1 >>> 1.แผนปฏิบัติราชการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2562

2.แผนบริการวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2562

2. คณะมีระบบและกลไกการ การกำกับดูแลกระบวนการให้บริการวิชาการที่มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคมชุมชนท้องถิ่นตามความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามพันธกิจด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการบริการวิชการอย่างเป็นระบบ และมีการจัดโครงสร้างภายในสภาบันเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบ โดยการให้บริการวิชาการนั้นต้องมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย และสามารถบูรณาการงานบริการวิชการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม

รายการเอกสารหลักฐาน

EDU3.1-1-2>>>ระบบและกลไกการบริการวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

3. คณะมีการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ภายในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทางด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านเกี่ยวกับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิตหรือสุขภาพที่ดี

คณะครุศาสตร์ ได้ดำเนินการกำหนดขั้นตอนการดำเนินโครงการบริการวิชาการไว้อย่างชัดเจน โดยมีการสำรวจความต้องการของชุมชนหรือภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานและจัดทำปฏิทิน/แผนบริการวิชาการแก่สังคม มีการวิเคราะห์บริบทพื้นที่ และศึกษาความต้องการของชุมชนในการจัดทำเป็นฐานข้อมูลแลกเปลี่ยนระหว่างคณะ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์และลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินกิจกรรมและการลงพื้นที่กำกับติดตามประเมินผลโครงการฯเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินงานและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

รายการเอกสารหลักฐาน

EDU3.1-1-3>>>แบบสำรวจความต้องการของชุมชนหรือภาครัฐ ภาคเอกชน

4. สังคม ชุมชน หรือท้องถิ่นเป้าหมายของการบริการวิชาการเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือสร้างคุณค่า ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของผู้เรียน สังคม ชุมชน และท้องถิ่น

เกิดการประสานร่วมมือกันระหว่างชุมชน หน่วยงานราชการในพื้นที่ วัด และโรงเรียน ในการพัฒนาเยาวชนทั้งด้านการศึกษา ทักษะชีวิตและอาชีพ โรงเรียนมีชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการถ่ายองค์ความรู้จากครูภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างรายได้ในระหว่างเรียนและสร้างอาชีพในอนาคต

รายการเอกสารหลักฐาน

EDU3.1-1-4>>>รายงานสรุปโครงการการบริการวิชาการแก่สังคมประจำปีงบประมาณ 2562

5. คณะมีการส่งเสริมการบริหารหรือการจัดทำหลักสูตรที่บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม และเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม รวมทั้ง การส่งเสริมการเผยแพร่การบริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ

คณะครุศาสตร์ มีการดำเนินโครงการฯติดตามและตรวจสอบการดำเนินงาน ขณะปฏิบัติงานและมีการประเมินโครงการหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงาน โดยอาจารย์ บุคลกรทางการศึกษา และนักศึกษาทำงานร่วมกับโรงเรียน ชุมชน เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการสอนของครูที่หลากหลายและเหมาะกับนักเรียน สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนและผู้ที่สนใจ ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยครูภูมิปัญญาในชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีความเข้าใจ เกี่ยวกับการสร้างสื่อและการจัดการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการ เช่น กิจกรรมพลศึกษาเพื่อพัฒนาการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียน

รายการเอกสารหลักฐาน

EDU3.1-1-5>>>รายงานสรุปโครงการการบริการวิชาการแก่สังคมประจำปีงบประมาณ 2562

6. คณะมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการบริการวิชาการ รวมทั้งประเมินผลกระทบของการบริการวิชาการ และรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการต่อคณะกรรมการประจำคณะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

คณะครุศาสตร์ ได้จัดทำการรายงานสรุปโครงการบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้ทราบถึงผลในการดำเนินงานในแต่ละโครงการฯ ในการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการบริการวิชาการ รวมทั้งประเมินผลกระทบของการบริการวิชาการ และรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ ต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา และนำผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการต่อไป

รายการเอกสารหลักฐาน

EDU3.1-1-6>>>รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์

7. นำผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะ ไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการ

รายการเอกสารหลักฐาน

EDU3.1-1-7>>>(ร่าง) แผนบริการวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2563

สรุปผลการประเมินตนเอง องค์ประกอบที่ 3 : การบริการวิชาการ

ผลการวิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา องค์ประกอบที่ 3

จุดเด่น

คณะครุศาสตร์โดยคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ได้กำหนดให้การบริการวิชาการเป็นจุดเน้นในการทำงานเชิงรุก และเชิงนโยบาย โดยสรุปแล้วสามารถแบ่งจุดแข็งที่เห็นได้ชัดดังนี้

1. มีนโยบายและแผนการดำเนินงานการบริการวิชาการแก่สังคม โดยคณะให้การสนับสนุน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการ/วิชาชีพแก่ชุมชน

2. อาจารย์มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาการและวิชาชีพ ที่เอื้อต่อการให้บริการทางวิชาการ นำไปสู่การบูรณาการการให้บริการวิชาการเชื่อมโยงกับภารกิจอื่นของคณะ เช่น การเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

3. มีความพร้อมด้านสถานที่ และอุปกรณ์ในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพ

4. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการให้บริการวิชาการและวิชาชีพทั้งจากภายในและภายนอกคณะ

5. มีเครือข่ายความร่วมมือตั้งอยู่ในท้องถิ่น รวมทั้งบุคลากร และนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ จึงสามารถเชื่อมโยง และประสานงานกับชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

6. มีแผนการบริการวิชาการประจำปีและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมอย่างชัดเจน

จุดที่ควรพัฒนา

1. ยังไม่มีระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม ที่มีประสิทธิภาพ

2. คณาจารย์มีส่วนร่วมในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เช่น เป็นวิทยากร เป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน หรือเป็นกรรมการวิชาการ แต่ขาดการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะทุกครั้งที่ได้ให้บริการ