ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการ

2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ผลการดำเนินงานผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง


ปีการศึกษา 2562 คณะครุศาสตร์ มีจำนวนอาจารย์ทั้งสิ้น 59 คน เป็นอาจารย์ที่บรรจุใหม่ในปีที่ประเมิน น้อยกว่า 6 เดือน 1 คน (ไม่สามารถนำมานับได้) อาจารย์ที่ลาศึกษาต่อเต็มเวลา

จำนวน 1 คน แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาดังนี้

1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มีอาจารย์ประจำปฏิบัติงานจริง 6 คน

2. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มีอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 52 คน และลาศึกษาต่อเต็มเวลา 1 คน รวมมีอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริงทั้งสิ้น 51 คน

กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ = 1x100/6 = ร้อยละ 16.67

แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้เทียบกับคะแนนเต็ม 5 (16.67x5/30) ดังนั้นคะแนนเท่ากับ 2.78

กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ = 13.40x100/51 = ร้อยละ 26.27

แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้เทียบกับคะแนนเต็ม 5 (26.27x5/20) = 6.56 ดังนั้นคะแนนเท่ากับ 5

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

เอกสารหลักฐาน

สรุปผลการประเมินตนเอง มาตรฐานที่ 2 : การวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์

ผลการวิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา มาตรฐานที่ 2 การวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์

จุดเด่น

1. มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยตรงตามสาขาวิชา

2. มีนโยบายในการจัดสรรทุนอุดหนุนในการทำวิจัยระดับคณะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

3. มีนโยบายในการสนับสนุนและกระตุ้นให้อาจารย์ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง

4. มีนโยบายในการสนับสนุนและผลักดันให้วารสารของคณะครุศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI

5. ผู้บริหารเล็งเห็นถึงความสำคัญของงานด้านการวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ มีนโยบายในการนำผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมาเข้ามาพิจารณาในการประชุมระดับ

คณะและส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินงานได้สะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้ระดับค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรจัดบุคลากรสายปฏิบัติการด้านการวิจัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินการวิจัยของอาจารย์

2. ควรสนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งสองฝ่าย

3. ควรจัดให้มีศูนย์บริการการทำวิจัยประจำคณะ เพื่ออำนวยความสะดวก และสนับสนุนการทำวิจัยให้แก่อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน

4. ควรมีนโยบายในการส่งเสริมให้อาจารย์นำบทความวิจัยและบทความวิชาการมาลงในวารสารของคณะครุศาสตร์

5. ควรมีนโยบายจัดสรรทุนอุดหนุนด้านการวิจัยระดับคณะในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี