ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษด้วย โครงการพิเศษด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยจึงต้องพัฒนาศักยภาพของบัณฑิต ให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ในปีการศึกษา 2562 คณะครุศาสตร์ ได้วางระบบและกลไกการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

โดยมีผลการดำเนินงานครบ 5 ข้อ ดังนี้

1. คณะมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษให้ทุกหลักสูตรและทุกระดับการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถ

คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางส่งเสริมและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาทุกหลักสูตรทุกชั้นปี กำหนดนโยบายและเป้าหมายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับการยกระดับการศึกษาตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏระยะ 20 ปี ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการในระดับคณะ เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายตาม ที่ได้กำหนดไว้ ดำเนินการจัดทำโครงการอบรมภาษาอังกฤษภายใต้โครงการ “ยกระดับคุณภาพการศึกษา” และ “การผลิตและพัฒนาครู” กำหนดเป้าหมายว่านักศึกษาผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (เอกสารหมายเลข EDU1.6-1)

2. คณะจัดทำแผนยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามนโยบายโดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและมีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดโดยสอดคล้องกับแผนของมหาวิทยาลัย และมีส่วนร่วมของทุกหลักสูตร

ในปีการศึกษา 2562 คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏระยะ 20 ปี ดังนี้

2.1 คณะครุศาสตร์ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ เพื่อร่วมกันพิจารณาวางแผนยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับแผนมหาวิทยาลัยคือ แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) ยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ข้อ 7 โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และตามแผนปฏิบัติราชการของคณะครุศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 พันธกิจข้อที่ 1 ผลิตพัฒนา ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามคุณลักษณะวิชาชีพ

2.2 คณะครุศาสตร์มีแผนยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษให้ความสำคัญของทุกหลักสูตรทุกชั้นปี ซึ่งหลักสูตรครุศาสตรบัฑิตที่สังกัดคณะครุศาสตร์(ค.บ.5 ปี และ ค.บ.4 ปี) มีจำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย, การประถมศึกษา, พลศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 สาขาวิชา (วิทยาศาสตร์การกีฬา) ดังนี้

2.2.1 คณะครุศาสตร์จัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ระหว่างปีการศึกษา 2561- 2562 ชั้นปีที่ 1-4 เนื่องด้วยคณะครุศาสตร์เป็นหน่วยงาน ที่ดูแลมาตรฐานการผลิตครูในศาสตร์วิชาชีพครู จึงได้จัดโครงการครอบคลุมทุกสาขาวิชาทุกชั้นปีที่มีหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตต่างคณะด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาให้สูงขึ้นตามมาตรฐาน.CEFR (the.Common.European.framework of Reference for Languages) ร้อยละ 20 มีวิทยากรเป็นคณาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะด้านภาษาอังกฤษและวิทยากรชาวต่างชาติร่วมจัดกิจกรรม มีการทดสอบก่อนอบรม (pre-test) เพื่อแบ่งกลุ่ม และทดสอบหลังอบรม (post-test) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาอังกฤษ มีแผนกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่

(1) กิจกรรมทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษก่อบอบรม (pre-test) ระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษ

(2) กิจกรรม English Camp ระหว่างวันที่ 18 - 30 มีนาคม 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างระดับความรู้ภาษาอังกฤษเบื้องต้น สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมเจตคติที่ดีด้านการใช้ภาษาอังกฤษและปรับพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ โดยจัดอบรมเน้นทักษะพื้นฐานการใช้ภาษาอังกฤษเช่น การใช้ gramma การแต่งประโยค นักศึกษาทุกคนต้องทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษหลังอบรม (post-test) ผลการทดสอบสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม A กลุ่ม B กลุ่ม C มีเกณฑ์คะแนนต่างกัน ซึ่งมีคะแนนทดสอบเทียบเท่ากับ TOEIC นักศึกษาที่มีคะแนนจัดอยู่กลุ่ม C จึงมีสิทธิ์เข้ารับการอบรม Intensive Course เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้สูงขึ้นตามมาตรฐาน CEFR

(3) กิจกรรม Intensive Course ระหว่างวันที่ 3 เมษายน - 9 มิถุนายน 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้สูงขึ้นตามมาตรฐาน CEFR โดยจัดอบรมเน้นทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน นักศึกษาที่ผ่านการอบรมสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน นักศึกษาทุกคนต้องทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษหลังอบรม (post-test) โดยใช้แบบทดสอบเทียบเท่า TOEIC

2.2.2 คณะครุศาสตร์จัดทำโครงการอบรมภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาครูที่ผ่านการทดสอบในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 473 คน ปีการศึกษา 2562 ภายใต้โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา : กิจกรรม Intensive Course เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะภาษาอังกฤษให้สูงขึ้นตามมาตรฐาน CEFR ซึ่งผู้ผ่านการคัดเลือกต้องมีทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR วิชาเอกภาษาอังกฤษต้องมีทักษะภาษาอังกฤษระดับ B2 และวิชาเอกอื่นต้องมีทักษะภาษาอังกฤษระดับ B1 ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องแสดงผลคะแนนของแบบทดสอบที่ได้มาตรฐาน เช่น วิชาเอกอื่น มีผลการทดสอบ TOEFL ITP ไม่ต่ำกว่า 473 คะแนน TOEIC ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน เป็นต้น มีการทดสอบ Pre-test และ Post-test

2.2.3 คณะครุศาสตร์จัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ จำนวน 300 คน ระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม - 14 กันยายน 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความรู้ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ และเตรียมความพร้อมทางภาษาอังกฤษเพื่อสอบวัดผลภาษาอังกฤษตามเกณฑ์คุรุสภากำหนดของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี สำหรับการขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของนักศึกษาครูที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562

2.2.4 คณะครุศาสตร์ร่วมกับศูนย์ภาษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการจัดอบรมและวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาครูทุกชั้นปีและหลักสูตรอื่นๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยร่วมจัดทำโครงการยกระดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาครูประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ปีการศึกษา 2562 ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีตัวชี้วัดซึ่งนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีผ่านมาตรฐาน CEFR ในระดับ A2 จำนวนร้อยละ 10 กำหนดวันจัดสอบและอบรมช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2563 คณะครุศาสตร์มีนักศึกษาที่ต้องเข้าร่วมโครงการในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่1-4 จำนวน 831 คน และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 179 คน รวมทั้งสิ้น 1,010 คน เนื่องด้วยช่วงระยะเวลาดังกล่าวนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ออกไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาชั้นปีที่ 4 ออกไปฝึกวิชาชีพ จึงไม่ได้เข้าร่วมโครงการ แบ่งกิจกรรมออกเป็นดังนี้

(1) นักศึกษาทุกคนที่เข้าอบรมต้องทำการทดสอบก่อนอบรม (pre-test) เพื่อวัดระดับความรู้ ด้านภาษาอังกฤษ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2563 ณ อาคารศูนย์ภาษา ด้วยโปรแกรม EF Set

(2) นักศึกษาทุกคนต้องเข้าอบรมภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างเสริมทักษะและมีเจคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยสาขาวิชาภาษาอังกฤษที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ มีประสบการณ์ด้านการสอนภาษาอังกฤษมาเป็นวิทยากรอบรมให้กับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่สังกัดต่างคณะและสังกัดคณะครุศาสตร์

(3) นักศึกษาทุกคนที่ผ่านการอบรมแล้วต้องเข้าทำการทดสอบหลังอบรม (post-test) ณ อาคารศูนย์ภาษา ด้วยโปรแกรม EF Set เนื่องด้วยช่วงเวลาที่ต้องทดสอบหลังอบรมเกิดสถานการณ์โควิท-19 จึงต้องปรับการสอบโดยให้สอบแบบออนไลน์ ทำให้นักศึกษาเข้าทดสอบหลังอบรมเป็นจำนวนน้อย

2.2.5 คณะครุศาสตร์ร่วมกับศูนย์ภาษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการทดสอบภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา (Exit Exam) ปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือน มีนาคมถึงเมษายน 2563 ณ อาคารศูนย์ภาษา ด้วยโปรแกรม EF Set ทั้งนี้นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 5 และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ไม่ได้เข้าทดสอบในช่วงดังกล่าว เนื่องด้วยอยู่ช่วงออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาและออกฝึกวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและในช่วงเดือน มีนาคม 2563 เกิดสถานการณ์โควิท-19 จากเดิมนักศึกษาต้องเข้ามาทดสอบที่ศูนย์ภาษาด้วยตนเองจึงเปลี่ยนรูปแบบทำการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษเป็นแบบออนไลน์ในช่วงเดือนเมษายน 2563

(เอกสารหมายเลข EDU1.6-2)

3. คณะมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ

คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนติดตามการปฏิบัติงานกำกับติดตามโดยคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้ง เพื่อควบคุมการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมของโครงการทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจัดโครงการ โดยใช้แผนกิจกรรมของโครงการเป็นตัวกำหนดแผนติดตามการดำเนินงาน กำหนดช่วงวันเวลาติดตามโดยให้ทุกหลักสูตรมีส่วนร่วมติดตามให้สอดคล้องตามแผนกิจกรรมการอบรม การติดตามผลการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอบหลังอบรม (Post-test) และมีการรายงานผลในระดับคณะเพื่อพิจารณา

3.1 โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ระหว่างปีการศึกษา 2561- 2562

3.2 โครงการอบรมภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาครูที่ผ่านการทดสอบในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 473 คน ปีการศึกษา 2562 ภายใต้โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา : กิจกรรม Intensive Course

3.3 โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์

3.4 โครงการยกระดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาครู

(เอกสารหมายเลข EDU1.6-3)

4. คณะมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ มีการรายงาน ผลการดำเนินการการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษต่อคณะกรรมการประจำคณะ และมีการนำผลจากการประเมินความสำเร็จและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแผนการดำเนินงานหรือกิจกรรมในปีถัดไป

คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อรายงานผลและสรุปการดำเนินงาน นำเสนอสรุป การดำเนินงานของโครงการให้กับคณะกรรมการประจำคณะพิจารณา เพื่อนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง พัฒนาจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ในปีการศึกษา 2562 โครงการส่งเสริมด้านการใช้ภาษาอังกฤษระดับคณะเพิ่งเริ่มดำเนินการจัดโครงการ ในปีการศึกษาแรก จึงไม่มีการนำผลจากการประเมินความสำเร็จไปเทียบเคียงกับปีการศึกษาอื่น ดังนี้

4.1 โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่1-4 และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ดำเนินการโดย สกอ.ร่วมกับ สพฐ. ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อ1.วัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR (เพื่อใช้เป็นฐานในการพัฒนาผู้เรียน) 2. สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมเจตคติที่ดีด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ 3. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสูงขึ้นตามมาตรฐาน CEFR ซึ่งผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ระดับ มาก บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตัวชี้วัดทุกตัว สำหรับสาขาวิชาที่สังกัดคณะครุศาสตร์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 สาขาวิชานักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีผลการสัมฤทธิ์ทางภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR อยู่ในระดับ A1

จากการประเมินโครงการสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. นักศึกษามีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษแบ่งเป็น 3 ระดับ

2. นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตเกิดแรงจูงใจด้านการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ มาก

3. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีคะแนนทดสอบหลังอบรม (post-test) เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีผลการทดสอบเทียบ TOEIC ตามมาตรฐาน CEFR ไม่ต่ำกว่า 400 คน เป็นไปตามเป้าหมาย

4.2 โครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อ 1. วัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 2. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ 3. สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมเจคติที่ดีด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ 4. เตรียมความพร้อมทางภาษาอังกฤษ เพื่อสอบวัดผลภาษาอังกฤษตามเกณฑ์คุรุสภากำหนดของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ระดับ มาก

ผลการดำเนินงาน

จากการประเมินโครงการสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. นักศึกษามีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษและทราบระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของตนเอง

2. นักศึกษามีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสูงขึ้น

3. นักศึกษาเกิดแรงจูงใจและมีเจคติที่ดีด้านการใช้ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับ ดีมาก

4. นักศึกษามีความพร้อมทางภาษาอังกฤษเพื่อใช้ทดสอบด้านภาษาตามเกณฑ์คุรุสภา

5. ผลการประเมินระดับความรู้ความเข้าใจและการนำไปใช้จากการร่วมโครงการ ดังตาราง

4.3 โครงการยกระดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาครู ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อ 1.วัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ตาม CEFR 2. พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครูทุกหลักสูตร และ 3. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ ผู้เข้าอบรม มีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก นักศึกษาสังกัดคณะครุศาสตร์มีผลการทดสอบระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ A1

(เอกสารหมายเลข EDU1.6-4)

5. ทุกหลักสูตร มีผลการวัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย โดยสามารถเทียบเคียงผลกับ กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล (the Common European framework of Reference for Languages : CEFR) หรือมาตรฐานอื่น ไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดของหลักสูตร อย่างน้อยร้อยละ 25 ของนักศึกษาชั้นปีที่สุดท้าย

คณะครุศาสตร์ร่วมกับศูนย์ภาษา สำนักวิทยฯ ได้ดำเนินการจัดโครงการทดสอบภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย โดยจัดโครงการทดสอบExit Examt ก่อนสำเร็จการศึกษาเทียบเคียงผลกับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล (the Common European framework of Reference for Languages : CEFR) กำหนดการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2563 เนื่องด้วยอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม 2563 เกิดสถานการณ์โควิท-19 จากเดิมนักศึกษาต้องเข้ามาทดสอบตามที่ศูนย์ภาษาจัดให้ด้วยตนเอง จึงเปลี่ยนรูปแบบทำการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษเป็นแบบออนไลน์ นักศึกษาสังกัดคณะครุศาสตร์ 4 สาขาวิชา (การศึกษาปฐมวัย = 51 คน การประถมศึกษา= 60 คน พลศึกษา = 50 คน และวิทยาศาสตร์การกีฬา = 30 คน รวม 141 คน ผ่านเกณฑ์) มีผลการทดสอบระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ A1 (เอกสารหมายเลข EDU1.6-5)