ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา


คำอธิบายตัวบ่งชี้ : คณะกรรมการการอุดมศึกษามีหน้าที่หลักสำคัญประการหนึ่งคือการพิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการ ศึกษาแห่งชาติ โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา โดยได้จัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา ได้พัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานในการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน และได้ประกาศใช้เกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับต่าง ๆ พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์รับรองวิทยฐานะและมาตรฐานการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดดำเนินการหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุง ล้วนใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558 เป็นหลักในการพัฒนาหลักสูตรและดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรดังกล่าว

ในการควบคุมกำกับมาตรฐาน จะพิจารณาจากการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558 ตามที่ประกาศใช้ในขณะนั้น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ได้ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558 รวมทั้งกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2552 ตลอดระยะเวลาที่มีการ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว โดยหลักสูตรที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ได้ประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ. 2548 ในระดับปริญญาตรีจะพิจารณาตามเกณฑ์ 3 ข้อ และระดับบัณฑิตศึกษาจะพิจารณาตาม เกณฑ์11 ข้อ สำหรับหลักสูตรที่ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ได้ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2558 นั้น ใน ระดับปริญญาตรีจะพิจารณาตามเกณฑ์ 5 ข้อ และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจะพิจารณาตามเกณฑ์ 10 ข้อ

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ในปีการศึกษา 2562 คณะครุศาสตร์ ได้วางระบบและกลไกการบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียน โดยมีผลการดำเนินงานครบ 6 ข้อ ดังนี้

1. คณะมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการผลิตบัณฑิต การพัฒนาผู้เรียนที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ความต้องการจำเป็นของสังคม ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประเทศ ตามระดับความเชี่ยวชาญตามศาสตร์ของคณะ

คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการหลักสูตร พ.ศ.2562 โดยได้กำหนดปัจจัยในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้

1. เป็นหลักสูตรที่เป็นความต้องการของท้องถิ่น สังคม และตลาดแรงงาน โดยคาดว่าจะมีผู้เรียนตามแผนและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในอนาคต หรือตอบสนองต่อนโยบายการบริหารและการพัฒนางานด้านวิชาการของคณะครุศาสตร์

2. เป็นหลักสูตรที่มีความพร้อมสำหรับการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ และเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. เป็นหลักสูตรที่ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

(หมายเลขเอกสาร EDU1.1-1-1)ระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการหลักสูตร พ.ศ.2562

คณะครุศาสตร์ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตร โดยการพัฒนาหลักสูตรทั้งกรณีหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุง ต้องบรรจุในแผนพัฒนาหลักสูตร โดยการพิจารณาอนุมัติหลักสูตร โดยผ่านการพิจาณาจากคณะกรรมการบริหารคณะ (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-1-2) แผนพัฒนาหลักสูตร

2. คณะมีระบบและกลไก กำกับการพัฒนาหลักสูตรจนสามารถเปิดหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ และความต้องการของประเทศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคมและสถานประกอบการ โดยมีกระบวนการรับฟังและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อค้นหาความต้องการและข้อกำหนดด้านหลักสูตร

คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เรื่อง ระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการเปิดหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหลักสูตรใหม่และหลักสูตรปรับปรุง เป็นไปอย่างมีระบบเป็นลำดับขั้นตอน (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-2-1)ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เรื่อง ระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๖๓ , (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-2-2)คู่มือระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ม.ราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา 2558 โดยหลักสูตรที่จะดำเนินการพัฒนาใหม่หรือหลักสูตรฉบับปรับปรุงต้องบรรจุในแผนพัฒนาหลักสูตร และในการพิจารณาอนุมัติหลักสูตรมหาวิทยาลัยจะต้องคำนึงถึงปัจจัยในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้

1. เป็นหลักสูตรที่มีความต้องการของท้องถิ่น สังคม และตลาดแรงงาน โดยคาดว่าจะมีผู้เรียนตามแผนและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในอนาคต

2. เป็นหลักสูตรที่มีความพร้อมสำหรับการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ และเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. เป็นหลักสูตรที่ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

ในการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตร คณะ จะต้องดำเนินการประเมินความต้องการจำเป็นของหลักสูตรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พันธกิจของมหาวิทยาลัย และความต้องการของท้องถิ่น และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก คณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร ประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ตัวแทนสถานประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า เป็นต้น

3. คณะมีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ/หน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตขยายไปยังท้องถิ่นชุมชน หรือหลักสูตรแบบบูรณาการศาสตร์ทั้งระดับปริญญาบัณฑิตหรือระดับบัณฑิตศึกษาในแต่ละคณะ

คณะครุศาสตร์ มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ/หน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตขยายไปยังท้องถิ่นชุมชน ได้แก่

1.หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมโครงการเครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์ ทุกปี (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-1)โครงการเครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์

2. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดในรายวิชาเรียนลงสู่ท้องถิ่นชุมชน คือโครงการการออกกำลังกายในวัยสูงอายุที่ถูกต้องโดยใช้ยางยืด (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-2)โครงการการออกกำลังกายในวัยสูงอายุที่ถูกต้องโดยใช้ยางยืด

3. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดในรายวิชาเรียนลงสู่ท้องถิ่นชุมชน คือโครงการการออกกำลังกายการฝึกสมองและความจำให้กับผู้สูงอายุ (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-3)โครงการการออกกำลังกายการฝึกสมองและความจำให้กับผู้สูงอายุ

4. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดในรายวิชาเรียนลงสู่ท้องถิ่นชุมชน คือโครงการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-4)โครงการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง

5. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดในรายวิชาเรียนลงสู่ท้องถิ่นชุมชน คือโครงการกายบริหารผู้สูงอายุโดยใช้ขวดน้ำ (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-5)โครงการกายบริหารผู้สูงอายุโดยใช้ขวดน้ำ

6. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นโครงบริการวิชาการแก่สังคม คือโครงการ “ICT for education“ ทุกปี (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-6)โครงการ “ICT for education“

7. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การป้องกันและปฐมพยาบาลการบาดเจ็บทางการกีฬา” (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-7)โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การป้องกันและปฐมพยาบาลการบาดเจ็บทางการกีฬา”

8.หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา เป็นโครงบริการวิชาการแก่สังคม คือโครงการทดสอบสมรรถภาพทางกาย (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-8)โครงการทดสอบสมรรถภาพทางกาย

9. โครงการบริการวิชาการที่คณะครุศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาและกลุ่มวิชาในคณะครุศาสตร์ดำเนินการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือโครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-9)โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

10. โครงการบริการวิชาการที่คณะครุศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาและกลุ่มวิชาในคณะครุศาสตร์ดำเนินการ คือโครงการตชด. (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-10)

11. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดในรายวิชาเรียนลงสู่ท้องถิ่นชุมชน คือโครงการค่ายหนูน้อยนักประดิษฐ์ คิดสร้างสรรค์ (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-11)โครงการค่ายหนูน้อยนักประดิษฐ์ คิดสร้างสรรค์

12. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดในรายวิชาเรียนลงสู่ท้องถิ่นชุมชน คือโครงการภาษา ศิลป์ คิดสนุก (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-12)โครงการภาษา ศิลป์ คิดสนุก

13. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา เป็นโครงการที่นักศึกษาจะต้องจัดในรายวิชาเรียนลงสู่ท้องถิ่นชุมชน คือโครงการค่ายวิชาการ “ศาสตร์ศิลป์ สร้างสรรค์” (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-3-13)โครงการค่ายวิชาการ “ศาสตร์ศิลป์ สร้างสรรค์”

4. ทุกหลักสูตรต้องมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ซึ่งกำหนดในมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้แก่ การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และพลเมืองที่เข้มแข็ง ให้สอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ และจุดเน้นของหลักสูตร

ทุกหลักสูตรในคณะครุศาสตร์ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5 ด้าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน และได้ระบุลงในเล่มหลักสูตร (มคอ.2) โดยพิจารณาความสอดคล้องดังนี้ (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-4-1)มคอ.2 หลักสูตร

5. มีระบบการกำกับติดตามหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษากรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติระดับอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ และรายงานการดำเนินการตามผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน สำหรับผู้เรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาแบบให้ปริญญา และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการประจำคณะ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายใน 90 วัน นับแต่สิ้นปีการศึกษา

คณะครุศาสตร์ ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน รอบที่สี่ ในปีการศึกษา 2562 มีหลักสูตรที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จำนวน 11 หลักสูตร แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร ประกาศนียบัตร 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร อยู่ระหว่างปรับปรุงหลักสูตร ระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรจำนวน 6 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้ ทั้งนี้ คณะครุศาสตร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ซึ่งประกอบด้วย คณบดี รองคณบดีฝ่ายต่างๆ อาจารย์ รวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ที่รับผิดชอบด้านวิชาการและการประกันคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่วางระบบและกลไกประกันคุณภาพ ควบคุม กำกับ ติดตามและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับปลักสูตร โดยได้มีการประชุมหารือและเสนอแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตรให้ โดยได้ดำเนินการให้ทางหลักสูตรจัดทำรายงานการดำเนินงาน แนวทางการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร การรายงานและส่งผลการประเมิน กระบวนการและวิธีการประเมิน ค่าใช้จ่าย/อัตราค่าตอบแทนในการประเมิน และส่งข้อมูลผ่านระบบ CHE QA Online การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ และปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-5-1)มคอ.7 ของทุกหลักสูตร , (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-5-2)คู่มือระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ม.ราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา 2558

การกำกับติดตาม และตรวจสอบคุณภาพ คณะครุศาสตร์ กำหนดปฏิทินการตรวจสอบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 โดยกำหนดให้ผู้รับผิดชอบ รายงานผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในให้ทราบถึงปัญหาปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อให้คณะกรรมการเสนอแนะแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานให้สามารถบรรลุเป้าหมาย

การประเมินคุณภาพ คณะครุศาสตร์ กำหนดให้ทุกหลักสูตรดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตร ตามแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ซึ่งกำหนดให้หลักสูตรรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 14 กรกฎาคม 2563 ผ่านทางระบบ CHE QA Online โดยมีแนวทางการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล CHE QA Online ประจำปีการศึกษา 2562 สำหรับหลักสูตร เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล CHE QA Online ผู้รับผิดชอบระบบ CHE QA Online ของสถาบันส่งรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในที่ประธานคณะกรรมการประเมินได้รับรองผลแล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHE QA Online และหน่วยงานต้นสังกัดภายใน 120 วันนับจากวันสิ้นปีการศึกษาของปีที่รับการประเมิน

6. มีการทบทวนผลการดำเนินการและนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรให้เกิดการพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียนยิ่งขึ้น

ผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการจากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ ในปีการศึกษา 2561 ได้มีการนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ มาจัดทำแนวทางการปรับปรุงคุณภาพในระดับคณะ ในการประชุมครั้งที่ 8/2562 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2562 เพื่อพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงคุณภาพระดับคณะ โดยมีการปรับปรุงพัฒนาตามข้อเสนอแนะ (หมายเลขเอกสาร EDU1.1-6-1)รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ ได้มีการนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ มาจัดทำแนวทางการปรับปรุงคุณภาพในระดับคณะ ในการประชุมครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 เพื่อพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงคุณภาพระดับคณะ โดยมีการปรับปรุงพัฒนาตามข้อเสนอแนะ(หมายเลขเอกสาร EDU1.1-6-2)รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ

ผลการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาระดับคณะ คณะครุศาสตร์ได้นำแนวทางการปรับปรุงคุณภาพที่ได้รับความเห็นชอบการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ เป็นแนวทางการดำเนินงานในระดับคณะ ในปีการศึกษา 2562

จากผลการประเมินปีการศึกษา 2561 คณะครุศาสตร์ ได้ดำเนินการตามแนวทางที่ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับคณะ และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินทั้ง 8 ข้อ โดยมีแผนการดำเนินการที่ชัดเจน และมีการกำกับติดตามให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามข้อเสนอแนะทุกข้อ

รายการเอกสารหลักฐาน