ตัวบ่งชี้ที่ 5.1

ข้อที่ 3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกํากับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพท์

เกณฑ์การประเมิน : ค่าคะแนน

เกณฑ์การประเมิน (ข้อ) (กระบวนการ)

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ข้อ 3 ดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม

คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการศึกษาและให้ความสำคัญกับการวางแผนบริหารความเสี่ยงภายในหน่วยงานซึ่งเป็นที่มาของการวิเคราะห์ความเสี่ยงและระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ที่ส่งผลการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์ และพันธกิจของคณะครุศาสตร์ในแต่ละด้าน และคณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์และพันธกิจของคณะ โดยมีการวิเคราะห์เพื่อระบุปัจจัยความเสี่ยง ในแต่ละด้าน ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้าน ตลอดจนดำเนินการติดตาม ประเมินผลการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง และรายงานผลการดำเนินงานในระดับคณะและมหาวิทยาลัย ดังนี้

1. ความเสี่ยงด้านทรัพยากร

2. ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย

3. ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อคับ

4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

5. ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล

6. ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก

ตามขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนบริหารความเสี่ยง หลังจากผ่านการวิเคราะห์พร้องระบุปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามแผนและได้ดำเนินการรายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมความเสี่ยง สิ้นสุดตามกรอบระยะเวลา ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีองค์ประกอบของการควบคุมและผลการประเมิน ดังนี้

1. สภาพแวดล้อมการควบคุม ผู้บริหารมีแนวนโยบายในการควบคุม เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ต่อการควบคุมภายใน โดยให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ จริยธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล มีการกำหนดแนวทางการบริหารและโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนต่อการปฏิบัติงานที่ถูกต้องรวมทั้งการปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่าง บุคลากรเข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับหมาย ผลการประเมิน สภาพแวดล้อมการควบคุมภายในของคณะครุศาสตร์ โดยรวมมีความเหมาะสมและมีส่วนทำให้การควบคุมภายในมีประสิทธิผล สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน

2. การประเมินความเสี่ยง มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินงานของทุกกลุ่ม และวัตถุประสงค์ระดับกิจกรรมที่ชัดเจน สอดคล้อง และเชื่อมโยงกันในการที่จะทำงานให้สำเร็จด้วยงบประมาณและทรัพยากรที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ผู้บริหารมีการระบุความเสี่ยง ทั้งจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลกระทบต่อการบรรลุ ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ผลการประเมินคณะครุศาสตร์ มีการประเมินความเสี่ยงโดยนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาใช้ และมีการจัดการความเสี่ยงต่างๆ จากผลการประเมินอย่างเป็นระบบ และกำหนดแนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

3. กิจกรรมควบคุม คณะครุศาสตร์มีนโยบาย และวิธีปฏิบัติงานที่ทำให้มั่นใจว่าเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเกิดผลสำเร็จ ตามที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ กิจกรรมเพื่อการควบคุมจะชี้ให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความระมัดระวังและสามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ผลการประเมินในภาพรวมของคณะครุศาสตร์มีการควบคุมที่เหมาะสมเพียงพอและสอดคล้องกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามสมควร โดยผู้บริหารตระหนักว่าระบบควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการปกติ จึงมีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

4. สารสนเทศและการสื่อสาร มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงานเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้และมีการสื่อสาร ไปยังผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรูปแบบที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้รับสารสนเทศสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและบรรลุวัตถุประสงค์ของคณะ ผลการประเมิน ระบบสารสนเทศและการสื่อสารของคณะครุศาสตร์มีความเหมาะสม คือมีระบบสารสนเทศที่ใช้ในงานได้อย่างครอบคลุมภาระงาน รวมทั้งการจัดรูปแบบการสื่อสารที่ชัดเจน ทันเวลา และสะดวกต่อผู้ใช้ผ่านระบบเครือข่ายทั้งยังได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกคณะ

5. กิจกรรมการติดตามผล มีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน และประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน โดยกำหนดวิธีปฏิบัติงาน เพื่อติดตามการปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงานตามปกติของผู้บริหารผู้เกี่ยวข้อง และมีการประเมินผล ผลการประเมิน ระบบการติดตามประเมินผลของคณะครุศาสตร์ มีความเหมาะสมโดยผู้บริหารมีการติดตามการปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง

นอกจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงคณะครุศาสตร์ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงในภาพรวมของคณะครุศาสตร์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการทบทวนผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ว่าความเสี่ยงด้านใดที่ยังต้องดำเนินการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความล้มเหลว ลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายของคณะให้ครอบคลุมตามพันธกิจ และยุทธศาสตร์ได้แก่ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการกำหนดกลยุทธ์องค์กรซึ่งมีผลกระทบทำให้กลยุทธ์องค์กรที่วางไว้ไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของคณะ ซึ่งคณะกรรมการได้มีการระบุประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้มีโอกาสเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ที่จะทำให้เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อการดำเนินงานหรือพันธกิจของคณะครุศาสตร์ในแต่ละด้าน

เอกสารหลักฐาน

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-3-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง)

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-3-2 แผนบริหารความเสี่ยง)

(เอกสารหมายเลขEDU5.1-3-3 รายงานการประเมิงองค์ประกอบควบคุมภายใน)

(เอกสารหมายเลขEDU5.1-3-4 รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน)

(เอกสารหมายเลขEDU5.1-3-5 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ1)

(เอกสารหมายเลขEDU5.1-3-6 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ2)