อาลัยจ่าแซม นักดำน้ำที่แข็งแกร่งและถูกฝึกมาเป็นอย่างดี..เสียชีวิตได้อย่างไร..เกิดอะไรขึ้นบ้างกับหัวใจของมนุษย์ขณะอยู่ใต้น้ำ

อาลัยจ่าแซม!.นักดำน้ำที่แข็งแกร่งและถูกฝึกมาเป็นอย่างดี..เสียชีวิตได้อย่างไร..เกิดอะไรขึ้นบ้างกับหัวใจของมนุษย์ขณะอยู่ใต้น้ำ

1. ร่างกายและหัวใจทำงานหนักจากการดำน้ำ

..การดำน้ำ จัดเป็นการออกกำลังกายระดับ"หนัก"ทั้งในส่วนของ"การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ"

(static) และ ส่วนของ"การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ"(dynamic)

..การดำน้ำเที่ยวเล่นชมปะการัง ส่วนใหญ่ใช้ความเร็ว 4-5 ฟุตต่อนาที

..การดำน้ำในการทำงาน ค้นหาหรือช่วยเหลือผู้อื่น มักใช้ความเร็ว 15-20 ฟุตต่อนาที

..การดำน้ำภายใต้ความกดดันที่ต้องแข่งกับเวลา หรือแข่งกับกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก อาจใช้ความเร็วถึง 100 ฟุตต่อนาที

..ด้วยความเร็วระดับนี้ วัดเป็นหน่วยของการออกกำลังกาย หรือ การใช้ออกซิเจนของร่างกาย เท่ากับ 6-7 METS..ร่างกายจะใช้ออกซิเจนประมาณ 20 หรือ 20กว่าๆ มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ต่อนาที ซึ่งถ้านักดำน้ำหนัก 50 กก. ก็จะใช้ออกซิเจนนาทีละ 1 ลิตร

..ในระดับความเร็วและความหนักระดับนี้ หัวใจจะเต้นเร็วประมาณ 50% ของค่าสูงสุดของคนๆนั้น (ค่าอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจที่จะไม่เป็นอันตรายของแต่ละคนขึ้นกับอายุครับ..คำนวณได้จาก 220 ลบด้วยอายุ เช่น คนอายุ 40 ปี อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจที่จะไม่เป็นอันตราย จะเท่ากับ 180 ครั้งต่อนาที)

..ดังนั้นนักดำน้ำอายุ 40 ปีที่ดำน้ำด้วยความเร็วระดับนี้ หัวใจจะเต้นประมาณ 90 ครั้งต่อนาทีเท่านั้นเอง..สามารถดำได้สบายๆ ได้นาน 50-60 นาทีโดยไม่มีอันตรายครับ..แต่ถ้าเกินระยะเวลานี้ก็อาจเกิดอันตรายได้

..ถ้าดำน้ำด้วยสปีดที่เร็วกว่านี้ จนหัวใจเต้นเร็วถึง 60-70 % ของค่าสูงสุด หัวใจจะสามารถทนได้ไม่เกิน 15-20 นาทีเท่านั้น..ถ้าเกิน..หัวใจจะรับไม่ไหวครับ

..บางจังหวะ สปีดความเร็วอาจจะสูงขึ้น จนหัวใจเต้นเร็วถึง 100% ของค่าสูงสุด เช่น 180 ครั้งต่อนาทีสำหรับคนอายุ 40 ปี..คิดเป็นหน่วยการออกกำลัง 12-13 METS..ซึ่งร่างกายจะใช้ออกซิเจนถึง 40 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ต่อนาที( 2 ลิตรต่อนาทีถ้าหนัก 50 กก.)

..ณ จุดๆนี้ร่างกายเริ่มจะทนไม่ไหวแล้วครับ..จะรู้สึกเหนื่อย หายใจไม่ทัน ซึ่งเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ในสถานการณ์ที่อยู่ใต้น้ำ นักดำน้ำมักจะเกิด"ความตื่นตระหนก" หรือ "แพนิก"(panic reaction) จนตึงเครียดและยิ่งกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักและหายใจไม่ทันขึ้นไปอีก

2. อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง

..อุณหภูมิของน้ำในการดำน้ำส่วนใหญ่จะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายนักดำน้ำครับ ทั่วๆไปมักอยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส เขตหนาวยิ่งต่ำกว่านี้ เขตร้อนอาจอยู่ที่ 25-26 องศาเซลเซียส

..อุณหภูมิของน้ำในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อยู่ที่ 22 องศาเซลเซียสครับ!!

..เมื่ออุณหภูมิของน้ำต่ำกว่าของร่างกาย ความร้อนจากร่างกายจะถูกถ่ายเทออกสู่น้ำรอบๆตัว ทำให้ อุณหภูมิของร่างกายลดต่ำลงมาก

..เมื่ออุณหภูมิของร่างกายลดต่ำลง จะทำให้ หลอดเลือดแดงที่ผิวหนังและหลอดเลือดแดงในชั้นกล้ามเนื้อหดตัว ส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดแดงสูงขึ้น จนเป็นแรงต้านการบีบตัวของหัวใจอย่างหนัก ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และ หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงได้ โดยเฉพาะถ้ามีโรคหัวใจอยู่เดิม

..การใส่ชุดดำน้ำแบบพิเศษที่ช่วยลดการสัมผัสระหว่างผิวหนังกับน้ำจะช่วยป้องกันภาวะนี้ได้

3. เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากเกินไป

..เมื่อร่างกายมนุษย์อยู่ใต้น้ำ(ตั้งแต่ลำคอลงไป) แรงอัดของน้ำจะบีบหลอดเลือดดำจนเลือดไหลกลับสู่หัวใจมากขึ้นถึง 600-700 มล.(เกือบลิตรเลยนะครับ) ซึ่งถ้ามีโรคหัวใจอยู่เดิม หัวใจมักจะรับไม่ไหว จนเกิด"ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน"ขึ้นได้

4. ปอดบวมน้ำจากการอยู่ใต้น้ำ(immersion pulmonary edema)(IPE)

..เมื่อร่างกายอยู่ใต้น้ำ แรงอัดจากน้ำจะทำให้นักดำน้ำหายใจเข้าได้ลำบาก ร่างกายจึงต้องสร้างแรงดูดอากาศขึ้นในทรวงอก(negative pressure)เพื่อจะช่วยให้หายใจเอาอากาศเข้าได้มากขึ้น แต่แรงดูดนี้อาจมากเกินไปจนทำให้เกิด"ภาวะปอดบวมน้ำ"ขึ้นได้

..ภาวะนี้พบได้ถึงแม้จะไม่มีโรคหัวใจใดๆมาก่อน

5. ปอดได้รับอันตรายจากแรงดันขณะอยู่ในน้ำ (lung barotrauma)

6. ภาวะฟองอากาศอุดตันหลอดเลือด

..สู่สุคติครับ..จ่าแซม..

..สำหรับประชาชนทั่วไป ถ้าจะออกกำลังกายด้วยการดำน้ำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบโรคประจำตัวก่อนนะครับ...