เค็มแค่ไหนถึงจะไม่เค็ม

Salty

...."8 วิธีง่ายๆที่จะทำให้"อาหารเค็ม"ทำร้ายคุณไม่ได้" ("เค็ม"..แค่ไหน..ถึงจะ.."ไม่เค็ม"..ภาค 2)...ถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ครบทั้ง 8 ข้อ..คุณจะปลอดภัยจาก "โรคความดันโลหิตสูง"..ความดันจะคุมได้ง่ายขึ้นไม่ต้องใช้ยามาก..คุณจะปลอดภัยจาก"โรคหัวใจ"..ไม่ต้องเข้านอนโรงพยาบาลบ่อยๆจากภาวะเหนื่อยหอบหรือบวมน้ำ..คุณจะปลอดภัยจาก"โรคหลอดเลือดสมอง"..และ..คุณจะปลอดภัยจาก"โรคไต"..ชลอความเสื่อมของโรคไตได้ดี..โดยที่"คุณก็จะยังกินอาหารอร่อยๆได้ใกล้เคียงปรกติ"ด้วยครับ

1. คุณต้องทราบก่อนว่าคุณ "อยู่กลุ่มไหน"..เพื่อจะกำหนด "ปริมาณเกลือโซเดียม" ให้ตัวคุณเอง

- ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ..กินเกลือโซเดียม ไม่เกิน 1,500-2,300 มก.ต่อวัน

- คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง..กินไม่เกิน 1,500 มก.ต่อวัน

- คนที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะน้ำเกินในร่างกาย เหนื่อย บวม..กินไม่เกิน 2,000 มก.ต่อวัน

- คนที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวที่ไม่มีภาวะน้ำเกิน หายเหนื่อย หายบวมแล้ว..กินไม่เกิน 3,000 มก.ต่อวัน

- คนไข้โรคไต..กินไม่เกิน 2,400 มก.ต่อวัน

- คนไข้ที่ฟอกไต..กินไม่เกิน 2,000 มก.ต่อวัน

2. จำปริมาณ"เกลือโซเดียมในอาหาร"ที่เรากินบ่อยๆให้ได้..."ผมสรุปไว้ให้ตามตารางข้างล่าง"นี้แล้วไม่ต้องตกใจนะครับ จำไม่ยากหรอก จำเฉพาะของเราที่เรากิน ไม่ต้องจำทั้งหมด เพราะ ส่วนใหญ่เราก็กินอาหารอยู่ไม่กี่อย่างนะครับ ซ้ำไปซ้ำมากันทั้งนั้นแหละ..แล้วก็บวกรวมไปในแต่ละวัน รวมแล้วก็อย่าให้เกินที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่ม..ร้านอาหารหรือร้านสุกี้ยากี้บางร้านมีสลิปบอกปริมาณเกลือโซเดียมที่กินเข้าไปในมื้อนั้นๆให้ด้วยครับ ดีมากๆเลย

3. กินอาหารให้จืดลง ไม่เติมเครื่องปรุงรสต่างๆในอาหารที่ปรุงแล้ว เช่น ไม่ราดพริกน้ำปลาในข้าวผัดกะเพรา

4. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เนื่องจากมีเกลือโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อาหารกระป๋อง, โจ๊กคัพ, อาหารหมักดอง แช่อิ่ม, เนื้อเค็ม, ปลาเค็ม, ไข่เค็ม, ปลาร้า, ขนมกรุบกรอบ

5. กินอาหารสดตามธรรมชาติ ใช้เครื่องปรุงรสต่างๆให้น้อยที่สุด

6. งดผงชูรส

7. งดน้ำจิ้มต่างๆ เช่น น้ำจิ้มสุกี้, น้ำจิ้มไก่, ซอสต่างๆ เพราะมีเกลือโซเดียมสูง

8. งดขนมที่มีการเติมผงฟู เช่น คุกกี้, แพนเค้ก, ขนมปัง เพราะมีเกลือโซเดียมสูงเช่นกัน

....เห็นมั้ยครับ ไม่ยากเลย เพียงเท่านี้เราก็จะปลอดภัยจากโรคต่างๆไปเยอะเลยครับ