อาการ"ใจสั่น"สามารถนำไปสู่

การเกิด"โรคอัมพฤกษ์อัมพาต"

อาการ"ใจสั่น"สามารถนำไปสู่การเกิด"โรคอัมพฤกษ์อัมพาต"และ"หัวใจวาย"ได้นะครับ..มีวิธีสังเกตตัวเองอย่างไรว่าจะเป็น"ใจสั่นชนิดนี้"..ต้องตรวจอะไรจึงจะพบ..พบแล้วจะป้องกันอัมพฤกษ์อัมพาตและหัวใจวายได้อย่างไร...

.."ใจสั่น" ชนิดที่ว่านี้มีสาเหตุจาก "การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ"..มีชื่อเรียกว่า "การเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วของหัวใจห้องบน" (AF)(Atrial fibrillation)

..พบได้ 1 ต่อ 100 คนของประชากร..บางกลุ่มช่วงอายุพบได้มากถึง 18 ต่อ 100 คนเลยทีเดียว..ถือว่าเยอะนะครับ!!..จัดเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบต่อเนื่องที่พบได้บ่อยที่สุดเลยล่ะครับ

..สาเหตุมักเกิดจาก..โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจ, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคธัยรอยด์เป็นพิษ..บางคนก็เป็นได้เองโดย"ไม่มีสาเหตุ"

..อันตรายจาก "หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้" ได้แก่..

1. ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากถึง "7 เท่า" ของคนทั่วไป

..สถิติพบว่า "โรคอัมพฤกษ์อัมพาต" ในบางกลุ่มช่วงอายุ มีสาเหตุมาจาก "หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้" ถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว

..บางคนเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตซ้ำๆมาแล้วหลายครั้ง จึงจะมาตรวจพบว่ามีสาเหตุจาก "หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้" ในภายหลัง ซึ่งถือว่าน่าเสียดายครับ เพราะว่าถ้าตรวจพบตั้งแต่แรกจะสามารถให้ยาป้องกันอัมพฤกษ์อัมพาตได้ก่อน

..เหตุผลกลไกที่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้ชอบทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต ก็คือ..เมื่อ "หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นพลิ้ว" จะทำให้เลือด "ตกตะกอนเป็นลิ่มเลือด" ขนาดเล็กๆอยู่ในหัวใจห้องบนด้านซ้าย หลังจากนั้น "ลิ่มเลือด" จะไหลลงไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย แล้วผ่านออกจากหัวใจไปสู่หลอดเลือดที่สมอง จึงไป "อุดตันที่หลอดเลือดสมอง" จนเกิด "โรคอัมพฤกษ์อัมพาต" ขึ้นได้

..ในปัจจุบัน "ผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตทุกราย" แพทย์จะแนะนำให้ "ติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอดเวลา" ติดต่อกันเป็นเวลา "3 วัน""ทุกคน"เลยครับ เพื่อที่จะดูว่ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้หลบซ่อนอยู่หรือไม่

2. ถ้าไม่ได้รับยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจให้ดีเพียงพอ จะทำให้เกิด "โรคหัวใจโตและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง" จนเกิด "ภาวะหัวใจล้มเหลว" ตามมาได้

.."วิธีสังเกตตัวเอง" ง่ายๆ ว่าจะเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้..คือ ดูอาการ ดังนี้..

..ใจสั่น แบบรู้สึกพลิ้วๆบริเวณหน้าอก หรือ รู้สึกใจเต้นเร็ว แรง จนหน้าอกสะเทือนตุ้บๆๆๆ, เหนื่อยง่าย, เป็นลมหน้ามืดง่าย, เวียนศีรษะ, บางรายมีเจ็บแน่นหน้าอกร่วมด้วย

.."คลำชีพจรที่ข้อมือของตัวเอง" ขณะใจสั่น จะพบว่า ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นจังหวะแบบรวนไปหมด

..บางคนอาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้หลบซ่อนอยู่โดย "ไม่มีอาการ" ก็ได้นะครับ..ดังนั้นการ "จับชีพจรตัวเอง" ดูบ่อยๆ และ ไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็จะช่วยให้ตรวจพบภาวะนี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆครับ

"การตรวจวินิจฉัย" ที่จำเป็นต้องตรวจ คือ...

1. EKG ( คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ) "ขณะที่มีอาการใจสั่น"

..จะสามารถยืนยืนการวินิจฉัยได้ แต่ถ้าตรวจ "ขณะที่ไม่ได้มีใจสั่น" ก็อาจจะไม่พบนะครับ ต้องไปตรวจข้อ 2, ข้อ 3 ต่อไป

2. ติด "เครื่องตรวจคลื่นไฟห้าหัวใจแบบ 24 ชั่วโมง"

(เครื่องโฮลเตอร์)(24 hours Holter monitor)

..ถ้าใจสั่นบ่อยๆ"ทุกวัน"มักจะตรวจเจอได้ด้วยวิธีนี้แต่ถ้า"ไม่ได้เป็นทุกวัน"ก็อาจตรวจไม่พบได้อีกเช่นกันเพราะติดได้เพียง 24 ชั่วโมง ต้องตรวจ ข้อ 3 ต่อไป

3. ใช้ "เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยตนเองชนิดพกพา" (เครื่องฮาร์ทสแกน)(Heart scan)

..ถ้า"ไม่ได้ใจสั่นทุกวัน" หลายๆวันจะใจสั่นสักครั้งนึง.."ต้องใช้เครื่องนี้เลยครับ!!

..บันทึกเอง "ขณะมีอาการ" ที่บ้าน จึงสามารถตรวจจับการ"เต้นผิดจังหวะของหัวใจ"ได้ดีถึงแม้จะเป็นไม่บ่อย หลายวันเป็นทีก็ตรวจเจอ เพราะสามารถนำเครื่องไปบันทึกเองที่บ้านได้เป็นเวลานานๆหลายๆวัน

กี่วันก็ได้

4. ตรวจ "เอ็คโค่ฯ" (ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือ อัลตร้าซาวด์หัวใจ)

..เพื่อประเมินว่ามี หัวใจโต, กล้ามเนื้อหัวใจหนา, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว, ผนังห้องหัวใจรั่วหรือโครงสร้างอื่นๆภายในหัวใจผิดปรกติ หรือไม่ ที่อาจเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

5. เจาะเลือดดู "ธัยรอยด์ฮอร์โมน" ว่ามีสาเหตุจาก "ธัยรอยด์เป็นพิษ" หรือไม่

"การรักษา"

.."สำคัญที่สุด" คือ การป้องกัน "อัมพฤกษ์อัมพาต" โดยการให้กิน "ยาป้องกันเลือดแข็ง" เช่น Warfarin, Dabigatran, Rivaroxaban, Apixaban หรือ Edoxaban เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด "ลิ่มเลือดตกตะกอน" ในหัวใจห้องบนซ้าย" ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดสมอง ได้นั่นเอง

..ให้กิน"ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ"

เพื่อให้หายใจสั่น, หายเหนื่อย และ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ "หัวใจโต" และ "กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง" และไม่ให้เกิดภาวะ "หัวใจล้มเหลว"

..บางรายถ้า"ยา"ควบคุมอาการใจสั่นไม่ได้อาจต้อง "จี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง" เพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจ

อย่าลืมนะครับ.."ใครใจสั่น".."อย่าให้พลาด AF"..

จะได้ไม่เป็น "อัมพฤกษ์อัมพาต" และ "หัวใจวาย" ครับ...