G612

การควบคุมอัตราส่วนของสารละลาย Calcium Lactate กับ สารละลาย Sodium alginate เพื่อความยืดหยุ่น
และความหนาของ Edible water bottle

กัญรภา ธีราทรปัญญา, อภิเศรษฐ์ ชัยศิริ, พิชญาภรณ์ มุสิกพงศ์

ครูที่ปรึกษา คุณครูไพจิตรา อเปสริยาโย

บทคัดย่อ

โครงงานวิทยาศาสตร์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนระหว่างสารละลาย Sodium alginate กับสารละลาย Calcium lactate ที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ที่เรียกว่า Edible water bottle หรือ Edible film และพัฒนาไปใช้แทนขวดหรือแก้วน้ำพลาสติก ด้วยวิธี Reverse Spherification ก็คือการนำสารละลาย Calcium Lactate แช่แข็งในพิมพ์น้ำแข็งรูปทรงกลม แล้วจึงนำมาแช่ลงในสารละลาย Sodium alginate ทำให้เกิดฟิล์ม โดยผลที่ได้มาคำนวณหาค่าความต้านทานแรงดึงขาด (MPa), ความหนา (mm) และ ค่าการยืดตัว (ร้อยละ) เพื่อนำมาเปรียบระหว่างแต่ละอัตราส่วนเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมและสามารถขนส่งโดยไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหายจากผลการทดลองพบว่า อัตราส่วนที่ Sodium alginate 2 กรัมต่อ Calcium Lactate 5 กรัมเป็นอัตราส่วนที่มีความหนาและความยืดหยุ่นที่ดีที่สุด ในอัตราส่วนที่น้อยกว่านี้ ฟิล์มที่เกิดจะบางเกินกว่าจะคงตัวได้เป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นที่น้อย ในอัตราส่วนที่มากกว่าอัตราส่วนที่ 2 : 5 นั้น ฟิล์มที่เกิดขึ้นจะมีความหนาที่มากเกิน ซึ่งส่งผลให้ปริมาตรของน้ำเหลือน้อยกว่าที่ควร อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นต่ำค่อนไปทางแข็ง จึงสรุปผลได้ว่าที่อัตราส่วน Sodium alginate 2 กรัมต่อ Calcium Lactate 5 กรัมเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด