G605

การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการจับฝุ่น

ของพรรณไม้เลื้อยที่มีใบหยาบ

ณัชชา หนิมุสา, สกลสุภา พรหมวิจิตร, ดั่งแดนฝัน จีวะรัตน์

ครูที่ปรึกษา คุณครูไพจิตรา อเปสริยาโย

บทคัดย่อ

ฝุ่นละอองในอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ฝุ่นในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากยานพาหนะบนถนน สถานที่ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งกำเนิดเฉพาะ โครงงานนี้ได้มุ่งเน้นวิถีธรรมชาติ โดยใช้พืชพรรณไม้เลื้อยที่มีความหยาบ ดักจับฝุ่นจากยานพาหนะ เพราะสามารถดักจับฝุ่นได้มากกว่าไม้เลื้อยที่มีใบเป็นลักษณะอื่น โดยการทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์เครื่องดูดฝุ่น จากนั้นนำพืชพรรณใบหยาบ 3 ชนิดได้แก่ ใบพวงคราม ใบเล็บมือนาง และใบเสาวรส มาทดสอบโดยการปล่อยฝุ่นจากควันรถจักรยานยนต์ผลการทดสอบพบว่า พรรณไม้เลื้อยที่มีใบหยาบเนื่องจากมีขนสั้นดังเช่น ใบพวงครามสามารถดักจับฝุ่นได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 97.77 ส่วนใบเล็บมือนางที่มีขนสั้นแต่จำนวนไม่มากนัก ดักจับฝุ่นได้ร้อยละ 94.03 และใบเสาวรสที่มีขนสั้นจำนวนน้อยมากดักจับฝุ่นได้ร้อยละ 64.96 เมื่อได้ผลการทดลองแล้วสามารถเลือกนำพรรณไม้เลื้อยที่เป็นใบหยาบมีลักษณะขนสั้นไปประดับบริเวณหน้าต่างด้านริมถนนเพื่อความสวยงาม เป็นประโยชน์ทางจิตวิทยาแก่มนุษย์และสามารถดักจับฝุ่นได้อีกด้วย