F623

การพัฒนาฟิล์มไบโอพลาสติกจากแป้งเมล็ดทุเรียน

ณญาดา จันทร์เอียด, นันท์นภัส วิเชียร

ครูที่ปรึกษา คุณครูสุรวุธ แสงมณี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโลกได้ให้ความสนใจต่อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก สำหรับเมล็ดทุเรียนที่มีแป้งชนิดอะไมโลสอยู่สูงถึง 78 % สามารถนำมาสกัดเป็นแป้งจากเมล็ดทุเรียน เพื่อนำมาศึกษาวิจัยในการประดิษฐ์เป็นชิ้นงานต่าง ๆ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงาน การพัฒนาฟิล์มไบโอพลาสติกจากแป้งเมล็ดทุเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการทำฟิล์มไบโอพลาสติกจากแป้งเมล็ดทุเรียน และเพื่อได้ทราบกระบวนการผลิตฟิล์มไบโอพลาสติกจากแป้งเมล็ดทุเรียน โดยการศึกษาสูตรที่เหมาะสม ปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ ปริมาณแป้งเมล็ดทุเรียน ปริมาณน้ำกลั่น ปริมาณกลีเซอรีนและปริมาณแป้งมันสำปะหลังดิบ นำเนื้อแป้งที่ผสมในแต่ละสูตรไปกวนให้ความร้อนโดยให้อุณหภูมิของเนื้อแป้งไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นนำไปเทใส่ถาดพลาสติกขนาด 11 เซนติเมตร × 14 เซนติเมตร × 3 เซนติเมตร แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสเป็นเวลาประมาณ 18 – 24 ชั่วโมง จากนั้นนำฟิล์มที่ขึ้นรูปได้ไปทดสอบสมบัติเชิงกล คือค่าแรงต้านทานภายในเนื้อวัสดุที่มีต่อแรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ค่าการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ วัสดุเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ และร้อยการละลายน้ำ จากผลการทดลองทั้ง 15 สูตร พบว่า ฟิล์มไบโอพลาสติกสูตรที่ 1 ที่มีปริมาณกลีเซอรีน 35% ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด, น้ำกลั่น 97 กรัม, แป้งเมล็ดทุเรียน 3 กรัม สามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มได้และดีที่สุดในการนำมาผลิตเป็นฟิล์มไบโอพลาสติก โดยค่าแรงต้านทานภายในเนื้อวัสดุที่มีต่อ แรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ 0.59 MPa ค่าการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุเมื่อมีแรง ภายนอกมากระทำอยู่ที่ 47.1% และร้อยละการละลายน้าอยู่ที่ 63.720