F622

การเตรียมโฟมชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังผสมกากชาเหลือทิ้ง

ณัฐพงศ์ ปราชญ์ศักดิ์, ศิวัช ทองป้อง

ครูที่ปรึกษา คุณครูสุรวุธ แสงมณี, ผศ.ดร.จิราภรณ์ ไชยบัญดิษฐ์,

บทคัดย่อ

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ศึกษาลักษณะทางกายภาพ ศึกษาสมบัติเชิงกลด้วยการทดสอบการดัดงอแบบ three-point ศึกษาความหนาแน่นของโฟม และศึกษาการบวมตัวของโฟม โดยโฟมชีวภาพเตรียมจากแป้งมันสำปะหลังผสมกากชาในปริมาณ 1%, 3%, 5%, 7% และ 9% โดยเทียบจากน้ำหนักแป้งมันสำปะหลังจากนั้นขึ้นรูปโฟมด้วยกระบวนอัดขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ (Mold) ที่อุณหภูมิ 160 °C เป็นเวลา 10 นาที จากการนำโฟมชีวภาพแต่ละสูตรมาทดสอบสมบัติเชิงกลด้วยการดัดงอแบบ three-point พบว่าโฟมแป้งมันสำปะหลังที่ผสมกากชา 1% มีค่า Flexural Strength มากที่สุดเท่ากับ 4.37 MPa ความหนาแน่นของโฟมซึ่งพบว่าโฟมแป้งมันสำปะหลังผสมกากชา 7% และ 9% มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.21 g/cm3 และการบวมตัวของโฟมในระยะเวลา 1 ชั่วโมงมีค่ามากที่สุด คือ โฟมแป้งมันสำปะหลังผสมกากชา 3% เท่ากับ 1079.52% มีค่าน้อยที่สุดในระยะเวลา 1 ชั่วโมง คือ โฟมแป้งมันสำปะหลังผสมกากชา 7% เท่ากับ 662.37% การบวมตัวของโฟมในระยะเวลา 2 ชั่วโมงมีค่ามากที่สุด คือ โฟมแป้งมันสำปะหลังผสมกากชา 5% เท่ากับ 1213.22% มีค่าน้อยที่สุดในระยะเวลา 2 ชั่วโมง คือ โฟมแป้งมันสำปะหลังผสมกากชา 1% เท่ากับ 643.60% และการบวมตัวของโฟมในระยะเวลา 21 ชั่วโมงมีค่ามากที่สุด คือ โฟมแป้งมันสำปะหลังผสมกากชา 3% เท่ากับ 1548.81% มีค่าน้อยที่สุดในช่วงระยะเวลา 21 ชั่วโมง คือ โฟมแป้งมันสำปะหลังผสมกากชา 1% เท่ากับ 1174.22%