F605

ผลของไคโตซานต่อสภาวะขาดน้ำจากความแล้ง

และความเครียดจากความเค็มต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้งในระยะต้นกล้า

กฤตพร สยมภาค, รุ่งกานต์ สุวรรณโณ,

ครูที่ปรึกษา คุณครูรจนกร คงแสง

บทคัดย่อ

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไคโตซานต่อสภาวะขาดน้ำจากความแล้ง และความเครียดจากความเค็มต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้งในระยะต้นกล้าทั้งในแง่เสริมความแข็งแรง รวมถึงสภาวะการใช้งานที่เหมาะสม และเพื่อให้พืชเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อประสบกับสภาพวิกฤติ นอกจากนี้ยังพบว่า ผลของอัตราการเจริญเติบโตของเมล็ดผักบุ้งที่แช่ด้วยไคโตซานความเข้มข้น 40 ppm มีค่าเฉลี่ยความสูงสูงที่สุด รองลงมาคือความเข้มข้น 20 ppm และที่ความเข้มข้น 0 ppm มีค่าเฉลี่ยของความสูงน้อยที่สุด เนื่องจากความเข้มข้นของไคโตซานต้องมีความเหมาะสมต่อการใช้งานของพืชที่เราต้องการศึกษา ผลของไคโตซานต่อสภาวะขาดน้ำจากความแล้ง เมล็ดผักบุ้งที่แช่ด้วยไคโตซาน 20 ppm สามารถทนต่อสภาวะขาดน้ำได้ดี รองลงมาคือความเข้มข้น 40 ppm และที่ความเข้มข้น 0 ppm ทนต่อสภาวะขาดน้ำได้น้อยที่สุด และผลของไคโตซานต่อความเครียดจากความเค็ม เมล็ดผักบุ้งที่แช่ด้วยไคโตซานความเข้มข้น 20 ppm สามารถทนต่อความเครียดจากความเค็ม รองลงมาคือความเข้มข้น 0 ppm และที่ความเข้มข้น 40 ppm ทนต่อความเครียดจากความเค็มได้น้อยที่สุด ผลการทดลองพบว่าการให้ไคโตซานส่งเสริมทั้งอัตราการเจริญเติบโตของความสูง และสามารถทนต่อสภาวะขาดน้ำจากความแล้ง และความเครียดจากความเค็ม