G603

โครงงานศึกษาการแข็งตัวของน้ำยางพาราโดยใช้สารสกัดจากผลไม้รสเปรี้ยว

ชนัญชิดา เอี้ยวสกุล, สุธนัญญา เสียงสุวรรณ์, อภิชยา ศรีสุวรรณ

ครูที่ปรึกษา คุณครูสุภารัตน์ ชูช่วย

บทคัดย่อ

โครงงานศึกษาการแข็งตัวของน้ำยางพาราโดยใช้สารสกัดจากผลไม้รสเปรี้ยว ทำการทดลองเพื่อหาสารช่วยจับตัวยางจากสารสกัดจากผลไม้รสเปรี้ยวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เปรียบเทียบกับยางพาราที่ใช้กรดฟอร์มิกเป็นสารช่วยจับตัวยาง โดยการวัดระยะเวลาที่ใช้ในการจับตัวของน้ำยางพารา วัดค่าปริมาณสิ่งสกปรก ปริมาณสิ่งระเหย ค่าความอ่อนตัวเริ่มแรก ดัชนีความอ่อนตัวของยาง และค่าความหนืด ตามมาตรฐานการทดสอบยางแท่งเอสทีอาร์ แบ่งเป็น 5 ตัวอย่างคือ ยางพาราที่ใช้สารช่วยจับตัวยางเป็นกรดฟอร์มิก สับปะรด มะม่วงเบา มะนาว และมะขาม ซึ่งสูตรสารสกัดสับปะรดใช้เวลาในการจับตัวน้อยที่สุดคือ 2 ชั่วโมง 55 นาที และมีค่าดัชนีความอ่อนของยางตัวดีที่สุดคือ 98.3 สูตรสารสกัดมะขามและกรดฟอร์มิกมีค่าปริมาณสิ่งสกปรกดีที่สุดคือ 0.042% สูตรสารสกัดมะม่วงเบามีค่าปริมาณสิ่งระเหยน้อยที่สุดคือ 1.75% มีค่าความอ่อนตัวเริ่มแรกดีที่สุดคือ 35 และมีค่าความหนืดดีที่สุดคือ 66.9 จากผลการทดลองทำให้ได้ข้อสรุปว่ายางพาราแผ่นที่ใช้สารสกัดจากผลไม้รสเปรี้ยวมีค่าประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่ายางพาราแผ่นที่ใช้กรดฟอร์มิก โดยเฉพาะสารสกัดมะม่วงเบา ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ว่าสารสกัดจากมะม่วงเบามีประสิทธิภาพมากที่สุดในการจับตัวน้ำยางพารา