A303

กระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ

ณัฐธยาน์ รองพล, วรัญญา กำเนิดผล, ธนัชพร ไชยสาลี

ครูที่ปรึกษา คุณครูไพรจิตรา อเปสริยาโย

บทคัดย่อ

โครงงานนี้ศึกษาประสิทธิกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ 2 ชนิด คือ กระถางจากขุยมะพร้าว และจากฟางข้าว โดยการทดสอบการอุ้มน้ำของกระถางแต่ละชนิด โดยใช้น้ำเทลงในกระถางและสังเกตปริมาณการไหลออกของน้ำจากกระถางจำนวน 3 ครั้ง และทดสอบความแข็งแรงของกระถางแต่ละชนิดโดยแช่กระถางลงในน้ำที่มีส่วนผสม พด.2 (น้ำหมักชีวภาพช่วยในการย่อยสลาย) ระยะเวลา 3 วัน โดยสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงของกระถาง จากการศึกษาประสิทธิภาพของกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติจำนวน 2 ชนิด ในระยะเวลา 3 วัน พบว่ากระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติที่ทำจากขุยมะพร้าวสามารถอุ้มน้ำได้ดีและมีความแข็งแรงมากกว่ากระถางที่ทำจากฟางข้าว จากการทดลองประสิทธิในการอุ้มน้ำ กระถางทำจากขุยมะพร้าวสามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่ากระถางทำจากฟางข้าว โดยเฉลี่ย 1% และการทดสอบความแข็งแรงของกระถางจากวัสดุธรรมชาติ พบว่ากระถางทำจากขุยมะพร้าวมีความแข็งแรงมากกว่าทำจากฟางข้าวโดยสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของกระถางพบว่าในระยะเวลาทดลอง (3 วัน) รูปทรงของกระถางทำจากฟางข้าวมีการเปลี่ยนแปลงในขณะที่กระถางทำจากขุยมะพร้าวยังมีรูปทรงเดิม จากการทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายทางชีวภาพ กระถางทำจากฟางข้าวสามารถย่อยสลายได้ดีกว่ากระถางทำจากขุยมะพร้าวโดยสังเกตจากการแช่กระถางที่ทำจากวัสดุธรรมชาติทั้ง 2 ชนิด ในน้ำที่มีส่วนผสมของ พด.2 (เชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตร) ในระยะเวลา 10 วัน พบว่ากระถางที่ทำจากฟางข้าวเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงและย่อยสลายตั้งแต่วันที่ 3 ของการทดลอง ซึ่งกระถางที่ทำจากขุยมะพร้าวรูปทรงเปลี่ยนแปลงและย่อยสลายได้ช้ากว่า