ความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม

การอยู่ค่ายพักแรม เป็นวิชาลูกเสือที่สอนให้ลูกเสือรู้จักช่วยตนเองได้ดีที่สุด เพราะลูกเสือจะต้องทำทุกอย่างด้วยตนเอง และจะต้องช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อมๆกันด้วย จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยดังต่อไปนี้

1. จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาลูกเสืออย่างเคร่งครัด

2. อย่าออกนอกค่ายพักแรมในเวลากลางคืนเด็ดขาด การออกนอกค่ายพักแรมจะต้องได้รับอนุญาติจากผู้บังคับบัญชาลูกเสือก่อนทุกครั้ง

3. ต้องระมัดระวังการใช้มีด ขวาน หรืออุปกรณ์อื่นๆที่อาจเกิดอันตรายได้อย่างเคร่งครัด และเมื่อใช้เสร็จต้องเก็บเข้าที่ อย่านำออกมาหยอกล้อกันเป็นอันขาด

4. การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในบริเวณค่ายพักแรมจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง

5. การทำอุปกรณ์การอยู่ค่ายพักแรม เช่น กางเต็นท์ ตอกสมอบก ต้องให้ปลอดภัยจากการสะดุดหรือเหยียบ และต้องช่วยกันดูแลรักษาบริเวณรอบเต็นท์

6. ลูกเสือจะต้องมีความสังเกตเป็นพิเศษ จะต้องรู้ว่าต้นไม้ต้นใดมีพิษ และไม่มีพิษ และ ต้องระมัดระวังสัตว์เลื้อยคลาน แมลงต่าง ๆ ตลอดทั้งงูพิษ ก่อนนอนทุกครั้งจะต้องตรวจดูว่ามีอะไรแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในเต็นท์

7. การอาบน้ำลูกเสือไม่ควรไปอาบน้ำตามลำคลอง หรือแม่น้ำตามลำพัง ควรอาบน้ำในบริเวณที่ผู้กำกับกำหนดเขตให้

ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ในการอยู่ค่ายพักแรม

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการอยู่ค่ายพักแรม ได้แก่ มีด ขวาน จอบ เสียม เลื่อย ลูกเสือจะต้องรู้จักวิธีใช้ การพกพา และวิธีเก็บรักษาดังต่อไปนี้

มีด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. มีดเล็ก ได้แก่ มีดพกประจำตัว และมีดที่ใช้ในการทำครัว

2. มีดใหญ่ ได้แก่ มีดโต้ มีดดายหญ้า มีดพร้าถาง ซึ่งเราจะใช้ตัดกิ่งไม้ใหญ่ ผ่าฟืน ดายหญ้า

ขวาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ขวานไทย และขวานฝรั่ง มีทั้งขวานใหญ่ และขวานเล็ก

1. ขวานใหญ่ ใช้สำหรับโค่นต้นไม้ ตัดกิ่งไม้ขนาดใหญ่ ผ่าฟืน

2. ขวานเล็ก ใช้สำหรับตัดทอนกิ่งไม้ขนาดเล็ก ผ่าฟืน หรือใช้แทนค้อน ตอกตะปู หรือสมอบก

จอบ ใช้ในการปรับพื้นที่ ขุดตอไม้ ขุดรางระบายน้ำรอบเต็นท์ ขุดหลุมเปียก หลุมแห้ง หลุมส้วม สร้างเตา ฯลฯ การใช้ต้องระมัดระวังก้อนหิน

เสียม ใช้ขุด ใช้ปรับพื้นที่ ขุดหลุมเปียกแห้ง

เลื่อย ได้แก่ เลื่อยลันดา เลื่อยคันธนู

1. เลื่อยลันดา ใช้สำหรับเลื่อยกิ่งไม้ใหญ่ถ้าใช้เลื่อยไม้ไผ่ควรเลื่อยเส้นรอบวงของไม้ให้รอบก่อน

2. เลื่อยคันธนู แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนด้ามมีลักษณะโค้งเหมือนคันธนู และส่วนใบเลื่อยใช้เลื่อยไม้ใหญ่หรือเล็ก

การเก็บรักษา

1. หลังใช้ให้ปัดแปรงเช็ดสิ่งสกปรกออก ชโลมน้ำมันให้ทั่ว

2. ต้องแขวน ไม่วางหรือพิง

3. หาปลอกหุ้มป้องกันฟันเลื่อยบิ่น

4. ไม้ที่จะเลื่อยต้องไม่มีเหล็กหรือตะปูฝังอยู่ หากไม้ที่จะเลื่อยเปื้อนดิน โคลน ต้องทำให้สะอาดก่อนเลื่อย

5. การส่งเลื่อยขึ้นที่สูงให้ผูกด้ามสาวขึ้นไป ถ้ายืนส่งไม่ถึง

6. ใช้ลับด้วยตะไบสามเหลี่ยม

วิธีใช้และการเก็บรักษา มีด และ ขวาน

1. ไม่วางมีดหรือขวานให้ทางคมหงายขึ้น

2. ไม่ใช้หั่น ถาก ฟัน วัตถุที่แข็งเกินไปจนคมทื่อ บิ่น

3. ไม่ใช้กรีดทำลายทรัพย์สินให้เสียหาย

4. ไม่นำไปลนไฟ หรือวางใกล้ไฟเกินควร

5. การส่งมีด ให้จับสันมีดหันคมออกส่งทางด้านคมออกนอกตัว

6. การแบกหรือการถือมีด ขวานขนาดใหญ่ให้หันด้านคมออกนอกตัว

7. การส่งขวานใหญ่จับปลายด้ามขวานให้ตัวขวานห้อยลง คมขวานหันออกข้าง ๆ

8. ส่งขวานขนาดเล็กให้จับที่ตัวขวานหันคมไปทางด้านหลังปลอยด้ามขวามชี้ลง

การส่งขวาน การแบกขวาน การถือขวานใหญ่ การถือขวานเล็ก การพกขวาน

การเก็บรักษา

1. ด้ามขวานหลวมเอาลิ่มขนาดที่ต้องการแช่น้ำอุ่น ตอกสลักเข้าไปทำให้แน่น

2. ลับมีด ขวาน ให้คมเสมอ

3. มีดใช้แล้วเช็ดให้แห้ง หยอดน้ำมันเก็บเข้าที่

4. ขวานใช้แล้วเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิม ขวานใหญ่ควรลับเก็บไว้กับขอนไม้

กฎแห่งความปลอดภัยของการใช้ขวาน

1. ขณะฟันระวังอย่าให้พลาดลงไปในดิน

2. วางขนาดตามยาว และซ่อนคมไว้

3. ไม่โยนขวาน เพราะจะทำให้เสียคม และอาจเกิดอันตรายได้

4. เก็บขวานให้พ้นพื้น จะไม่เป็นสนิม และกร่อน

5. ใช้แล้วเช็ด หรือทำให้แห้ง แล้วเช็ดด้ายน้ำมัน เก็บเข้าปลอกหรือสับไว้กับขอนไม้

6. ตรวจดูสลักหัวขวาน หากหลวมให้ใช้ลิ่มแช่น้ำอุ่น แล้วตอกให้แน่น