คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

คำปฏิญาณ คือ คำมั่นสัญญาที่ลูกเสือได้ให้ไว้แก่ผู้บังคับบัญชาต่อหน้าแถว หรือในพิธีการทางลูกเสือเป็นหลักสากลที่ลูกเสือทุกคนต้องปฏิบติเช่นเดียวกันหมด ลูกเสือจะต้องจดทำคำปฏิญาณให้ได้ และต้องพยายามปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณอย่างเต็มความสามารถหรือให้ดีที่สุด

คำปฏิญาณของลูกเสือไม่มีคำว่า “อย่า” หรือ “ต้อง” คือไม่มีการห้ามหรือบังคับ แต่เป็นคำปฏิญาณหรือคำมั่นสัญญาของลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาได้กล่าวรับรอง ด้วยเกียรติของตนเองและด้วยความสมัครใจ ส่วนกฎของลูกเสือได้กำหนดไว้เป็นกลาง เพื่อให้ลูกเสือได้ถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และโดยผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎของลูกเสือเป็นพิเศษ เพื่อบำเพ็ญตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกเสือ

คำปฏิญาณของลูกเสือ

ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่าข้อ ๑) ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ข้อ ๒) ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อข้อ ๓) ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือความหมายของคำปฏิญาณทั้ง ๓ ข้อ

ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ลูกเสือจะต้องมีความศรัทธา เชื่อมั่นในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของตน เคารพเทิดทูนทั้ง ๓ สถาบันด้วยความซื่อสัตย์

ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ลูกเสือจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นในทุกโอกาส ทุกสถานการณ์ เท่าที่จะทำได้ โดยเริ่มตั้งแต่ครอบครัว จนถึงสังคมภายนอก

ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ ลูกเสือต้องปฏิบัติตนตามกฎ ๑๐ ข้อ ของลูกเสือซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวให้ลูกเสือปฏิบัติแต่สิ่งดีงาม

หน้าที่ต่อชาติ

ชาติไทย คือ แผ่นดินและน่านน้ำที่รวมกันเรียกว่า “ประเทศไทย” ประกอบด้วยประชาชนพลเมืองที่รวมกันเรียกว่า “คนไทย”

ธงชาติ เป็นเครื่องหมายแทนชาติ ฉะนั้นธงชาติจึงเป็นสิ่งที่ควรแก่การเคารพ เป็นหน้าที่ของลูกเสือทุกคน จะต้องแสดงความเคารพในโอกาสที่เชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา และเวลาเชิญธงชาติลงจากยอดเสา

พิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาหรือพิธีเชิญธงชาติลงจากยอดเสานี้ เป็นพิธีสำคัญอย่างหนึ่งของลูกเสือ ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เชิญธงชาติลง ควรถือว่าเป็นเกียรติที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานนี้ และจะต้องระมัดระวังไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของธงสัมผัสพื้นดินเป็นอันขาด ลูกเสือไม่ควรกระทำการใด ๆ ในอันที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติของธงชาติ เช่น นำพื้นธงไปปูพื้น เช็ดสิ่งของหรือเหยียบย่ำและกองไว้แทบเท้า

ธงชาติไทย เรียกว่า “ธงไตรรงค์” แปลว่า ธงสามสี ลูกเสือควรจะทราบด้วยว่า แต่ละสีมีความหมายอย่างไร สัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของธงชาติ คือ เพลงชาติ ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกคน จะต้องสามารถร้องเพลงชาติได้อย่างถูกต้อง

ลูกเสือควรปฏิบัติต่อชาติ ดังนี้

๑) ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีหมั่นศึกษาหาความรู้ใส่ตัว

๒) ไม่ประพฤติตนผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมายของบ้านเมือง

๓) เป็นผู้ประกอบอาชีพสุจริต มีความซื่อสัตย์

๔) รักและหวงแหนแผ่นดินถิ่นเกิดของตน เป็นผู้เสียสละและกล้าหาญ

หน้าที่ต่อศาสนา

ลูกเสือควรปฏิบัติต่อศาสนา ดังนี้

๑) ปฏิบัติกิจทางศาสนาตามจารีตประเพณีที่ตนนับถือด้วยใจบริสุทธิ์

๒) ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ

๓) ไม่แสดงอาการลบหลู่ศาสนาอื่น

๔) ละเว้นการประพฤติชั่วกระทำแต่ความดี

๕) เข้าร่วมพิธีทางศาสนาตามเวลา และโอกาสอันควร

หน้าที่ต่อพระมหากษัตริย์

ผู้กำกับลูกเสือพึงหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้ลูกเสือสนใจพระราชกรณีกิจของพระมหากษัตริย์ โดยเน้นถึงเวลาที่พระองค์ทรงอุทิศให้แก่บ้านเมืองและเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ เป็นที่ร่วมแห่งความเคารพสักการะ และความสามัคคีของคนไทยทั้งชาติ

ลูกเสือควรปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์ ดังนี้

๑) แสดงความเคารพต่อพระองค์ท่าน และพระบรมฉายาลักษณ์

๒) ไม่กระทำการใดๆ ที่จะส่งผลให้เสื่อมเสียพระเกียรติคุณ และต้องช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่นกระทำด้วยเช่นกัน

การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งของลูกเสือ และเป็นสิ่งที่ทำให้การลูกเสือมีชื่อเสียง ได้รับการยกย่องจากประชาชนโดยทั่วไป

โอกาสที่ลูกเสือจะบำเพ็ญประโยชน์นั้น ควรเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กก่อน แล้วขยายออกไปตามวัย และความสามารถของเด็ก กล่าวคือ

๑. บ้านเมืองของลูกเสือ ควรส่งเสริมให้เด็กทำงานในบ้านหรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว เพื่อเป็นการเพาะนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก

๒. โรงเรียนหรือที่ตั้งกองลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำงานเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ต่อห้องเรียน ต่อโรงเรียนให้มากที่สุด โดยสอนให้ลูกเสือตระหนักว่า งานเป็นสิ่งที่มีเกียรติ งานเท่านั้นเป็นเครื่องวัดคุณค่าของคน

กฎของลูกเสือ มี 10 ข้อ

ข้อ ๑ ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้

ข้อ ๒ ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ

ข้อ ๓ ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น

ข้อ ๔ ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก

ข้อ ๕ ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย

ข้อ ๖ ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์

ข้อ ๗ ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ

ข้อ ๘ ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

ข้อ ๙ ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์

ข้อ ๑๐ ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

ข้อ ๑ "ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้" (A scouts is to be Trusted) ลูกเสือจะต้องยึดมั่นในความซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด มั่นคงอยู่ในคุณงามความดี ไม่ยอมแพ้แก่สิ่งยั่วยุหรืออำนาจฝ่ายต่ำ กระทำตนให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจแก่ผู้อื่นได้เสมอ

ข้อ ๒ "ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ" (A scout is loyal) เป็นการยืนยันในคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้อย่างมีเกียรติ ด้วยการแสดงออก ปฏิบัติจริงทุกวิถีทาง เพื่อปกป้องสถาบันชาติ สถาบันศาสนา ละสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงจะต้องยึดมั่นในความซื่อสัตย์กตัญญูต่อผู้มีพระคุณทุกท่าน

ข้อ ๓ "ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น" (A scout duty is to be useful and to help others) ลูกเสือจะต้องเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว พร้อมอยู่เสมอที่จะบำเพ็ญประโยชน์และเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ความสามารถ และพึ่งตนเองได้ด้วย

ข้อ ๔ "ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก" (Scout is a friend to all and a brother to every other Scout) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดี มีจิตใจ โอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนทุกคนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และชั้นวรรณะ รวมทั้งมีความตระหนักในหลักภารดรภาพคือ ความรู้สึกเสมือนเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก

ข้อ ๕ "ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย" (A scout is Courteous) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้มีกิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยนอ่อนน้อม มีสัมมาภารวะต่อบุคคลทั่วไป ไม่ยกตนข่มท่าน

ข้อ ๖ "ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์" (A scout is a Friend to animals) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้มีใจเมตตากรุณาสงสารสัตว์ ไม่รังแกหรือทรมานสัตว์ให้ได้รับความเจ็บปวด หรือเมื่อพบสัตว์ได้รับความลำบากก็ต้องให้การช่วยเหลือมันจนพ้นภัย

ข้อ ๗ "ลูกเสือต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ" (A scout obeys orders of his parents patrol leader of Scoutmaster with out question) ในฐานะที่บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่ขึ้นมา รวมไปถึงบรรดาครู อาจารย์ และผู้บังคับบัญชา ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นที่ผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตมากว่าเรา ดังนั้น คำสอน ดำชี้แนะ หรือคำสั่งของท่านจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ลูกเสือจึงจะต้องเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามโดยฉับไว ไม่ลังเลใจ อันเป็นวินัยซึ่งเกิดจากภายในมิใช่เป็นการถูกบังคับให้กระทำ

ข้อ ๘ "ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก" (A scout Smiles and under difficulties) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้มี่อาการยิ้มแย้มแจ่มใสและร่าเริงอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะตกอยู่ในความยากลำบากปานใดก็ตาม

ก็จะไม่แสดงอาการย่อท้อให้เห็น

ข้อ ๙ "ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์" (A scout is Thrifty) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้รู้จักประหยัดทรัพย์ทั้งของตนและผู้อื่น รู้จักเก็บหอมรอมริบ สำหรับใช้บำรุงตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง

ข้อ ๑๐ "ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ" (A Scout is clean in thought word and deed)ลูกเสือจะต้องรู้จักสำรวมและระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้มีความอิจฉา ริษยา คิดเบียดเบียนหรือทำให้ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นเดือดร้อนและชำรุดเสียหาย รวมไปถึงการไม่พูดคำหยาบ คำเท็จ โดยพยายามยัดหลักว่า "สิ่งที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด" จะต้องไม่ทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งถ้าปฏิบัติได้ดังนี้ ก็เท่ากับว่าเราได้ดำรงตนอยู่ในศิลธรรมอันดี มีความประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจแล้ว

คำปกิญาณและกฎของลูกเสือ‎(การตอบกลับ)‎

ที่มา : http://men.mthai.com/infocus/33262.html