หน้าที่พลเมือง(ลูกเสือชั้นพิเศษ)

เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ(ตามข้อกำหนดหลักสูตรลูกเสือเหลวง)

หน้าที่พลเมือง

ประวัติการลูกเสือไทย

ระยะที่ 1 (พ.ศ.2454 – 2468 )

หลังจากลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ ได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรก เมื่อ พ.ศ. 2450 กิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น โดยให้ข้าราชการพลเรือนเข้ารับการฝึกอบรมมุ่งอบรมด้านจิตใจให้มีความรักชาติมีมนุษยธรรมและมีความเสียสละ เมื่อกิจการเสือป่าได้เจริญก้าวหน้ามั่นคงแล้ว มีพระราชดำริว่าบุตรของเสือป่าก็ควรจะได้รับการฝึกอบรมให้เป็นพลเมืองดีตั้งแต่เยาว์วัย ดังนั้นจึงมีพระบรมราชโองการ ณ วันเสาร์ที่1 กรกฎาคม 2454 ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ( ปัจจุบันคือ โรงเรียนวชิราวุธราชวิทยาลัย ) ภายหลังจากตั้งกองลูกเสือป่าได้ 2 เดือน รองจากชิลีและอเมริกากองลูกเสือกองแรกนี้ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็น กองลูกเสือหลวง ได้ทำพิธีเข้าประจำกองเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2454 และพระราชทานคติพจน์แก่คณะลูกเสือว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ลูกเสือไทยคนแรกคือ นายชัพพ์ บุญนาค เพราะเป็นผู้ที่กล่าวคำปฏิญานของลูกเสือได้เป็นคนแรก

หลังจากได้ทรงสถาปนาการลูกเสือไทยแล้ว ทรงตราข้อบังคับลักณษะการปกครองลูกเสือและตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก และหลังจากนั้นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมาก็ทรงเป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2490 ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

เหตุการณ์สำคัญในระยะนี้ คือ

ตั้งกองลูกเสือกองแรกที่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง พ.ศ. 2454 เป็นกองลูกเสือในพระองค์เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1

พระราชทานเหรียญราชนิยมให้แก่ลูกเสือโท ฝ้าย บุญเลี้ยง (ต่อมาเป็นขุนวรศาสตร์ดรุณกิจ) เมื่อ พ.ศ. 2458

ตั้งโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ สโมสรลูกเสือป่าจังหวัดพระนคร หลักสูตร 2 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2459 โรงเรียนนี้เปิดดำเนินการได้ 2 เดือนก็เลิกล้มไป

ส่งผู้แทนลูกเสือไทยไปชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2463 โดยมี นายสวัสดิ์ สุมิตร เป็นหัวหน้าคณะ

คณะลูกเสือไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลกเป็นกลุ่มแรก เมื่อ พ.ศ. 2465 มีประเทศต่าง ๆ รวม 31 ประเทศ และถือว่าเป็นสมาชิกผู้ริเริ่มจัดตั้งคณะลูกเสือโลก

ส่งผู้แทนไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2467 โดยมีพระยาภะรตราชา เป็นหัวหน้าคณะ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2468 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงวางรากฐานการลูกเสือไทยไว้อย่างดี กิจการลูกเสือไทยได้ขยายตัวไปทั่วราชอาณาจักร นอกจากจะได้พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือแห่งชาติแล้วยังได้พระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่อง “ หัวใจนักรบ “ เพื่อส่งเสริมกิจการลูกเสือไทยและได้ทรงแต่งบทประพันธ์ซึ่งคณะลูกเสือแห่งชาติได้นำมาเป็นเพลง เช่น เพลงสยามานุสติ บทเพลงรักชาติบ้านเมือง และเพลงไทยรวมกำลังตั้งมั่น เป็นต้น

อนึ่ง พระองค์ท่านได้พระราชดำริจะจัดตั้งกองลูกเสือหญิง เรียกว่า “ เนตรนารี “ และจะจัดให้มีงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ แต่งานทั้งสองอย่างยังไม่ทันเสร็จ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน

ระยะที่ 2 ( พ.ศ.2469 – 2482 )

ยุคนี้เริ่มตั้งแต่แผ่นดินสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จนถึงต้นสงครามโลก ครั้งที่ 2 แบ่งได้เป็น 2 ตอน คือ

ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ( พ.ศ. 2468 – 2475 ) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งสภานกยกกรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ และพระองค์เจ้าธานีวัติทรงดำรงตำแหน่งอุปนายกสภาฯ

เหตุการณ์สำคัญในระยะนี้ คือ

มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2470 มีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 1836 คน

ส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศอังกฤษ โดยมีนายนาค เทพหัสดินฯ เป็นหัวหน้าคณะ และส่งคณะลูกเสือไทยไปเยือนประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.2472

มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2473 มีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาเข้าร่วมชุมนุม 1950 คน และมีผู้แทนคณะลูกเสือญี่ปุ่นเข้าร่วมชุมนุมด้วย 22 คน

จัดตั้งโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือขึ้นมาใหม่ ณ พระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน)จังหวัดเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2474 โดยมีอำมาตย์ตรีพระยาสุรพันธ์เสนีย์ เป็นผู้อำนวยการ มีหลักสูตร 2 เดือน โรงเรียนนี้ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ล้มเลิกไปเพราะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ข.ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนสละราชสมบัติ และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จนถึงต้นสงครามดลกครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2475 – 2482 )

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ( พ.ศ. 2477 ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงสืบราชสมบัติแทน

ส่งผู้แทนไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือ ครั้งที่ 4 ประเทศฮังการี โดยมี นายอภัย จันทวิมล เป็นหัวหน้าคณะ

พ.ศ.2478 ส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือวิสามัญ ณ ประเทศสวีเดน โดยมีนายกองวิสุทธารมณ์ เป็นหัวหน้าคณะ ประกาศใช้ตราประจำคณะลูกเสือและกฎลูกเสือ 10 ข้อ เปิดฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ซึ่งเรียกในทางราชการว่า การฝึกอบรมวิชาพลศึกษา (ว่าด้วยลูกเสือ) ประจำปี 2478 ใช้เวลาบอรม 1 เดือน และประกาศตั้งการลูกเสือสมุทรเสนา

พ.ศ. 2479 ประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสนา และสมุทรเสนา ประกาศใช้พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 กำหนดลักษณะธงประจำกองของคณะลูกเสือแห่งชาติ และธงประจำกองลูกเสือ

พ.ศ. 2482 ประกาศใช้พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2482 ตั้งสภากรรมกลางลูกเสือแห่งชาติ จังหวัดลูกเสือ อำเภอลูกเสือ และแบ่งลูกเสือออกเป็น 2 เหล่า คือ ลูกเสือเสนาและลูกเสือสมุทรเสนา และประกาศใช้พระราชบัญญัติให้ทรัพย์สินของลูกเสือป่าเป็นของคณะลูกเสือแห่งชาติ

ระยะที่ 3 ( พ.ศ. 2483 – 2489 )

ยุคนี้เป็นระยะตอนปลายรัชกาลที่ 8 และอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2482 – 2489 )ในระยะนี้การลูกเสือได้ซบเซาลงมาก เนื่องจากอยู่ในสภาวะสงคราม

เหตุการณ์สำคัญในยุคนี้ คือ

พ.ศ. 2486 ได้มีพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ จัดตั้งองค์การยุวชนแห่งชาติขึ้น มีการจัดตั้งยุวชนทหาร ซึ่งฝึกการใช้อาวุธแบบทหาร รัฐบาลในยุคนั้นให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก ส่วนกิจการลูกเสือก็ยังคงดำเนินการอยู่

พ.ศ. 2488 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การลูกเสือได้เริ่มฟื้นฟูทั่วโลกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติสู่พระนคร และถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

ระยะที่ 4 ( พ.ศ. 2490 – 2514 )

ยุคนี้เริ่มต้นตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

ก. ระยะฟื้นฟู ( พ.ศ. 2490 – 2503 )

พ.ศ. 2490 ยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2486 ตราพระราชบัญญัติลูก

เสือ พ.ศ. 2490 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพ เป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ

พ.ศ. 2496 เริ่มก่อสร้างค่ายลูกเสือวชิราวุธ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีโดยจัดซื้อที่ดิน 88 ไร่ 58 ตารางวา ราคา 304000 บาท

พ.ศ.2496 มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพฯ มีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 5155 คน

พ.ศ. 2500 ส่งผู้แทนลูกเสือไทยไปร่วมงานมชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 9 ณ ประเทศอังกฤษ เพื่อเฉลิมฉลองอายุครบ 100 ปี ของลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ โดยมีนายสว่าง วิจักขณะเป็นหัวหน้าคณะ และส่งนายสมรรถไชย ศรีกฤษณ์ กับ นายเชาวน์ ชวานิช เข้ารับการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขึ้นวูดแบดจ์ที่ค่ายลูกเสือกิลเวลล์ปาร์ค ประเทศอังกฤษ เป็นรุ่นแรก และไปอบรมวิชาลูกเสืออาชีพต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2501 เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรองขั้นความรู้เบื้องต้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตามหลักสูตรกิลเวลล์ปาร์ค และจัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรก เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2501

พ.ศ. 2503 เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรองขึ้นวูดแบดจ์ครั้งแรก ณ พระตำหนักอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี และส่งผู้แทน 6 คน ไปร่วมการประชุมสมัชชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 2 ณ เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยมี นายแพทย์แสง สุทธิพงศ์ เป็นหัวหน้าคณะ และในปีเดียวกัน สภากรรมการกลางได้ส่งเจ้าหน้าที่ลูกเสือ 11 คน ไปเข้ารับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือวิสามัญขั้นวูดแบดจ์ ที่ค่ายลูกเสือกัวลาลัมเปอร์

ข. ระยะก้าวหน้า ( พ.ศ. 2504 – 2514 )

โดยเหตุที่คณะลูกเสือแห่งชาติ จะมีอายุครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2504 คณะผู้ที่ได้ไปร่วม

ประชุมสมัชชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 2 ณ ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2503 เห็นว่ากิจการลูกเสือในประเทศพม่าเจริญก้าวหน้ามาก การลูกเสือไทยควรจะได้ขยายกิจการและเผยแพร่บ้างจึงเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนในการจัดประชุมสมัชชาลูกเสือลูกเสือภาคตะวันออกไกลครั้งที่ 3 ในประเทศไทยซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีที่ค่ายลูกเสือ

พ.ศ. 2504 มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ เพื่อเฉลิมฉลองที่คณะลูกเสือไทยมีอายุครบ 50 ปี มีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมประชุม 5539 คน มีลูกเสือต่างประเทศเข้าร่วมชุมนุม 10 ประเทศ จำนวน 348 คน เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้นวูดแบดจ์ รุ่นแรก ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ และจอมสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีวางศิลาฤกษ์ศาลาวชิราวุธ เพื่อให้เป็นสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ที่พักของลูกเสือและร้านลูกเสือ

พ.ศ.2505 พลเอกถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี ประกอบพิธีเปิดค่ายลูกเสือวชิราวุธ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2505 ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นเมื่อถึงวันพิธีเปิดค่าย เป็นเงิน 4300000 บาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีเปิดศาลาวชิราวุธ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2504 ค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1820000 บาท มีการประชุมสมัชชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 ณ ศาลาสันติธรรม กรุงเทพฯ และได้เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นผู้ให้การฝึกอบรม ครั้งที่ 9 ของภาคตะวันออกไกล ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ

พ.ศ. 2506 จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2506 เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้นวูดแบดจ์ครั้งแรก ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ครั้งแรก ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา ศิริโสภาพัณณดี ทรงเปิดตึกพยาบาล ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ตึกพยาบาลหลังนี้ทรงบริจาคเงินค่าก่อสร้างด้วยพระองค์เองเป็นเงิน 150000 บาท ส่งผู้แทนไปร่วมการชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 10 ณ เมืองมาราธอน ประเทศกกรีซ โดยมีนายเพทาย อมาตยกุล เป็นหัวหน้าคณะ และส่งผู้แทนไปร่วมการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 19 ณ เกาะโรดส์ ประเทศกรีซ โดยมี นายอภัย จันทวิมล เป็นหัวหน้าคณะ

พ.ศ. 2507 ประกาศใช้พระราชบัญญัติลูกเสือ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระปรุมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ให้สภาลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นสภานกยก ได้รับงบประมาณ 2055000 บาท เพื่อจัดซื้อที่ดินของบริเวณค่ายลูกเสือวชิราวุธเพิ่มอีก 306 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธทั้งสิ้น 394 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา มีการประชุมสภาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 4 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และเปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นผู้ให้การฝึกอบรม ครั้งที่ 11 ของภาคตะวันออกไกล ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ โดยมีนายจอน เธอแมน ผู้บังคับการค่ายฝึกอบรมที่กิลเวลล์ ปาร์ค มาเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม

พ.ศ. 2508 ประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งแรก ณ ศาลาสันติธรรม ระหว่างวันที่ 1 – 3 กรกฎาคม 2508 จดทะเบียนกองลูกเสือสามัญเหล่าสมุทร กองแรก ณ โรงเรียนสัตหีบ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2508 มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ณ ค่ายวชิราวุธ มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือและลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 5736 คน ลูกเสือต่างประเทศเข้าร่วมชุมนุมด้วย 8 ประเทศ จำนวน 431 คน และได้มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 ณ กรุงเม็กซิโกซิตี้ นายอภัย จันทวิมล ได้รับเลือกเป็นกรรมการลูกเสือโลก มีกำหนด 6 ปี

พ.ศ. 2509 ส่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือจากประเทศไทย จำนวน 8 คน ไปร่วมการประชุมฝึกอบรมลูกเสือ ครั้งที่ 4 ณ กิลเวลล์ปาร์ค ประเทศอังกฤษ โดยมี นายอภัย จันทวิมล เป็นหัวหน้าคณะลูกเสือไทย บริจาคเงิน 924 ปอนด์ 10 ชิลลิง 6 เพนนี สร้างพุทธศาลา ณ กิลเวลล์ปาร์คประกาศใช้ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 จดทะเบียนกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่กองแรก ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2509 จดทะเบียนกองลูกเสือสามัญเหล่าอากาศกองแรก ณ ศูนย์พัฒนาเครื่องบินเล็กเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2509 และมีการประชุมสมัชชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 5 ณ กรุงไทเป ประเทศจีน (ไต้หวัน ) นายอภัย จันทวิมลได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการเป็นเวลา 2 ปี

พ.ศ. 2510 เริ่มจัดสร้างและประกอบพิธีเปิดค่ายลูกเสือประจำจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลให้เงินอุดหนุนจังหวัดละ 100000 บาท ส่งผู้แทนไปร่วมการชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 12 ณ Farragut State Park เมืองเคดาแลน รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี นายปัญญา สมบูรณ์ศิลป์ เป็นหัวหน้าคณะ ส่งผู้แทนไปร่วมการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 21 ณ เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี นายอภัย จันทวิมล เป็นหัวหน้าคณะ ประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ พ.ศ. 2510 และกิลเวลล์ปาร์คถวายเครื่องหมายวูดแบดจ์กิตติมศักดิ์ชนิด 4 ท่อน แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พ.ศ. 2511 มีพิธีเปิดสระว่ายน้ำ “ ชาติตระการโกศล “ ที่ค่ายวชิราวุธ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2511 สร้างด้วยเงินบริจาคของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นเงิน 595000 บาท มีกการประชุมสมัชชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 6 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี นายจิตร ทังสุบุตรได้รับเลือกเป็นกรรมการเป็นเวลา 4 ปี

พ.ศ. 2512 มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาเข้าร่วมชุมนุม 5000 คน มีลูกเสือต่างประเทศเข้าร่วมชุมนุมด้วย 12 ประเทศ จำนวน 582 คน และได้จัดซื้อที่ดินเพื่อขยายบริเวณค่ายลูกเสือวชิราวุธ ครั้งที่ 2 เนื้อที่ 40 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา ด้วยเงินสำนักงานสลากกินแบ่ง จำนวน 236010.73 บาท รวมเนื้อที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธทั้งหมด 435 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา

พ.ศ. 2513 มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 7 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองคณะลูกเสือไทยมีอายุครบ 60 ปี มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือและลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 1667 คน มีการชุมนุมลูกเสือวิสามัญ ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดนครปฐม เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นผู้ให้การฝึกอบรมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 National Trainer Course ( N.T.C. ) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ และส่งผู้แทนไปร่วมการชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 13 ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายสว่าง วิจักขณะ เป็นหัวหน้าคณะ นายอภัย จันทวิมล ได้รับ Bronze Wolf ในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 20 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ระยะที่ 5 ( พ.ศ. 2514 – ปัจจุบัน )

ยุคนี้เรียกว่า ยุคถึงประชาชน เนื่องด้วยในปี พ.ศ. 2514 เป็นปีที่เริ่มมีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านเป็นครั้งแรก กิจการลูกเสือชาวบ้านได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างแพร่หลาย

พ.ศ. 2514 กองกำกับการตำรวนตระเวนชายแดน เขต 4 และสำนักงานศึกษาธิการเขต 9 จังหวัดอุดรธานี นำโดย พ.ต.อ.สมควร หริกุล ได้ร่วมกันจัดให้มีการทดลองฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 115 คน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2514 เป็นเวลา 5 วัน ทีบ้านเหล่ากอหก ตำบลแสงพา อำเภอนาแห้ว จังหวัดอุดรธานี การอบรมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าผูกคอลูกเสือชาวบ้านทุกคนตลอดมาและในปีเดียวกันนี้ นายเพทาย อมาตยกุล ได้รับเลือกเป็นกรรมการลูกเสือเขตเอเชีย – แปซิฟิก

พ.ศ. 2516 สภาลูกเสือแห่งชาติลงมติรับกิจการลูกเสือชาวบ้านเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้นำวิชาลูกเสือเข้าอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธี เปิดพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณด้านหน้าค่ายวชิราวุธ และทรงประกอบพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 8 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ระหว่างวันที่ 23 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 มีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 4968 คน มีลูกสือต่างประเทศเข้าร่วมชุมนุมด้วย 8 ประเทศ จำนวน 256 คน มีการชุมนุมลูกเสือวิสามัญ ครั้งที่ 2 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 24 ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา โดยมีนายแพทย์บุญสม มาร์ติน เป็นหัวหน้าคณะ

นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา กิจการลูกเสือก็ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนถึงปี พ.ศ. 2536 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีชาติต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าร่วมประชุมจำนวน 133 ประเทศ

วิธีดำเนินการของขบวนการลูกเสือ

ขบวนการลูกเสือเป็นองค์การเยาวชนประเภทหนึ่งที่จัดให้มีการฝึกอบรมอย่างมีขั้นตอนเป็นชบวนการให้การศึกษานอกแบบ โดยมีเครื่องแบบเป็นสัญลักษณ์ มีอุดมการณ์ที่แน่ชัดเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนาและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ขบวนการลูกเสือเป็นขบวนการระดับโลก มีประเทศสมาชิก 144 ประเทศ ( เม.ย. 40 ) มีลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทั่วโลก ประเทศสมาชิกจะส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลกได้ประเทศละ 6 คน โดยประชุมกันทุก 2 ปี ในประเทศใดประเทศหนึ่งตามมติของที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก

ขบวนการลูกเสือโลกมีสำนักเลขาธิการมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือมติของสมัชชาลูกเสือโลกเรียกว่าสำนักงานลูกเสือโลก สำนักงานปัจจุบันอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนอกจากนี้ยังมีสำนักงานอีก 5 เขต คือ

1.เขตอินเตอร์ – อเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองซานโฮเซ่ ประเทศคอสตาริกา

2.เขตเอเชีย – แปซิฟิก ตั้งอยู่ที่เมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

3.เขตอาหรับ ตั้งอยู่ที่เมืองโคโร ประเทศอียิปต์

4.เขตยุโรป ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

5.เขตแอฟริกา ตั้งอยู่ที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา

ระบบหมู่ เป็นวิธีการสำคัญทีขบวนการลูกเสือนำมาใช้ในการฝึกอบรม ระบบหมู่เป็นการส่งเสริมให้ลูกเสือได้มีโอกาสทำงานร่วมกันกับหมู่คณะอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นการส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี และมีประชาธิปไตย ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การฝึกอบรมลูกเสือจึงกำหนดให้ลูกเสืออยู่ร่วมกันเป็นหมู่ สำหรับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หมู่หนึ่งจะมีสมาชิก 4 – 8 คน มีนายหมู่เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมทุกอย่าง สมาชิกในหมู่จะปรึกษาหารือกันและทำงานร่วมกัน

การฝึกอบรมลูกเสือเป็นขบวนการศึกษานอกแบบ เน้นกิจกรรมกลางแจ้งและการเรียนโดยการปฏิบัติจริงเป็นหลัก ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ต้องการให้ทุกคนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น นอกจากนั้นในการฝึกอบรมแต่ครั้ง มีการเปิดประชุมกอง ซึ่งเป็นการฝึกระเบียบวินัย ให้มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีการเล่นเกม ร้องเพลง เล่าเรื่องที่มีคติ วิธีการดังกล่าวมีขั้นตอนระบุไว้ชัดเจน เป็นแบบฉบับเฉพาะของการสอนลูกเสือทกประเภท

การเยี่ยมหน่วยงานหรือสถาบัน

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อศึกษาหาความรู้ในหน้าที่ของพลเมืองโดยออกเยี่ยมหน่วยงานหรือสถาบันที่ไม่ผิดศีลธรรม และมีความสำคัญต่อชีวิตของชุมชนในท้องถิ่นโดยไปตามลำพัง กับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ด้วยกัน หรือผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้พาไป ก่อนการเดินทางควรมีการติดต่อประสานงานไว้ล่วงหน้าและลูกเสือที่ไปเยี่ยมไม่ควรเกิน 1 กอง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของเจ้าของสถานที่ สำหรับหน่วยงานที่ลูกเสือจะเดินทางไปเยี่ยมได้แก่ สำนักงานเทศบาล สถานีตำรวน สถานีตำรวนดับเพลิง โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานีวิทยุ สถานโทรทัศน์ ตลาด ท่าเรือ ที่ทำการไปรษณีย์ สำนักงานโทรคมนาคม สำนักงานหนังสือพิมพ์ ศาลยุติธรรม

การเลือกหน่วยงานที่จะไปเยี่ยมควรเป็นความเห็ยร่วมกันภายในหมู่และผู้กำกับลูกเสือ และเมื่อกลับมาแล้วให้นายหมู่เป็นผู้เขียนรายงานต่อผู้กำกับลูกเสือ การเดินทางไปเยี่ยมหน่วยงานอาจทำมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ใหักับลูกเสือและเมื่อกลับมาทุกครั้งให้ทำรายงานเช่นเดียวกับครั้งแรก

แบบรายงานการเยี่ยมหน่วยงาน / สถาบัน

ชื่อหน่วยงาน / สถาบัน……………………………….

วัน……….เดือน…………………….พ.ศ……………

หมู่…………………… ผู้ร่วม………………คน คือ

1…………………………… 2…………………….……..

3…………………………… 4……………………..…….

5…………………………… 6…………………………...

7…………………………… 8……………………………

ลักษณะการดำเนินงาน

งบประมาณ / รายได้

สัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น

ลงชื่อ………………………………..นายหมู่ลูกเสือ

ผู้รายงาน