ความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจกรรมเดินทางไกล

การเดินทางไกล หมายถึง การเดินทางของลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจากที่ตั้งหรือโรงเรียนไปยังจุดที่กำหนด โดยมีระยะทางที่กำหนดให้ การเดินทางไกลอาจจะเป็นการเดินทางด้วยเท้า จักรยานหรือเรือพายก็ได้ การเดินทางจะเดินทางคนเดียวหรือเป็นหมู่คณะก็ได้ การเดินทางไกลของลูกเสือ-เนตรนารี จะต้องเดินทางไกลด้วยเท้าหรือทางเรือด้วยความสามารถของตนเอง เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจึงต้องเลือกเดินทางไกลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง การเดินทางไกลระยะทาง 20 กิโลเมตรนี้เป็นระยะทางที่ไกลพอสมควรสำหรับลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ จึงจำเป็นจะต้องเตรียมตัวในการเดินทางให้พร้อม

การรักษาอนามัยส่วนบุคคล ในการเดินทางไกลลูกเสือนั้นควรมีอนามัยทีดีควรดูเเลตัวเองเสมอ เพราะร่างกายจะหมักหมม เหงื่อไคล เสื้อผ้า ถุงเท้า ทำให้เกิดกลิ่นอับชื้น

1)หากพึ่งเดินทางมาไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน ควรพักเหนื่อยก่อน ให้ร่างกายได้ปรับสมดุลเสียก่อน

2)ควรรับประทานอาหารอย่างปลอดภัยปรุงอาหารให้ถูกต้อง

3)เสื้อผ้าที่เปียก หรือ ชื้น ควรนำไปตาก

4)ทุกครั้งที่ไม่ได้ทำกิจกรรมควรถอดภุงเท้าเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นอับชื้น

5)ชุดชั้นในไม่ควรใส่เเบบเปียกชื้น

6)ภายในเตนท์ควรเปิดอากาศให้ถ่ายเท

7)สำหรับผู้มีโรคประจำตัว ควรพกยาประจำตัวไปด้วย

8)ควรดูเเลตัวเองเสมอ

ก. การเดินทางไกลโดยเท้า

1. ถ้าเป็นถนนใหญ่ที่มีทางเท้า ให้เดินบนทางเท้า

2. ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้ถนนที่มีการจราจรคับคั่ง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้เดินเรียงเดี่ยวชิดขอบทางด้านขวามือเป็นระบบหมู่ แต่ละหมู่ห่างกันพอสมควร

3. ไม่ควรเดินตามทางรถไฟ

4. ถ้าจำเป็นต้องเดินข้ามถนนหรือทางรถไฟ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

5. ถ้าเดินทางในเวลากลางคืนต้องมีคบไฟ หรือไฟฉายประจำหมู่ เพื่อเป็นที่สังเกตของผู้ขับขี่ยวดยาน และให้ความสว่างในขณะเดิน

6. ไม่ควรสวมรองเท้าที่เพิ่งซื้อใหม่ๆ หรือรองเท้าที่คับหรือหลวมจนเกินไป

7. ควรระมัดระวังสัตว์เลี้ยงบางชนิด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเราได้ เช่น สุนัข วัว ควาย ช้าง เป็นต้น

8. ถ้าเส้นทางที่เดินต้องผ่านป่าหรือทุ่งนา ลูกเสือควรสังเกตพื้นเพื่อป้องกันสัตว์มีพิษ และสังเกตทิศทางเพื่อป้องกันการหลงทาง

9. ควรมีไม้ง่ามซึ่งเป็นอาวุธประจำตัวไปด้วยทุกครั้ง

ข. การเดินทางโดยรถยนต์ หรือรถโดยสาร

1. อย่ายื่นอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดออกนอกรถ

2. การลงรถให้ลงทางด้านซ้าย

3. ถ้าจะข้ามถนนต้องระวังเป็นพิเศษ

4. อย่ายืนหรือนั่งบนบันไดรถ

5. อย่าชักชวนผู้ขัยคุย หรืออย่าส่งสิ่งของให้ผู้ขับรถ

6. อย่าขึ้นหรือลงรถ ก่อนรถหยุด

ค. การเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยาน

1. ถ้ามีถนนที่มีไหล่ทางสำหรับขี่จักรยานหรือจักรยานยนต์ ให้ขี่บนเส้นทางที่เขากำหนดให้

2. ขี่รถเรียงเดี่ยว อย่าขี่แซงหรือซ้อนคันกัน

3. อย่างเล่นกันในขณะขับขี่รถ

4. ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

5. ถ้ารถเสียไม่สามารถขับขี่ต่อไปได้ ให้นำรถออกไปซ่อมนอกทางวิ่ง

6. เมื่อเหนื่อยและต้องการพัก ให้จอดรถพ้นเส้นทางเดินรถ เพื่อจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร

ง. การเดินทางโดยเรือ

1. อย่านั่งห้อยเท้า หรือยื่นแขนออกนอกกาบเรือ

2. อย่านั่งบนราว หรือลูกกรงเรือหรือกาบเรือ

3. อย่าใช้อุปกรณ์ หรือชะโงกหน้าไปตักน้ำหรือวิดน้ำเล่น

4. ถ้านั่งอยู่ด้านหน้า อย่าทิ้งเศษอาหารหรือบ้วนน้ำลาย

5. อย่าโหนหรือเหนี่ยวลูกกรงเรือ

6. อย่าขึ้นเรือที่บรรทุกเกินอัตรา

7. อย่าถอดเสื้อให้ลมโกรก อาจไม่สบายได้

8. ต้องเชื่อฟังผู้ดูแลรับผิดชอบ