ศัพท์ทางการศึกษา


"ชื่อเรียกตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูไทย "

 

เรียบเรียงและแปลโดย ดร. จันทร์พา ทัดภูธร

เรียบเรียงค้นคว้ามาแชร์เป็นวิทยาทานครับ

 

เคยสังสัยไหมครับว่า ค.ส. ย่อมาจากคำว่าอะไร และครู ค.ศ. 3 จะแปลเป็นภาอังกฤาว่าอย่างไร

และ พนักงานราชการ ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า "Government Employee" ใช่หรือไม่

อยากรู้ ลองอ่านต่อสิครับ

 

ลองอ่านที่ผมค้นคว้า/เรียบเรียงมาสิครับแล้วจะกระจ่าง มากขึ้น

 

ผมอ้างอิงจากแหล่ง 3 แหล่ง คือ

 

1.    ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

2.    ตามการระบุถึงใน พรบ. เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุลลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

3.    พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557

 

ตามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551นั้น ได้มีการระบุถึงตำแหน่งของข้าราชการที่ทำงานสายวิชาการ (Knowledge Worker Positions) เอาไว้พอสมควร ทว่าในส่วนของข้าราชการครูนั้น เราควรยึดเอาตาม พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 นะครับ

 

คำว่า  ค.ศ. คือ คำย่อของ "ครูและบุคลากรทางการศึกษา" ตาม พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557  (Government Teachers and Education Personnel  Act B.E. 2547 )

 

เข้าเรื่องเลยนะครับ

 

ครูอัตราจ้าง (Contract Teachers)

ครูผู้ช่วย (Assistant Teachers)

ครู ค.ศ 1 (Practitioner Level) หรือ ครูระดับปฏิบัติการ (K 1 Teachers)

ครูชำนาญการ (ค.ศ. 2) Professional Level Teachers (K 2 Teachers)

ครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ. 3) Senior Professional Level Teachers (K 3 Teachers)

ครูเชี่ยวชาญ (ค.ศ. 4) Expert Level Teachers (K 4 Teachers)

ครูเชียวชาญพิเศษ (ค.ศ. 5) Advisory Level Teachers (K 5 Teachers)

 

ส่วน พนักงานราชการ ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับคำแปลที่ว่า เป็น "government employee"

Would you like to be a government employee?

 

ส่วนครูผู้ช่วยคือ ครูประเภทหนึ่งครับ ผมและหลาย ๆ คน ขอแปลว่า assistant teacher

ซึ่งจะแตกต่างจาก คำว่า teaching assistant หรือ teacher's aide (TA) บางครั้งฝรั่งจะใช้คำว่า education assistant (EA) แปลง่าย ๆ ว่า ผู้ช่วยครู ครับ ยังไม่ได้เป็นครู