EDUCA2015

สรุปสาระสำคัญจากการเข้าร่วมงาน EDUCA 2015



วันที่ 14 ตุลาคม 2558

โดย ดร. จันทร์พา ทัดภูธร

***

ผมได้รับเชิญจาก organizer ของงาน EDUCA 2015 คือ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ให้เข้าร่วมงานวันเปิดการประชุม คือวันที่ 14 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ผมไม่มีคุมสอบจึงถือโอกาสไปเปิดหูเปิดตา ดูความเคลื่อนไหวทางการศึกษาของไทย หลังจากได้เข้าร่วมงานล้ว ได้เขียนรายงานนี้ขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และนำความรู้ที่ได้ แนวคิดใหม่ๆ มาแบ่งปันกัน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รายงานมีรายละเอียดดังนี้

 1.     ข้อมูลการจัดงาน EDUCA 2015

 EDUCA คืออะไร คำตอบง่าย ๆ คือ งานช้างของวงการศึกษาไทยในระดับพื้นฐาน (Basic Education)

กลุ่มผุ้จัดเรียกงาน EDUCA  ว่าเป็น งานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู จัดเป็นครั้งที่ 8 แล้ว โดย ปิโก ร่วมกับหน่วยงานของรัฐฯ ต่างๆ เช่น สพฐ. คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำหน้าที่เป็นเวทีเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง ลักษณะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในรูปแบบของ PPP หรือ Public Private Partnership

 PICO จัดงานมาตั้งแต่ปี 2007 โดยในปีแรกมีครูเข้าร่วมงานประมาณ 10,000 ท่านและเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน เมื่อปี 2014 นับเป็นการเติบโตที่ต่อเนื่องและยั่งยืนจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อคุณภาพครูและคุณภาพการศึกษาของประเทศ

 จุดเด่นของงานคือ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเป็นหุ้นส่วนของกันและกัน (partnership) ขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ปีนี้งานมีความคึกคักเป็นพิเศษ อาจจะเนื่องจากผู้ใหญ่ของกระทรวงเสมามาเปิดงานและมี First lady ของไทยอย่าง ศ. นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมประเทศไทยกับการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม มาเป็น Speaker ด้วย ดังนั้น ในปี 2015 นี้ก็เช่นกันคาดมีครู และบุคลากรทางการศึก่ษาเข้าร่วมงานหลายหมื่นคน

 

เท่าที่สังเกตดู การจัดงานมีความเป็นมืออาชีพมาก มีระบบการจัดการที่ดี เห็นได้จากการที่คณะผู้จัดสามารถกำหนด Theme และวัน และสถานที่ของการจัดงานในปี 2016 เอาไว้แล้วคือ 12-14 ตุลาคม 2016 Theme คือ “ Schools as Learning Communities”

 

 ภาษาที่ใช้ในการประชุมคือภาษาอังกฤษครับ 

2.     โปรแกรมวันที่ 14 ตุลาคม 2515

ผมเข้าร่วมงานในวันแรกเท่านั้นคือ 14 ตุลาคม 2015 ขอนำแผ่นพับของงานมาอธิบายโปรแกรมของงานครับ

ที่มา http://www.educathai.com/page_conference.php?id=14

 

3.     สรุปสาระสำคัญจากการเข้าร่วมการสัมมนา

 

 

1

Professor Mick Waters, Professor of Education, Wolverhampton University, UK 


หัวข้อ “Securing Learning That Matters” หรือ สอนอย่างไรเพื่อให้เด็กเรียนรู้

Professor  Waters  ย้ำว่า การเรียนรู้ของเด็กนั้นมีความหมาย มีสิ่งที่น่าเรียนรู้และค้นหา อย่าพยายามยัดเยียดการสอบให้กับเด็ก ท่านได้วิจารณ์การสอบ PISA ว่าเหมือนการ Putting the students into the hoop หรือ ตัดโอกาสการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ของเด็ก ตีกรอบเขาให้แคบลง ครูควราสนับสนุน ช่วยเหลือเด็กให้เขาได้เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ท่านย้ำว่า learning นั้นสำคัญกว่า teaching

2

Dr. Stanley Sai Mun Ho, Principal, Lok  Sin Tong Wong Chung Ming Secondary School, HONG KONG

 

หัวข้อ School Reform with Lasting Impact - Energizing Students to become Self-Regulated Learners หรือ ปฎิรูปโรงเรียน ด้วยพลังการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง

 

Dr. Ho มีประสบการณ์สูงในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา เริ่มต้นด้วยแนวคิดที่ว่าศตวรรษที่ 21 ได้ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามผลของการปฏิรูปการศึกษาในหลายประเทศยังไม่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ของเด็ก ท่านเน้นว่า การปฎิรูปการศึกษา ปฎิรูปการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็น

Dr. Ho  ย้ำว่า การปฏิรูปการศึกษาที่จะสร้างอนาคตให้กับสังคมและประเทศได้นั้น สิ่งสำคัญและจำเป็นที่สุดคือต้องปฏิรูปการเรียนรู้ในห้องเรียน และการปฏิรูปการเรียนรู้ในห้องเรียนจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราต้องสร้างพลังการเรียนรู้ให้กับเด็กด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง (self-regulated learning) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาเด็กแบบองค์รวม ครูมีส่วนในการสร้างพลังให้กับเด็ก (energize) แต่ครูเองก็ต้องมีความพร้อม

3

Assistant Professor Dr. Eisuke Saito, Curriculum, Teaching & Learning Academic Group, National Institute of Education, SINGAPORE

 

หัวข้อ “Lesson Study for Learning Community – An Approach to School Reform”

หรือ การศึกษาชั้นเรียนเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ - แนวทางเพื่อการปฎิรูปโรงเรียน

การศึกษาชั้นเรียนเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หรือ Lesson Study for Learning Community  คือแนวคิดใหม่ของการศึกษาชั้นเรียนซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสามวิสัยทัศน์ สามปรัชญาและสามโครงสร้างกิจกรรม กล่าวคือ ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) นั้น การศึกษาชั้นเรียนเพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ต้องให้โอกาสผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน ให้โอกาสครูทุกคนได้พัฒนาเป็นครูมืออาชีพ ให้โอกาสสังคม ชุมชน พ่อแม ผู้ปกครองมีส่วนร่วมสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาเพื่อนักเรียน ด้านปรัชญา (Philosophy) ประกอบด้วยครูต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวการสอนกับเพื่อนครูเพื่อให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Spaces) เพื่อการเรียนรู้ ทุกคนคือตัวเอกของโรงเรียน นักเรียนได้รับโอกาสเท่าเทียมและมีความเป็นอยู่ที่ดี และเน้นความเป็นเลิศเนื่องจากการเรียนเป็นกิจกรรมที่สำคัญและไม่สามารถทำแบบขอไปทีได้ Dr. Saito กล่าวว่านักเรียนต้องมีส่วนร่วมในคุณค่านี้ ด้านโครงสร้างกิจกรรม การศึกษาชั้นเรียนเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพร่วมกันผ่านการสังเกต การสะท้อนคิดร่วมกันเรื่องการวิจัยในรูปแบบการศึกษาชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและพ่อแม่ผู้ปกครองในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งการที่จะมีโครงสร้างกิจกรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือในลักษณะนี้ได้นั้นต้องสร้างความสัมพันธ์และการพูดคุยร่วมกันกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง กล่าวโดยสรุป ทำโรงเรียนและชั้นเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการปฎีรูปการศึกษาควรลงมาถึงชั้นเรียนและโรงเรียนอย่างแท้จริง

 

4

Professor Leena Krokfors, Vice Dean Academic & International Affairs, University of Helsinki, FINLAND

หัวข้อ “Quality and Successful Schooling - Challenges and the Future of Comprehensive Schools in Finland

การจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ - ตัวอย่างความท้าทายและอนาคตของโรงเรียนในประเทศฟินแลนด์

 

Professor Leena Krokfors  เริ่มต้นด้วยการพูดถึงความสำเร็จของนักเรียนฟินแลนด์ในการทดสอบระดับนานาชาติ(PISA) และว่าความสำเร็จดังกล่าวสร้างความสนใจให้กับนานาประเทศและต่างก็ต้องการคำอธิบายถึงเหตุผลของความสำเร็จนี้ ท่านบอกว่าเหตุผลหนึ่งคือระบบโรงเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพซึ่งเอื้ออำนวยและสนับสนุนการเรียนรู้  แน่นอนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา ท่านย้ำว่าระบบการศึกษาในฟินแลนด์ตั้งอยู่บนความเท่าเทียม ความร่วมมือ ความรับผิดชอบ พันธะสัญญาร่วมกัน และความเชื่อถือไว้วางใจในทุกระดับชั้น ดังจะเห็นได้จากการที่ฟินแลนด์ไม่มีการทดสอบเพื่อวัดระดับ ไม่มีการจัดอันดับโรงเรียน (ranking)  หรือไม่มีระบบตรวจสอบโรงเรียน (Inspectorate)   โรงเรียนและครูมีอำนาจหน้าที่ในการประเมินตนเองและประเมินนักเรียน Professor Leena Krokfors   บอกว่า ครูที่ฟินแลนด์มีความเป็นมืออาชีพสุง มีสมิทธิทางวิชาชีพครูสูง ที่น่าสนใจคือการที่ครูมีสิทธิในการเลือกใช้ตำราเรียนเอง ท่านบอกว่าที่นั่น ตำรามีข้อจำกัด และไม่ได้มองว่าตำราจะแก้ปัญหาได้ ตำราเป็นเพียงการตีความของหลักสูตรโดยครู อีกประการหนึ่งคือท่านบอกว่า แก่นของระบบโรงเรียนของฟินแลนด์ก็คือไม่ขั้นอยู่กับการแข่งขัน แต่เป็นการร่วมมือ (collaboration) ไม่เน้นการวางมาตรฐานเดียว

5

Professor Jyrki Loima, Ph.D

Visiting Professor, Faculty of Education, Chulalongkorn University, THAILAND

 

To Motivate Learners in Thailand: Research on What Works

การสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนในประเทศไทย – การวิจัยเพื่อค้นหาวิธีการที่สัมฤทธิ์ผล

Professor Jyrki Loima  ชื่ออ่านยากนิดหน่อย ครับ นำเสนอโครงการวิจัยระดับนานาชาติจำนวน 2 โครงการได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องแรงจูงใจและการเรียนรู้ของนักเรียนไทยระหว่างปี 2556-2558 ปาฐกถาพิเศษนี้จะนำเสนอแนวโน้มและปัจจัยหลักของแรงจูงใจในกลุ่มนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์การออกแบบการสอนที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และการสอนที่บั่นทอนแรงจูงใจของนักเรียน ข้อมูลและสถิติเพื่อใช้ในการวิจัยรวบรวมและเก็บข้อมูลโดยศาสตราจารย์ ลอยม่า และดร. วิบูลผล คณะครุศาสตร์ จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Professor Jyrki Loima บอกเราว่าแรงจูงใจของเด็ก ม. 3 ของไทยต่ำ หรือ บานกลาง ครูต้องปฎิรูปการสอน นำสิ่งใหม่ ๆ ไปให้เด็กได้เรียนรู้ รู้จักเด็กนัดเรียน ต้องรู้ลึกและทั่วถึง ต้องสร้างความรู้สึกถึงบรรยาการแห่งการเรียนรู้ Professor Jyrki Loima ย้ำว่า การบังคับ ใช้วินัยทำให้เด็กเงียบ เชื่อฟัง ไม่เป็นผลดีต่อแรงจูงใจของเด็ก

ข้อค้นพบที่มีผู้สงสัยมากคือ ข้อค้นพบที่ว่า นักเรียนของโรงเรียนขนาดกลาง หรือประมาณ 1500 คน มีนักเรียนที่มีแรงจูงใจต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับขนาดเล็กและใหญ่ 

 

 

6

Ellen Moir, Founder and Chief Executive Officer, The New Teacher Center, USA.

 

หัวข้อ “The Successful Approaches of New Teacher Induction”  (Presented in Video Record)

กระบวนการพัฒนาครูใหม่สู่ความเป็นครูมืออาชีพ (นำเสนอโดยวิดิทัศน์)

นำเสนอโดยวิดิทัศน์ โดย  Ellen Moir จาก อเมริกา ท่านย้ำให้เห็นถึงปัญหาการฝึกหัดครูและการสอนงานครุมือใหม่ ว่าต้องทำอย่างเป็นระบบ ไม่ใช้ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ท่านบอกว่าครูเก่งไม่ได้เป็นตั้งแต่เกิด หากแต่เป็นได้ด้วยการพัฒนา ปาฐกถาพิเศษนี้ เอลเลน มัวร์  ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารศูนย์ฝึกอบรมครูใหม่จะนำเสนอโครงสร้างระบบ แนวทางการปฏิบัติที่ดี และแนวคิดที่นอกจากจะช่วยให้ครูใหม่พัฒนาสู่ครูมืออาชีพแล้วยังช่วยผลักดันส่งเสริมให้ครูต้องการเรียนรู้ตลอดอาชีพของตน Ellen Moir เน้นว่า Teacher mentor หรือ ครูพี่เลี้ยงนั้นสำคัญในกระบวนการ Induction หรือ ฝึกครูใหม่ ซึ่งการช่วยเหลือกันและกันของครุจะเกิดประโยชนืกั้งผู้ให้และผู้รับ

 

 

7

รศ. นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

 “Distance Learning for Equity and Equality in Education – Thailand Successful Improvement” หรือ ประเทศไทยกับการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม

 

ปาฐกถาพิเศษนี้ รศ. นราพร จันทร์โอชา นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนและทั่วถึง ผ่านโครงการสอนผ่านโทรทัศน์ เรียกว่า TLTV ที่ท่านทำมา 8-9 ปี โดยมีเครือข่าวกว่า 15690 โรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก ท่านบอกว่า การปิด/ยุบ โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน การขนนักเรียนไปเรียนโรงเรียนใกล้เคียงมีความเสี่ยงสูง ทางแก้ หนึ่งทางที่ดีคือ การพึ่งพา “ ครูตู้ “ ที่ผ่านมาประเมินผลการใช้พบว่าได้ผลดี ในปีนี้ 2015 ทางมูลนิธิฯ ได้ร่วมกับ สพฐ. จัดการนำเสนอเนื้อหา สอนผานไอซีที หรือ Internet จากการไปดูเว็บไซต์ของ มูลนิธิ ยังพบว่า ปัจจุบัน มีการนำเสนอผ่าน Application บนมือถือแล้ว “DLTV On Mobile”

 ภาพแสดงบรรยากาศ

Official Opening Ceremony of EDUCA 2015

EDUCA : 2015 Questions & Answers for Morning Keynote Session