မြန်မာဘာသာ

Burmese is one of the Asean languages. It is similar to Thai and Khmer in its scripts. It belongs to the Tibetan group.

If you want to learn to speak the language, you should learn it from a teacher. Find a qualified teacher and ask for him/her to be your master. I believe that this is the best way to acquire the language. If you can't find a master, then you need to rely on the Internet or books. Yes, you can learn it by yourself.

You must bear in mind that Burmese is a living language spoken by real human beings. Another way to learn is to go and spend a few years in Myanmar. When you are in the social setting, you will gradually pick up the language. This is another good way to acquire the language.

What you should know about the language is the vocabulary and its syntax. You need to learn as many words as possible. When it comes to the syntax or word-order system, you must be patient, as Burmese is similar to Pali or Sanskrit in its syntax and verb use.

  

Consonants

There are 33 of them.

Vowels

Burmese has 4 tones.

Numbers

"ชนิดของคำในภาษาเมียนมา"

(Parts of Speech in the Myanmar Language"

โดย จันทร์พา ทัดภูธร

ทุกภาษามีการแบ่งคำออกเป็นส่วน ๆ เช่นภาษาอังกฤษ เราแบ่งออกเป็น 7 ชนิด

เช่น noun คือ คำนาม Verb คือ คำกริยา เป็นต้น

สำหรับภาษาเมียนมา นั้น ก็เช่นเดียวกัน ปราชญ์ เมียนมา โดย Myanmar Language Commission (เมียนมาซาอปอย) หากเทียบกับของไทยก็คือ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา นั่นเอง

อนึ่ง คำว่า ชนิดของคำ ในภาษาเมียนมาคือ วาซิงคะ มาจากคำว่า วาจก หรือ วาจา แปลว่าคำพูด (Speech) และ อิงคะ แปลว่า สว่น (parts)

สำนักงานคณะกรรมการภาษาเมียนมา หรือ Myanmar Language Commission (เมียนมาซาอปอย) ได้แบ่งชนิดของคำออกเป็น 9 ชนิด

กล่าวคือ ในปี ค.ศ 1980 Myanmar Language Commission ได้ประกาศรับรองการแบ่งคำ ออกเป็น 9 ประเภท คือ

1. คำนาม (nouns)

2. คำสรรพนาม ( pronouns)

3. คำคุณศัพท์ (adjectives)

4. คำกริยา (verbs)

5. คำกริยาวิเศษณ์ (adverbs)

6. คำวิภัตติ ( postpositional markers)

7. คำอุปสรรค-ปัจจัย (particles)

8. คำสันธาน (conjunctions) และ

9. คำอุทาน (interjections).

จะสังเกตได้ว่า ภาษาเมียนมา มีลักษณะทางไวยากรณ์ หรือ ตัดดา Grammar ในภาษาอังกฤษ คล้ายคลึงกับภาษาบาลีมาก ที่เห็นได้ชัดเจน คือ โครงสร้างประโยค แบบ

ประธาน + กรรม + กริยา

เช่น

ดอ มะมะเอ (ป้ามะมะเอ) ทมิน (ข้าว) ซา (กิน) เน แด่ (กำลัง).

ป้ามะมะเอกำลังกินข้าว

และเป็น ภาษาที่มี มีวิภัตติปัจจัย (Inflectional features) เช่นเดียวกับ ภาษาบาลี และญี่ปุ่น

หากเทียบกับภาษาญี่ปุ่น เราจะพบความว่าคล้าย ๆ กัน

Akina jang (หนููอะกินะ) gohan (ข้าว) o tabete imasu (กำลังกินอยู่).

หนูอะกินะ กำลังทานข้าว

จะขอพูดถึงเฉพาะ วิภัตติและปัจจัย

คำวิภัตติ ( postpositional markers)

กิน - ซา + แด คำว่า แด หรือ ดี เป็น วิภัตติ ชนิดหนึ่ง

โก บอก กรรม - เช่น จะหน่อโดะ ยะเนะ บะโก โก ตัว แลแม่.

วันนี้ เราจะไปหงสาวดี

จากประโยคต่อไปนี้เราจะพบ การใช้วิภาตติ 2 คำ คือ หา่ และ เปาะ

มะเนะเปี่ยน ห่า ตะนิงกะนวนเนะ เปาะ. 

พรุ่งนี้ นั้น คือวันอาทิตย์ (แน่นอนอยู่แล้ว)

เปาะ - แสดงความแน่นอน 

ห่า คือ วิภัตติแสดง นาม แปลเป็นไทย คือ นั้น

คำอุปสรรค-ปัจจัย (particles) เราจะมีความคุ้นเคยมากกว่า เพราะเราเห็นประจำในภาษาบาลีในภาษาไทย

การศึกษา ในภาษาเมียนมา คือ ปัญญาเยะ มาจาก ปัญญา + เย + ปัญญา

ปัญญาเยหวุ่นจีฐานะ คือ กระทรวงศึกษาธิการ

แหง่ตอ คือ คำคุณศัพท์ แปลว่า เล็ก หากเติมอุสรรค อะ จะเป็นคำนาม

เช่น อะ + แหง่ เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งของหรือ คน ที่เล็ก ๆ

ไนแง่ง + เย แปลว่า การเมือง 

ไนแง่ง แปลว่า ประเทศ / เมือง

Like   Comment   Share