บทเรียนดวงยามอัฏฐกาล

... สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานในโหราศาสตร์ ...

... ดวงที่เห็นด้านบนนี้เป็นดวงยามกาลชาตาตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ ถึง ๒๒.๓๐ น.ในวันอาทิตย์ ...

... ผมต้องขออธิบายเรื่องยามเวลาก่อนกล่าวคิอ ...

... ใน ๑ วันมี ๑๖ ยาม

... แบ่งเป็นยามกลางวันทั้งหมด ๘ ยาม ... โดยแบ่งเป็นยามละหนึ่งช.ม.ครึ่ง ...

... และยามกลางคืนทั้งหมด ๘ ยาม ... โดยแบ่งเป็นยามละหนึ่งช.ม.ครึ่งเช่นกัน ...

...จัดเป็นสูตรยามกลางวันได้ดังนี้คือ ...

วันอาทิตย์ ๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ ๑

วันจันทร์ ๒ ๗ ๕ ๓ ๑ ๖ ๔ ๒

วันอังคาร ๓ ๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓

วันพุธ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ ๑ ๖ ๔

วันพฤหัส ๕ ๓ ๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕

วันศุกร์ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ ๑ ๖

วันเสาร์ ๗ ๕ ๓ ๑ ๖ ๔ ๒ ๗

... ผมจะขออธิบายการแบ่งยามในวันอาทิตย์ ...

ยามที่ ๑ เป็นยามดาวอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น.ถึง ๑๙.๓๐ น.เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

ยามที่ ๒ เป็นยามดาวศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๑ น.ถึง ๒๑.๐๐ น.เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

ยามที่ ๓ เป็นยามดาวพุธ ตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๑ น.ถึง ๒๒.๓๐ น.เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

ยามที่ ๔ เป็นยามดาวจันทร์ ตั้งแต่เวลา ๒๒.๓๑ น.ถึง ๒๔.๐๐ น.เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

ยามที่ ๕ เป็นยามดาวเสาร์ ตั้งแต่เวลา ๒๔.๐๑ น.ถึง ๐๑.๓๐ น.เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

ยามที่ ๖ เป็นยามดาวพฤหัส ตั้งแต่เวลา ๐๑.๓๑ น.ถึง ๐๓.๐๐ น.เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

ยามที่ ๗ เป็นยามดาวอังคาร ตั้งแต่เวลา ๐๓.๐๑ น.ถึง ๐๔.๓๐ น. เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

ยามที่ ๘ เป็นยามดาวอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๑ น.ถึง ๐๖.๐๐ น.เป็นเวลาหนึ่งช.ม.ครึ่ง

... สังเกตุดูดีๆจะเห็นได้ว่ายามที่ ๑ กับยามที่ ๘ ของทุกวันจะเหมือนกัน ... ในทุกวัน ...

... อีกประการหนึ่งก็คือ...ถ้าท่องหัวใจยามวันอาทิตย์ได้ก็สามารถรู้ยามในวันต่อไปได้โดยอัตโนมัติ ...

... ส่วนในวันอื่นๆก็ใช้ดาวประจำวันเป็นตัวตั้งต่อไป ...

... หัวใจยามกลางวันคือ...๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ ๑

... จัดเป็นสูตรยามกลางคืนได้ดังนี้คือ ...

วันอาทิคย์ ๑ ๕ ๒ ๖ ๓ ๗ ๔ ๑

วันจันทร์ ๒ ๖ ๓ ๗ ๔ ๑ ๕ ๒

วันอังคาร ๓ ๗ ๔ ๑ ๕ ๒ ๖ ๓

วันพุธ ๔ ๑ ๕ ๒ ๖ ๓ ๗ ๔

วันพฤหัส ๕ ๒ ๖ ๓ ๗ ๔ ๑ ๕

วันศุกร์ ๖ ๓ ๗ ๔ ๑ ๕ ๒ ๖

วันเสาร์ ๗ ๔ ๑ ๕ ๒ ๖ ๓ ๗

... แบ่งยามกลางคืนเป็นเหมือนยามกลางวันทุกประการ ...

... หัวใจยามกลางคืนคือ ... ๑ ๕ ๒ ๖ ๓ ๗ ๔ ๑

... เมื่อคืนวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ผ่านมาผมนั่งเล่นอยู่บนบ้าน...ทันใดนั้นผมก็ได้บินเสียงระเบิดดังกึกก้อง

ขึ้นมาอย่างฉับพลัน ... ก้มมองดูนาฬิกาเป็นเวลา ๒๑.๓๕ น.ตกยามที่ ๓ เป็นยามดาวจันทร์ ... ซึ่งจากลัคนาโลกตกเป็น ...

เรือนพันธุ ... ความหมายถึง บ้าน รถยนต์ ที่ดิน ... ดังนั้นเสียงระเบิดที่ได้ยินนั้น ... ย่อมเกิดมาจากรถยนต์ยางแตกทันที ...

ผมรีบหยิบฉวยดินสอแล้วรีบเขียนดวงยามในวันนั้นขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ... [ เป็นดวงยามตามด้านบนสุดที่ลงไว้ ] ...

... ผมขออธิบายอีกซักเล็กน้อยคือ ... เวลาในตอนนี้เป็นยามที่ ๓ ของวันอาทิตย์กลางคืน...คือหนึ่งช.ม.ครึ่ง ... ใน ๑ ราศี ...

จุดเวลามีอยู่ ราศีละ ๗ นาที ๓๐วินาที จุดเวลาอยู่ไม่เกิน ๒๑.๓๗.๓๐ น.ตกราศีมีน ... ในตอนนั้นลัคนาอยู่ในราศีกรกฏ ...

เท่ากับอ่าน ...ได้ว่า ... ๑.ดาวพฤหัส - ศุภะ+อริ ตกพันธุ+พันธุ แปลได้ว่า ... เกิดปัญหากับสภาพความมั่นคงของรถยนต์ ...

๒. ดาวเสาร์-ปัตนิอุจจ์ ตกพันธุ แปลว่า ... อย่างฉับพลันและรุนแรงกับความมั่นคงของรถยนต์

๓. ราหูเจ้าเรือนมรณะตกปัตนิ แปลว่า ... เกิดความเสียหายอย่างจังๆหน้า

๔. ดาวอังคารเป็นอุจจ์เจ้าเรือนกัมมะ + ปุตตะตกปัตนิ แปลว่าเจ้าตัวที่กระทำเรื่องคือของมีคม [ตะปู] ยาว ๗ นิ้ว ...

[ อังคาร-ตะปู+ยาว-อยู่เรือนเสาร์-ยาวๆ ] อย่างไม่คาดคิด - ปัตนิ ...

๕. ดาวอาทิตย์กฤุมภะตกวินาศ+ตกตนุ+ปุตตะ แปลว่าความเสียหายที่้เกิดขึ้นกับคนขับรถ

...ได้ใจความรวมๆออกมาว่า ... ระหว่างการขับขี่ยวดยานอยู่นั้นรถได้ไปทับตะปูใหญ่ยาว ๗ นิ้ว เกิดระเบิดจากยางแตก ...

ทำให้รถทรงตัวไม่อยู่ ... ต้องเบรคและค่อยๆจอดรถลงในที่สุด ...โดยที่คนขับปลอดภัย ...

... ๒ ตรีโกณ๔ ได้คู่มิตรทำให้คนขับปลอดภัย ...

... ๓ กุม ๘ คู่ธาตุทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นมาอย่างไม่ทันได้คาดคิดมาก่อน ...

... ๓ ส่งกำลัง ๔ ไปที่เรือนกัมมะและส่งกำลัง ๘ ไปที่เรือนกฤุมภะ ... ซึ่งเจ้าเรือนกฤุมภะก็ไปตกเรือนวินาศและไปตกเริอน

ตนุและไปตกเรือนปุตตะในที่สุด ...

... ซึ่งเมื่อผมลงไปถามไถ่ผู้คนที่ประสบเหตุการณ์นี้ก็ตอบตามที่ผมได้กล่าวไปแล้วทั้งหมดทุกประการ ...

... [ที่เกิดเหตุมีการก่อสร้างอยู่] ...

...อนึ่งผู้ใดอยากจะศึกษาวิชานี้โดยตรงให้ไปซื้อหนังสือชื่อว่า "ตำราโหรทายหนู" เรียบเรียงโดยปรมาจารย์ ประทีป อัครา...

...น่าจะมีขายอยู่ที่หน้าวัดบวรนิเวศ...เรื่องราวที่ผมเขียนขึ้นมาเกิดมาจากความมหัศจรรย์ของตำราโหรทายหนูทั้งสิ้น...

... ผมจะคัดจากบางตอนจากตำรา " โหรทายหนู " มาให้อ่านกันดูนะครับ ...

... หลัก บริวาร อายุ เดช ศรี ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องใช้ในตำรานี้ เพราะหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ให้ความหมายได้ละเอียดสมบูรณ์พอแล้ว ...

ถ้านำเอาหลัก " ทักษา " มาใช้เพิ่มเข้าไปอีกก็จะทำให้ " มากเกินไป " จนกลายเป็นสับสน และในที่สุดก็เลอะ ...

... เรื่อง " เกินไป " ไม่ว่าจะมากเกินไปหรือน้อยเกินไปนับได้ว่า ไม่ดีทั้งนั้น แม้แต่การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาก็ยัง

ทรงสอนให้ถือหลักมัชฌิมาปฏิปทา ...

... อุทาหรณ์เรื่องนี้มีนิทานชวนคิดเล่าต่อกันมาอยู่เรื่องหนึ่งว่า ...

... ในสมัยหนึ่ง พระเจ้ากรุงจีนทรงจัดให้มีการเขียนภาพประกวดกันขึ้น ในการชิงชัยรอบสุดท้ายมีผู้ได้รับการคัดเลือก ให้เข้าแข่งขันเพียง

๒ คนเท่านั้น และภาพที่กำหนดให้เขียนเพื่อชิงความเป็นเลิศนั้นได้แก่ภาพ งูเห่า โดยให้เขียนบนผนังกำแพง ...

... เมื่อได้เวลาแช่งขัน นักเขียนคนที่หนึ่งก็เริ่มการเขียนขึ้นด้วยความรวดเร็ว ชำนาญ เมื่อเขาเขียนรูปงูเสร็จหมดทั้งตัว มองดูราวกับงูที่มี

ชีวิตจริงๆ นั้น นักเขียนคนที่สองเพิ่งจะเขียนได้แค่หัวงูเห่าเท่านั้นเอง ...

... เนื่องจากเวลาที่กำหนดไว้ให้ยังเหลืออีกมาก ประกอบกับความรำคาญที่จะต้องนั่งรออยู่เฉยๆ นักเขียนคนที่หนึ่งจึงหยิบเอาพู่กันมาแต่งนั่น

นิด เติมนี่หน่อย แต่งเพลินๆ เข้าก็เลยเติมขาเข้าไปเสียด้วยเพื่อจะให้ดูวิจิตรพิสดารมากขึ้น ...

... พอหมดเวลาแข่งขันคนที่สองก็เขียนเสร็จพอดี ...

... ในสายตาของผู้ที่มาชมการแข่งขันเขียนภาพประกวดนั้น เห็นอบ่างเดียวกันว่า ฝีมือของคนที่สองด้อยกว่าคนที่หนึ่ง แต่พระเจ้ากรุงจีนซึ่ง ...

ประทับเป็นประธานการแข่งขัน ได้ทรงตัดสินให้คนท ี่สองเป็นผู้ชนะด้วยเหตุผลว่า " เจ้าคนที่หนึ่งมัน "เก่งเกินไป " เพราะในโลกนี้ไม่มีงูเห่าที่

ไหนหรอกที่มีขา " ...

... " ตำราโหรทายหนู " นี้เป็นงูเห่าธรรมดา ๆ อาศัยหลักเกณฑ์ เท่าที่มีอยู่เลื้อยเอาก็พอแล้ว อย่าไปต่อแข้งต่อขาให้พิสดารมากเกินไปเลย ...

โทรเช็คราคาและหนังสือว่ามีพร้อมส่งหรือไม่

ที่ เขษมบรรณกิจ

โทร: 0-2221-1339,0-2224-7786-7

หากจะสั่งซื้อทางไปรษณีย์

โดยการโอนเงิน ผ่าน ธนาคาร กรุงไทย สาขา ถนนมหาไชย

ออมทรัพย์

ในนามเขษมบรรณกิจ หรือ นายเสริม เตชะเกษม

เลขที่ 158-002-023-2

แล้ว Fax สลิป พร้อม ที่อยู่ของท่าน และ

รายละเอียดหนังสือที่ท่านต้องการซื้อ

มายัง 02-22-44-363

(อย่ารีบ เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือที่ต้องการสั่งซื้อ

และ เบอร์โทรศัพท์ของท่านเอง)

ทางเราจะรีบจัดส่งให้(หากสั่งซื้อหนังสือค่าส่งเล่มละ 40 บาท)

...ผมได้คัดลอก ยามอัฏฐกาล ทั้งภาคกลางวัน และภาคกลางคืน และหัวใจยาม ทุกคนลองศึกษากันดูได้ครับ ... มีดังต่อไปนี้ ...

ยามอัฐกาล ได้แบ่งระยะเป็น ๒ ภาค คือ ภาคกลางวัน กับ ภาคกลางคืน แต่ละภาค มี ๘ ยาม แต่ละยามมีระยะเวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง

ยามกลางวัน

สุริชะ ๑ ๐๖.๐๑ – ๐๗.๓๐ น.

ศุกระ ๖ ๐๗.๓๑ – ๑๙.๐๐ น.

พุทธะ ๔ ๐๕.๐๑ – ๑๐.๓๐ น.

จันทรา ๒ ๑๐.๓๑ – ๑๒.๐๐ น.

เสารี ๗ ๑๒.๐๑ – ๑๓.๓๐ น.

ครู ๕ ๑๓.๓๑ – ๑๕.๐๐ น.

ภุมมะ ๓ ๑๕.๐๑ – ๑๖.๓๐ น.

สุริยะ ๑ ๑๖.๓๑ – ๑๘.๐๐ น.

ยามกลางคืน

ระวิ ๑ ๑๘.๐๑ – ๑๙.๓๐ น.

ชีโว ๕ ๑๙.๓๑ – ๒๑.๐๐ น.

ศะศิ ๒ ๒๑.๐๑ – ๒๒.๓๐ น.

ศุโกร ๖ ๒๒.๓๑ – ๒๔.๐๐ น.

ภุมโม ๓ ๒๔.๐๑ – ๐๑.๓๐ น.

โสโร ๗ ๐๑.๓๑ – ๐๓.๐๐ น.

พุทโธ ๔ ๐๓.๐๑ – ๐๔.๓๐ น.

ระวิ ๑ ๐๔.๓๑ – ๐๖.๐๐ น.

หมายเหตุ

๑. ชื่อของยาม จะเริ่มต้นด้วย ดาวประจำวันและจบลงด้วยดาวเดิม

๒. ยามกลางวัน เป็นระบบ + ๕ ถ้าเกิน ๗ เอา ๗ ลบ

ยามกลางคืน เป็นระบบ + ๔ ถ้าเกิน ๗ เอา ๗ ลบ ในแต่ละยาม แบ่งเป็น ๓ ตัว ต่อนาทีแรก = ยามต้น ต่อนาทีกลาง = ยามกลาง ต่อนาทีหลัง = ยามปลาย

๕ ดี ยามต้น (ปฐม)

๑ , ๒ ดี ยามกลาง (มัชฌิม) หรือ มัธยม

๓ , ๖ ดี ยามปลาย (อวสานต์ ) หรือ ปัจฉิม

๔ , ๗ ดี ทั้งยามกลาง และยามปลาย

การใช้ยามอัฐกาล ทำนาย เรื่องข่าว การเจ็บไข้ ของหาย การเดินทาง

ยาม ๑ , ๔ , ๗

ถามเรื่องที่ได้ยิน

เรื่องจริง เชื่อถือได้

ถามเจ็บไข้

๑ จะตาย

๔ จะตาย (รักษายาสมุนไพร มีโอกาสรอด)

๗ จะตาย หรือต้องรักษานานมาก

ถามของหาย

๑ จะได้คืน ของอยู่ที่สูง ใกล้กับสีแดง ๆ มีแสงสว่างแวววาว

๔ จะได้คือ อยู่แถวตู้เสื้อผ้า กองกระดาษ เครื่องมือสื่อสาร ในครัว หรือต้องถามหาจากคนในบ้าน อาจมีผู้เก็บไว้ให้

๗ จะได้คืน อยู่ที่มืด ๆ สีดำ ๆ ของสกปรก ท่อ ระบายน้ำ เตาไฟ ถ่าน ถังขยะ

การเดินทาง

ยามต้น

๑ เดินทางไกล จะมีเคราะห์ร้าย อันตราย

๔ เดินทางไกล จะมีเคราะห์ร้าย ติดขัดไปหมดทุกทาง

๗ เดินทางไกล จะมีเคราะห์ร้าย จะพบศัตรู จะเดือดร้อน

ยามกลาง

๑ เดินทางจะได้ลาภ

๔ เดินทางได้ลาภเงินทองจำนวนมาก พบปะเจรจาความใด ๆ ก็บรรลุผลด้วยดี

๗ เดินทางจะได้ลาภจำนวนมาก

ยามปลาย

๑ เดินทางไม่ดี จะมีเคราะห์ อันตราย

๔ เดินทางได้ลาภมากมาย เจรจาความกับผู้ใหญ่ก็สมประสงค์

๗ เดินทางได้ลาภ เงินทอง ของกำนัล

ตั้งดวงวันนี้ มายาม ๒ , ๕ พูดจริง ๕๐%

ยาม ๒ , ๕

ถามเรื่องที่ได้ยิน

๒ จริงครึ่ง เท็จครึ่ง พูดด้วยอารมณ์อ่อนไหว มีจริต มารยา พูดกลับไปกลับมา

๕ จริงครึ่ง เท็จครึ่ง อย่าพึ่งเชื่อ ...

ถามเจ็บไข้

๒ , ๕ เป็น ๆ หาย ๆ รักษาไม่หายขาด เป็นตาย เท่ากัน ...

ถามของหาย

๒ อยู่ในน้ำ ที่ชื่นแฉะ ได้คืนช้าหรือไม่ได้คืน

๕ จะได้คืน หรือไม่ได้เท่ากัน ๕๐-๕๐ อาจอยู่ใกล้ตู้ยา เครื่องมือแพทย์ ตำรา หนังสือใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ...

การเดินทาง

ยามต้น

๒ เดินทางไกล ให้ระวังจะประสบอุบัติเหตุ

๕ เดินทางไกลได้ลาภมากมาย มิตรนำลาภมาให้ พบปะผู้ใหญ่ให้คุณดีมาก ...

ยามกลาง

๒ เดินทางไกลได้ลาภ แต่ห้ามเดินทางเรือ จะเคราะห์ร้าย

๕ เดินทางไกลจะเสียผลประโยชน์ ติดขัด เจรจาความใด ๆไม่สำเร็จ ...

ยามปลาย

๒ ห้ามเดินทางไกล จะมีเคราะห์ภัย เสียทรัพย์

๕ เดินทางไกล จะเสียผลประโยชน์จำนวนมาก เจอศัตรู หมู่มาร

ตั้งดวงวันนี้ มายาม ๓ , ๖ พูดไม่หมด ...

ยาม ๓ , ๖

ถามเรื่องที่ได้ยิน

๓ , ๖ เรื่องไม่จริง เชื่อถือไม่ได้ ...

ถามเจ็บไข้

๓ จะหาย เป็นเร็ว หายเร็ว ไม่ตายง่าย

๖ จะหาย ได้เร็ว หรือช้า ขึ้นอยู่กับกำลังใจของคนไข้ ..

ถามของหาย

๓ ไม่ได้คืน อาจอยู่ใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้า ศาสตร์วุธ ของมีคม เครื่องมือต่าง ๆ

๖ ไม่ได้คืน อาจถูกเปลี่ยนเป็นเงิน หรือให้ต่อไปแล้ว เพราะสวยงาม (ลองหาดูในกระเป๋าสตางค์ โต๊ะเครื่องแป้ง ในห้องนอน เงินทอง ตามเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว ดูเผื่อฟลุ๊ค) ...

การเดินทาง

ยามต้น

๓ เดินทางไกลมีเคราะห์ร้าย ในด้านอุบัติเหตุ

๖ ห้ามเดินทางไกล จะมีเคราะห์ สูญเสียบุตร ภรรยา ...

ยามกลาง

๓ เดินทางไกล จะเกิดไฟไหม้ ถูกโจรปล้นทรัพย์สินเงินทองระหว่าง เดินทาง

๖ ห้ามเดินทางแม้จะได้ลาภมา ก็หมดไป หรือถูกจี้ปล้น ...

ยามปลาย

๓ เดินทางไกลได้ลาภเป็นเงินทองมากมาย พบมิตรระหว่างทาง จะคบกันไปได้นาน

๖ เดินทางไกลได้ลาภมากมายพบมิตร เพื่อนต่างเพศช่วยเหลือดี ...

ยามอัฐกาลนี้ในยามหนึ่ง ๆ เรายังสามารถแบ่งออกเป็น ๙ ฤกษ์ ๆ ละ ๑๐ นาที เรียกว่า ฤกษ์ราหูคันทรัพย์

ฤกษ์ที่ ๑ ทาษา = คนชั้นต่ำ กรรมการ ลูกจ้าง คนรับใช้ ใช้ในการหาลูกจ้าง ผู้ที่มียศตำแหน่งไม่สูงนัก

ฤกษ์ที่ ๒ คหปติ = พ่อค้า เศรษฐี ใช้ในการค้าขาย ติดต่อขอกู้ยืมเงินจากผู้มีฐานะดี

ฤกษ์ที่ ๓ โจรา = คนจรจัด พวกมิจฉาชีพ ใช้ทวงหนี้ หรือขอยืมเงิน บุกเข้าหาศัตรู

ฤกษ์ที่ ๔ เสนาปติ = ขุนนาง คนทำราชการ ข้าหลวง ใช้ติดต่อราชการ สมัครงาน สอบแข่งขัน

ฤกษ์ที่ ๕ กาลทัณฑ์ = ผู้คุมนักโทษ คนขี้คุก คนจัญไร ใช้เข้าเยี่ยมนักโทษ หามือปืนรับจ้าง สอบปากคำ

ฤกษ์ที่ ๖ กัลยาณ์ = คนมี สกุลดี มีจริยธรรมสูง เชื้อพระวงศ์ ใช้พบปะสังสรรค ติดต่อบุคคล เข้าหาผู้ใหญ่

ฤกษ์ที่ ๗ มหายักษ์ = คนอุบาทว์ คนใจโหดร้าย ฆาตกร คนทรงเจ้า ใช้ปลุกเศกเครื่องราง ทรงเจ้า รดน้ำมนต์

ฤกษ์ที่ ๘ ธนบดินทร์ = ผู้ปกครอง ผู้เป็นใหญ่ พระราชา ใช้เข้าเฝ้าเชื้อพระวงศ์ พบผู้เป็นใหญ่และเจ้านาย

ฤกษ์ที่ ๙ นักพรต = ผู้สงบ ผู้แสวงบุญ ผู้ไม่ทำบาป ใช้ถือศีล ทำบุญ สวดมนต์ ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์

...ยามอัฏฐกาล ...กลางวัน ...และกลางคืน ...

...แถม ฤกษ์ - งาม - ยาม - ดี ให้อีกชุดหนึ่งครับ ...

...วันนี้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ลองไปค้นคว้า ทบทวนหาความรู้กันเอง จะดีกว่า ... สวัสดี ...