Search this site
Embedded Files
Forest Lab
  • Home
  • บทความ
    • การทำไม้ไทยในอดีตช่วงปลายยุคสัมปทานป่าไม้ และช่วงต้นของการปิดป่าสัมปทาน
    • กางเกงป้องกันเลื่อยยนต์
    • การจำแนกพรรณไม้ด้วยภาพถ่ายใบไม้
    • เครื่องปลูกยูคาลิปตัส
    • เทคโนโลยีป่าไม้ ณ สาธารณรัฐเช็ก
    • พิพิธภัณฑ์ป่าไม้
    • Cellphone signal
    • การลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากเครื่องจักรกลในทางป่าไม้
    • สีของป่า ความสำคัญของผู้ปฏิบัติ
    • จุดรวมพลในอุทยานแห่งชาติ
    • โรงเรือนต้นไม้ขนาดใหญ่ในอิตาลี
    • AUSTROFOMA 2023
    • Nontri 3D
    • CO2 Timber transportation
    • "ป่า" ในภาษาต่างๆ
  • การทำไม้
    • การทำไม้ คือ
    • การทำไม้ในยุคต่างๆ
    • การล้มไม้
    • การชักลากไม้
    • การล้มไม้ยางพารา
    • การยกไม้ หรือ การขึ้นไม้
    • การขนส่งไม้ด้วยการล่องแพ
    • การขนส่งไม้ด้วยรถสาลี่
    • การขนส่งไม้ด้วยระบบราง
    • การขนส่งไม้ด้วยรถจอหนัง
    • การรวมกองไม้
    • CTL
  • เครื่องจักรกลป่าไม้
    • บทนำ
    • เครื่องจักรกลป่าไม้ คือ อะไร
    • Skidder
    • Harvester
    • Feller buncher
    • เครื่องมือลิดกิ่งต้นไม้
  • เทคโนโลยีในงานป่าไม้
    • GIS สำหรับงานด้านวิศวกรรมป่าไม้
    • แผนที่ออนไลน์
    • LINE Chatbot
    • GNSS ในงานป่าไม้
    • NCAPS
    • Harvest drone
    • DeLeaves
    • TLS Teak
    • Google apps
    • การเรียนรู้ป่าไม้รูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี VR
    • การใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ภาคพื้นดินเพื่อประเมินปริมาตรไม้สักอย่างแม่นยำ
    • LiDAR แบบภาคพื้นดิน กับการวัดความโตต้นยูคาลิปตัส
  • LiDAR ในงานป่าไม้
    • LiDAR in Forestry
    • ข้อมูล 2D และข้อมูล 3D
    • CloudCompare
    • CloudCompare Segment
  • About us
Forest Lab

https://www.facebook.com/ForestLab.th

การยกไม้ หรือ การขึ้นไม้

ในอุตสาหกรรมไม้ การยกไม้ หรือการขึ้นไม้ ภาษาอังกฤษเรียก Log loading ทั้งไม้ท่อน ไม้ซุง และไม้แปรรูป เป็นงานที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งในพื้นที่สวนป่าและในโรงงานแปรรูปไม้ วิธีดั้งเดิม คือใช้คนยกไม้ (manual log loading) อาจใช้หนึ่งคนสำหรับไม้ท่อนเล็ก และใช้หลายคนถ้าไม้ท่อนใหญ่ หรือใช้เครื่องทุนแรงช่วย ปัจจุบันงานยกไม้มีตัวช่วยหลากหลาย สำหรับการยกไม้ขึ้นรถบรรทุกต่างๆ ในขั้นตอนการทำไม้ในสวนป่าสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

  1. การยกไม้ด้วยแรงงานคนเป็นหลัก (Manual log loading)

  2. การยกไม้ด้วยเครื่องจักรกล (Mechanized log loading)

1. การยกไม้ด้วยแรงงานคนเป็นหลัก (Manual log loading) โดยการยกไม้ขึ้นบริเวณหัวไหล่แล้วแบกไม้ไปวางยังส่วนบรรทุกของรถที่จะใช้ขนส่งไม้ อุปกรณ์เสริมที่พบสำหรับคนยกไม้ในประเทศไทยคือ เบาะรองหัวไหล่ เป็นตัวช่วยที่ทำขึ้นเองแบบง่ายๆ และสะพานไม้ที่ใช้พาดด้านท้ายรถบรรทุกเพื่อให้คนยกไม้เดินแบกไม้ขึ้นไปวางบนส่วนบรรทุกได้

นอกจากนี้การยกไม้ด้วยแรงงานคนเป็นหลัก อาจมีเครื่องทุ่นแรงอย่างง่ายมาช่วยนำท่อนไม้ขึ้นรถบรรทุกได้สะดวกขึ้น เช่น การทำทางลาดด้วยไม้เพื่อกลิ้งไม้ขึ้นส่วนบรรทุก การยกไม้ขึ้นรถโดยใช้พื้นต่างระดับ การใช้ระบบรอกหรือเครื่องกว้านในการยกหรือดึงไม้ขึ้นส่วนบรรทุก เป็นต้น

2. การยกไม้ด้วยเครื่องจักรกล (Mechanized log loading) เป็นการยกไม้ด้วยการนำเครื่องจักรกลมาช่วยซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

2.1 การยกไม้ด้วยเครื่องจักรกลแบบคีบ (Grab) โดยใช้ระบบไฮดรอลิกควบคุมที่คีบไม้ ที่คีบไม้มักติดตั้งที่ปลายแขน (boom) สามารถยืดแขนเพื่อคีบและวางไม้ได้ ติดตั้งได้ทั้งรถแทรกเตอร์ รถขุด (Excavator) และรถบรรทุกแบบต่างๆ ลักษณะของที่คีบมีหลายรูปแบบ คือ อาจมีปลายคีบเป็นเขี้ยว หรือเป็นชิ้นเดียวกัน รวมถึงหัวคีบไม้อาจจะหมุนได้ ซึ่งจะช่วยในการควบคุมทิศทางและมีความยืดหยุ่นในการทำงาน หัวคีบบางแบบหมุนไม่ได้

2.2 การยกไม้ด้วยเครื่องจักรกลแบบงา (Forks) หรือรถ forklift นิยมใช้ในโรงงานแปรรูปไม้ เพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและสะดวก ลักษณะที่ยกส่วนใหญ่เป็นงา 2 งา

2.3 การยกไม้ด้วยเครื่องจักรกลแบบลวดสลิง หรือสายเคเบิ้ล (Cable) วิธีนี้จะใช้ลวดสลิงพันรอบท่อนไม้หรือกองไม้ และใช้ระบบรอก หรือใช้ระบบไฮดรอลิกมาช่วยในการยกไม้

การยกไม้ เป็นขั้นตอนทำไม้ที่มีผลต่อเวลารวมในการขนส่งไม้ เนื่องจากใช้เวลานานกว่าท่อนไม้จะถูกยกขึ้นจนเต็มส่วนบรรทุก สำหรับในประเทศไทยการใช้คนยกไม้แบกขึ้นรถบรรทุกยังพบได้ในการทำไม้ขนาดเล็ก หรือในพื้นที่ทำไม้ไม่ใหญ่มากนัก เช่น การยกไม้ยางพาราขึ้นรถปิกอัพ รถหกล้อ และรถสิบล้อ การยกไม้ยูคาลิปตัสในพื้นที่คันนาและคันคลอง เป็นต้น ส่วนในอุตสาหกรรมการทำไม้ขนาดใหญ่การใช้แรงงานคนยกไม้จะพบได้น้อยลง มีการใช้รถคีบแบบแทรกเตอร์ หรือรถคีบไม้แบบสามล้อ (เบล) รวมถึงรถคีบแบบฐานเป็นรถขุด ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการยกไม้ ลดระยะเวลา ลดปัญหาความบาดเจ็บต่อคนยกไม้ และลดปัญหาแรงงานที่หาได้ยากขึ้น.

ผู้เขียน: อ.ดร.ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2563)
Google Sites
Report abuse
Page details
Page updated
Google Sites
Report abuse