ตู้ยา สามัญประจำบ้าน

ก่อนซื้อสินค้าที่มีเลขทะเบียน อย. 13 หลัก ตรวจสอบเลขทะเบียน อย. คลิกที่นี่

การเทียบปริมาณยาน้ำ

1 ช้อนโตะ เท่ากับ 15 ซีซี (มล.) และเท่ากับ 3 ช้อนชา

1 ช้อนชา เท่ากับ 5 ซีซี (มล.)

3/4 ช้อนชา เท่ากับ 3.8 ซีซี (มล.)

1/2 ช้อนชา เท่ากับ 2.5 ซีซี (มล.)

1/4 ช้อนชา เท่ากับ 1.3 ซีซี (มล.)

------------------------------------------------------------------------------------

ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

(สำเนา)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขในปัจจุบัน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 76(5) (7) (8) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยา จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้าน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2537

ข้อ 2. ให้ยาแผนโบราณตามตำรับต่อไปนี้เป็นยาสามัญประจำบ้าน

1. ยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

1.1 ยาประสะกะเพรา ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาประสะกานพลู ยาแสงหมึก ยามันทธาตุ

ยาประสะเจตพังคี ยามหาจักรใหญ่ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

1.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ขิง ข่า ตะไคร้ กานพลู สะระแหน่ โหระพา กะเพรา ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย กระเทียม หอมแดง กะทือ ไพล เม็ดพริกไทย เจตพังคี ลูกกระวาน จันทน์เทศอบเชย ดีปลี มหาหิงคุ์ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกเร่ว ลูกผักชีลา เปราะหอม ช้าพลู สะค้าน เกล็ดสะระแหน่ การบูร ผิวและใบมะกรูด ผิวและใบมะนาว สมัดน้อย สมัดใหญ่ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทานและขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

2. ยาถ่าย ยาระบาย

2.1 ยาตรีหอม ยาธรณีสันฑะฆาต ยาถ่าย ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

2.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ยาดำ โกฐน้ำเต้า มะขามแขก ฝักคูณ ขี้เหล็ก สมอไทย น้ำมันละหุ่ง ดีเกลือ ชะเอมไทย อ้อยสามสวน ชุมเห็ดเทศ เกลือสินเธาว์ เกลือเทศ สลัดได รากตองแตก มะขามป้อม มะขามเปียก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

3. ยาแก้ท้องเสีย

3.1 ยาเหลืองปิดสมุทร ยาธาตุบรรจบ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

3.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ใบฝรั่ง เปลือกมังคุด เปลือกทับทิม เปลือกขี้อ้าย รากกระท้อน รากมะพร้าว รากตาล รากลาน เปลือกต้นไข่เน่า เปลือกต้นมะขาม เปลือกฝักเพกา หมาก ขนุนดิบ ใบชา ครั่ง สีเสียด เปลือกซิก เปลือกแค เปลือกมะเดื่อชุมพร ขมิ้นชัน ลูกเบญกานี โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

4. ยาแก้ไข้

4.1 ยาจันทน์ลีลา ยาประสะจันทน์แดง ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

4.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ สะเดา หญ้านาง หญ้าแพรก บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ลูกใต้ใบ ฟ้าทะลายโจร รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร รากชิงชี่ รากท้าวยายม่อม จันทน์เทศ จันทน์แดงใบพิมเสน โกฐก้านพร้าว โกฐสอ โกฐจุฬาลัมพา รากปลาไหลเผือก ลูกกระดอม หญ้าตีนนก พญามือเหล็ก ต้นเหมือดคน รากไคร้เครือ กรุงเขมา เมล็ดในฝักเพกา ขี้กาทั้งสอง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการยา

5. ยาแก้ร้อนใน

5.1 ยาเขียวหอม ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

5.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ผักกาดน้ำ เมล็ดมะกอก หญ้าใต้ใบ ใบพิมเสน จันทน์แดง จันทน์เทศ ฟ้าทะลายโจร แฝกหอม ผักกระโฉม ใบสันพร้าหอม ผลมะระขี้นก ลูกมะคำดีควายเผา ดอกงิ้ว ใบตำลึง บอระเพ็ด โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

6. ยาบรรเทาหัด อีสุกอีใส

6.1 ยามหานิลแท่งทอง ยาเขียวหอม ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

6.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ จันทน์เทศ จันทน์แดง ใบพิมเสน ใบหญ้านาง ใบมะระ รากมะเดื่อชุมพร รากชิงชี่ รากหญ้านาง รากคนทา รากท้าวยายม่อม ผักกระโฉม ใบสันพร้าหอม ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง มหาสดำ ไคร้เครือ เนระพูสี ลูกมะคำดีควาย รากมะนาว รากมะกรูด รากมะปราง รากมะเฟือง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

7. ยาแก้ลมวิงเวียน

7.1 ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมอินทจักร ยาหอมนวโกฐ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

7.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เกสรทั้งห้า กฤษณา สมุลแว้ง โกฐพุงปลา โกฐกระดูก เปราะหอม แฝกหอม อบเชย ชะมด เทียนทั้งห้า

พิมเสน เกล็ดสะระแหน่ โกฐหัวบัว โกฐเชียง กระลำพัก ขอนดอก หญ้าฝรั่น จันทน์หอม จันทน์เทศ เปลือกชะลูด กานพลู จันทน์ชะมด ผิว ดอก ใบส้ม โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

8. ยาแก้ไอ

8.1 ยาอำมฤควาที ยาประสะมะแว้ง ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

8.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ มะแว้ง ชะเอมเทศ สมอเทศ มะขามป้อม ส้มป่อย ใบสวาด มะนาว มะเขือขื่น กฤษณา รากส้มกุ้ง มะขามเปียก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการยา

9. ยาบำรุงร่างกาย

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ระย่อม โกฐเชียง โกฐหัวบัว โสม เห็ดหลินจือ แห้วหมู กระชาย กำลังวัวเถลิง กำลังหนุมาน กำลังช้างสาร เม็ดข่อย เปลือกตะโกนา เปลือกทิ้งถ่อน หัวกวาวเครือ กำลังเสือโคร่ง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

10. ยาบำรุงโลหิต

10.1 ยาบำรุงโลหิต ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

10.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ฝาง ดอกคำฝอย ผักเป็ดแดง โกฐเชียง ดอกคำไทย ดอกกรรณิการ์ สนิมเหล็ก โกฐทั้งห้า แกแล แก่นขี้เหล็ก ว่านสากเหล็ก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

11. ยาแก้ประจำเดือนไม่ปกติ

11.1 ยาประสะไพล ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

11.2 ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ แก่นแสมสาร แก่นแสมทะเล ลูกคัดเค้า หางไหลแดง มะไฟเดือนห้า เอื้องเพชรม้า สารส้ม ฝาง แกแล คำฝอย คำไทย เทียนดำ ไพล ผิวมะกรูด ใบส้มเสี้ยว ใบส้มป่อย รากมะดัน เถาคันทั้งสอง ผักเป็ดแดง ผักเสี้ยนผี ขมิ้นเครือ ว่านชักมดลูก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

12. ยาขับน้ำคาวปลา

12.1 ยาไฟประลัยกัลป์ ยาไฟห้ากอง ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

12.2 ตำรับยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ รากเจตมูลเพลิงแดง ขิง ดีปลี พริกไทย ผิวมะกรูด แก่นแสมทะเล ฝาง สารส้ม หัสคุณเทศ หางไหลแดง ว่านชักมดลูก เปลือกมะรุม กระเทียม ข่า ไพลตะไคร้ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

13. ยากษัยเส้น หรือยาแก้ปวดเมื่อย

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เถาวัลย์เปรียง เถาเอ็นอ่อน มะคำไก่ รากแจง รางแดง เถาโคคลาน กำแพงเจ็ดชั้น หัวดองดึง หัวกระดาดทั้งสอง หัวอุตพิษ หัวบุก หัวกลอย กำลังหนุมานกำลังเสือโคร่ง เถาเมื่อย แส้ม้าทะลาย โรกแดง โรกขาว โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

14. ยาขับปัสสาวะ

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ หญ้าคา หญ้าชันกาด ขลู่ อ้อยแดง โคกกระสุน หญ้าหนวดแมว รากลำเจียก เหง้าสับปะรด รากมะละกอ รากไม้รวก บานไม่รู้โรย ใบอินทนิลน้ำ รากไทรย้อย โคกกระสุน กระเจี๊ยบ สารส้ม ต้นหงอนไก่ ผักกาดน้ำ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

15. ยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ โกฐกักกรา อัคคีทวาร เพชรสังฆาต ผักแพวแดง แพงพวย เปลือกข่อย ขลู่ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

16. ยาถ่าย พยาธิ

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ลูกมะเกลือสด รากทับทิม เมล็ดสะแก และสะแกทั้งห้า รากเล็บมือนาง เปลือกมะหาด ชุมเห็ดเทศ เปลือกต้นไข่เน่า ต้นถอบแถบ ปวกหาด ลูกเล็บมือนาง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

17. ยาแก้ทรางตานขโมย

17.1ยาประสะเปราะใหญ่ ที่มีส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน ขนาดบรรจุตามรายละเอียดในข้อ 3 แห่งประกาศฉบับนี้

17.2 ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ตานทั้งห้า ลูกสะแก เล็บมือนาง ถอบแถบ บอระเพ็ด ขมิ้นอ้อย เปลือกต้นไข่เน่า แก่นมะเกลือ งวงตาล ชุมเห็ดเทศ เถาลิ้นเสือ จุกหอม จุกกระเทียม รากทับทิม มะหาด โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

18. ยาบรรเทาอาการผื่นคันตามผิวหนัง

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญคือ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ข่า ดอกชุมเห็ดเทศ ใบเล็บมือนาง ข้าวเย็นทั้งสอง ขันทองพยาบาท กำมะถันเหลือง น้ำสารส้ม ลิ้นทะเล ดินสอพอง กระเทียม โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

19. ยาแก้กลากเกลื้อน

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ขันทองพยาบาท ใบเหงือกปลาหมอ ใบทองพันชั่ง กะเม็ง ใบน้อยหน่า หนอนตายอยาก กำมะถันเหลือง เม็ดในสะบ้าใหญ่ กระเทียม สารส้ม โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และ ขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

20.ยาแก้หิด

ตำรับ ยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เมล็ดในน้อยหน่า กำมะถัน ลูกกระเบา ลูกกระเบียน ลูกสะบ้ามอญ โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

21.ยาบรรเทาฝี แผล

ตำรับ ยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ว่านหางจระเข้ ขมิ้นอ้อย ต้อยติ่ง หมากดิบ สีเสียด เสน ยางสน ใบมะกา กำมะถันเหลือง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

22.ยาทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ตำรับ ยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ว่านหางจระเข้ ว่านหางช้าง ดินสอพอง ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน พิมเสน การบูร เกล็ดสะระแหน่ ลิ้นทะเล โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทานและขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

23. ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย และแมลงกัดต่อย

ตำรับ ยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เกล็ดสะระแหน่ พิมเสน การบูร น้ำมันยูคาลิปตัส เสลดพังพอน น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลู น้ำมันเขียว น้ำมันระกำ ตะไคร้หอม ว่านเพชรหึง โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

24. ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ

ตำรับ ยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม ชะเอมเทศ สมอเทศ ลูกเบญกานี ผักคราด หญ้าดอกขาว น้ำประสานทองสะตุ พิมเสน โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการยา

25. ยาแก้ลิ้นเป็นฝ้า

ตำรับ ยาที่มีตัวยาต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ ลูกเบญกานี ชาดก้อน พิมเสน หมึกหอม ลิ้นทะเล ใบสวาด ใบฝรั่ง สีเสียด หมาก โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน และขนาดบรรจุต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยา

ข้อ 3. ให้ยาแผนโบราณซึ่งมีชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือนและขนาดบรรจุ ต่อไปนี้ เป็นยาสามัญประจำบ้าน

ข้อ 4. ฉลากยาสามัญประจำบ้านตามประกาศนี้ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้

4.1 ชื่อยาตามที่ระบุในประกาศ ในกรณีเป็นตำรับยาที่มีการกำหนดชื่อยาไว้ในประกาศฉบับนี้

กรณีมีการใช้ชื่อทางการค้าด้วย ให้แสดงชื่อยาควบคู่กับชื่อทางการค้าด้วย

4.2 คำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน ” ในกรอบสีเขียวมีขนาดตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ชัดเจน

4.3 คำว่า “ยาสิ้นอายุ” และแสดง วัน เดือน ปี ที่ยาสิ้นอายุ

ให้ยาสามัญประจำบ้านตามประกาศฉบับนี้มีอายุการใช้ของยาได้ไม่เกิน 2 ปี สำหรับ ยาน้ำ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับยารูปแบบอื่น เว้นแต่ยาใดที่มีหลักฐานชัดเจนแสดงว่ามีอายุการใช้มากกว่า ที่กำหนด ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจขยายอายุการใช้ของยาชนิดนั้นได้ เป็นเฉพาะราย

4.4 ข้อความอื่นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 57(2) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 แล้วแต่กรณี

ข้อ 5. ยาสามัญประจำบ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้ บังคับ ให้ถือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านต่อไปได้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ 6.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณที่จะผลิตตำรับยาสามัญประจำบ้านตามประกาศ ฉบับนี้ ยื่นคำขอ ขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยต้องมีสูตร ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ วิธีการใช้ และข้อความคำเตือน ตามประกาศฉบับนี้ หรือตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการยา เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว จึงผลิตยานั้นได้

ข้อ 7. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณที่มีตำรับยาตามประกาศฉบับนี้และได้ขึ้นทะเบียน

ตำรับยาไว้ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ที่ประสงค์จะให้ตำรับยานั้นเป็นยาสามัญประจำบ้านโดย ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่ ขอแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยา ภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ 8. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542

(ลงชื่อ) กร ทัพรังสี

(นายกร ทัพรังสี)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

(คัดจากราชกิจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 67 ง วันที่ 24 สิงหาคม 2542)

พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542

:: บทนิยาม มาตรา 1-7

: หมวด1 คณะกรรมการการ ประกอบโรคศิลปะ มาตรา 8-13

: หมวด2 คณะกรรมการวิชาชีพ มาตรา 14-23

: หมวด3 การดำเนินการ ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ และคณะกรรมการวิชาชีพ มาตรา 24-29

: หมวด3 การควบคุมการประกอบโรคศิลปะ มาตรา 30-49

: หมวด4 พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 50-52

: หมวด5 การอุทธรณ์ มาตรา 53-55

: หมวด6 บทกำหนดโทษ มาตรา 56-59

:: บทเฉพาะกาล มาตรา 60-67

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 1/72)

พระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510

------------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2510

เป็นปีที่ 22 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช

โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการขายยา

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ

และยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510"

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วัน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

*[รก.2510/101/7 พ./20 ตุลาคม 2510]

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 2/72)

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ. 2493

(2) พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2498

(3) พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499

(4) พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2500

(5) พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2505

มาตรา 4* ในพระราชบัญญัตินี้

"ยา" หมายความว่า

(1) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ

(2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา

หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์

(3) วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือ

(4) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือ

การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์

วัตถุตาม (1) (2) หรือ (4) ไม่หมายความรวมถึง

(ก) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม

ตามที่รัฐมนตรีประกาศ

(ข) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา

เครื่องมือ เครื่องใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง หรือเครื่องมือ และ

ส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม

(ค) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในห้องวิทยาศาสตร์สำหรับการวิจัย

การวิเคราะห์ หรือการชันสูตรโรคซึ่งมิได้กระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์

"ยาแผนปัจจุบัน" หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการ

ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัด

โรคสัตว์

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 3/72)

"ยาแผนโบราณ" หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการ

ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายา

แผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ

หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ

"ยาอันตราย" หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่

รัฐมนตรีประกาศเป็นยาอันตราย

"ยาควบคุมพิเศษ" หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ

ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

"ยาใช้ภายนอก"* หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ

ที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่ *[นิยามคำนี้

แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 (รก.2530/748/1 พ.)]

"ยาใช้เฉพาะที่"* หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่

มุ่งหมายใช้เฉพาะที่กับหู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ

*[นิยามคำนี้ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530

(รก.2530/748/1 พ.)]

"ยาสามัญประจำบ้าน" หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผน

โบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน

"ยาบรรจุเสร็จ"* หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่

ได้ผลิตขึ้นเสร็จในรูปต่าง ๆ ทางเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุในภาชนะ หรือหีบห่อ

ที่ปิดหรือผนึกไว้ และมีฉลากครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ *[นิยามคำนี้ แก้ไข

โดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 (รก.2530/748/1 พ.)]

"ยาสมุนไพร" หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่

ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ

"เภสัชเคมีภัณฑ์" หมายความว่า สารอินทรีย์เคมี หรืออนินทรีย์เคมี

ซึ่งเป็นสารเดี่ยวที่ใช้ปรุงแต่ง เตรียม หรือผสมเป็นยา

"เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป" หมายความว่า สารอินทรีย์เคมี หรือ

อนินทรีย์เคมีทั้งที่เป็นสารเดี่ยวหรือสารผสมที่อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะนำมา

ใช้ประกอบในการผลิตเป็นยาสำเร็จรูป

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 4/72)

"การประกอบวิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า การประกอบวิชาชีพ

เวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม

"การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน" หมายความว่า การประกอบ

โรคศิลปะโดยอาศัยความรู้อันได้ศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์

"การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ" หมายความว่า การประกอบ

โรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา อันมิใช่การ

ศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์

"การบำบัดโรคสัตว์" หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันกระทำ

โดยตรงต่อร่างกายของสัตว์เพื่อตรวจ รักษา ป้องกัน หรือกำจัดโรค

"ผลิต"* หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และ

หมายความรวมถึงเปลี่ยนรูปยา แบ่งยาโดยมีเจตนาให้เป็นยาบรรจุเสร็จ

ทั้งนี้ จะมีฉลากหรือไม่ก็ตาม *[นิยามคำนี้ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา

(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 (รก.2530/278/1 พ.)]

"สารออกฤทธิ์" หมายความว่า วัตถุอันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

ของยาที่สามารถมีฤทธิ์บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความ

เจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์

"ความแรงของสารออกฤทธิ์" หมายความว่า

(1) ความเข้มข้นของยาที่มีปริมาณของสารออกฤทธิ์ระบุเป็นน้ำหนัก

ต่อน้ำหนัก น้ำหนักต่อปริมาตร หรือปริมาณของสารออกฤทธิ์ต่อหนึ่งหน่วย

การใช้ หรือ

(2) การแสดงฤทธิ์ทางการรักษาโรคของยาตามที่ได้มีการทดสอบ

ในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการที่เหมาะสม หรือได้ผ่านการควบคุมการใช้รักษา

โรคอย่างได้ผลเพียงพอแล้ว

"ขาย"* หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก

แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้

เพื่อขายด้วย *[นิยามคำนี้ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่ 5)

พ.ศ. 2530 (รก.2530/278/1 พ.)]

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 5/72)

"ขายส่ง"* หมายความว่า ขายตรงต่อผู้รับอนุญาตขายยา ผู้รับ

อนุญาตขายส่งยา กระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม

ผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบ

วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือ

ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ *[นิยามคำนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา

(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 (รก.2530/278/1 พ.)]

"ด่านนำเข้า"* หมายความว่า ท่าหรือที่แห่งใดในราชอาณาจักรที่

รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นด่านตรวจสอบยาที่นำหรือสั่งเข้า

มาในราชอาณาจักร *[นิยามคำนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5)

พ.ศ. 2530 (รก.2530/278/1 พ.)]

"ฉลาก" หมายความรวมถึง รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือ

ข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา

"เอกสารกำกับยา" หมายความรวมถึง กระดาษหรือวัตถุอื่นใดที่ทำให้

ปรากฏความหมายด้วยรูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ

เกี่ยวกับยาที่สอดแทรกหรือรวมไว้กับภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา

"ตำรับยา" หมายความว่า สูตรซึ่งระบุส่วนประกอบสิ่งปรุงที่มียา

รวมอยู่ด้วยไม่ว่าสิ่งปรุงนั้นจะมีรูปลักษณะใด และให้หมายความรวมถึงยา

ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่มนุษย์

หรือสัตว์ได้

"ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพ

เวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม

"ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ

แผนปัจจุบันในสาขาทันตกรรม เภสัชกรรม การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล

ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

"ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ

แผนโบราณในสาขาเวชกรรมหรือเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม

การประกอบโรคศิลปะ

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 6/72)

"เภสัชกรชั้นหนึ่ง" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน

ชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม

"เภสัชกรชั้นสอง" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน

ชั้นสองในสาขาเภสัชกรรม

"ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง" หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาต

เป็นผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการ

บำบัดโรคสัตว์

"ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นสอง" หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาต

เป็นผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นสอง (ก) สาขาอายุรกรรมตามกฎหมาย

ว่าด้วยการควบคุมการบำบัดโรคสัตว์

"ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

และในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ให้หมายความรวมถึงผู้จัดการหรือ

ผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการด้วย

"ผู้อนุญาต" หมายความว่า

(1) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ

คณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตผลิตยาหรือการนำ

หรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร

(2) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ

คณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตขายยาในกรุงเทพ

มหานคร

(3) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับการอนุญาตขายยาในจังหวัดที่อยู่

ในเขตอำนาจนอกจากกรุงเทพมหานคร

"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการยาตามพระราชบัญญัตินี้

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ

ตามพระราชบัญญัตินี้

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

*[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 7/72)

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตาม

พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวง

กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้น

ค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้

บังคับได้

หมวด 1

คณะกรรมการยา

---------

มาตรา 6* ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการยา"

ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์

อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย

เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวง

เกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนทบวงวิทยาลัยซึ่งแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะ

เภสัชศาสตร์สองคน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการกอง

กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เป็น

กรรมการโดยตำแหน่ง กับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า

ห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคน ในจำนวนนี้อย่างน้อยสองคนจะต้องเป็นผู้ประกอบโรค

ศิลปะแผนโบราณ

ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเป็นกรรมการและ

เลขานุการ และให้ผู้อำนวยการกอง กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการ

อาหารและยาเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

*[มาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522

(รก.2530/278/1 พ.)]

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 8/72)

มาตรา 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี

กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้

มาตรา 8 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามมาตรา 7 กรรมการผู้ทรง

คุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก

(3) รัฐมนตรีให้ออก

(4) เป็นบุคคลล้มละลาย

(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิด

ลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

(7) ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ

เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง

ผู้อื่นเป็นกรรมการแทน และให้ผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่ง

ตนแทน

มาตรา 9 การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุม

ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการ

คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน

ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 10 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นใน

เรื่องต่อไปนี้

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 9/72)

(1) การอนุญาตผลิตยา ขายยา หรือนำหรือสั่งยาเข้ามาใน

ราชอาณาจักร และการขึ้นทะเบียนตำรับยา

(2) การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต หรือการเพิกถอน

ทะเบียนตำรับยา

(3) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตยา

การขายยา การนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร การนำยามาเป็นตัวอย่าง

เพื่อตรวจ และการตรวจสอบสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา สถานที่นำหรือสั่งยา

เข้ามาในราชอาณาจักร และสถานที่เก็บยา

(4) การที่รัฐมนตรีจะใช้อำนาจตามมาตรา 76 หรือมาตรา 77

(5) เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา 11 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อ

พิจารณา ศึกษา หรือวิจัยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

และให้นำมาตรา 9 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

หมวด 2

การขออนุญาตและออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาแผนปัจจุบัน

---------

มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาใน

ราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต

การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 13* บทบัญญัติมาตรา 12 ไม่ใช้บังคับแก่

(1) การผลิตยาซึ่งผลิตโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกัน

หรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (หน้า 10/72)

(2) การผลิตยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือ

ของผู้ประกอบโรคศิลปะที่สั่งสำหรับคนไข้เฉพาะราย หรือตามใบสั่งยาของ

ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์สำหรับสัตว์เฉพาะราย

(3) การขายยาสมุนไพรที่ไม่ใช่ยาอันตราย การขายยาสามัญ

ประจำบ้าน การขายยาซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะ

ในสาขาทันตกรรมขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตน หรือการขายยาซึ่ง

ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ขายสำหรับสัตว์ซึ่งตนบำบัดหรือป้องกันโรค หรือ

การขายยาซึ่งขายโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค

สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม

(4) การนำยาติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งไม่เกินจำนวนที่

จำเป็นจะต้องใช้เฉพาะตัวได้สามสิบวัน

(5) การนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยกระทรวง ทบวง

กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม

*ผู้ได้รับยกเว้นตาม (1) และ (5) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ

และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

*[มาตรา 13 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522

(รก.2522/79/29 พ.) และความในวรรคท้ายเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา

(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 (รก.2530/278/1 พ.)]

มาตรา 14* ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือนำหรือสั่ง

เข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบันได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาต

(1) เป็นเจ้าของกิจการและเป็นผู้มีทรัพย์สินหรือฐานะพอที่จะตั้งและ

ดำเนินกิจการได้

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(3) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

(4) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วย

กฎหมายให้จำคุกในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทำโดยทุจริตเป็น

องค์ประกอบ หรือในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมาย