กฏหมาย ระเบียบ ประกาศ ที่ชาวบ้านควรรู้

การจัดตั้งชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ.2534

เอกสารประกอบ

1.หนังสือจากชุมชนเพื่อขอจัดตั้งเป็นชุมชนตามระเบียบกรุงเทพฯ

2.แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน

3.แผนที่กำหนดขอบเขตชุมชน

4.แบบ กช.1-19

ขั้นตอน

1.ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม รวบรวมหลักฐานเพื่อส่งให้สำนักพัฒนาชุมชนพิจารณา

2.สำนักพัฒนาชุมชน พิจารณาแล้วนำเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร

เอกสารประกอบ

ขั้นตอน

1.ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม รวบรวมส่งสำนักพัฒนาชุมชน

2.สำนักพัฒนาชุมชน นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

-------------------------------------

-------------------------------------

ชุมชนสังสิทธิ์ เปลี่ยนชื่อจาก ชุมชนหมู่บ้านสังสิทธิ์ เดิม อย่างไม่เป็นทางการ (ชาวชุมชนฯ เรียกกันเอง)

โดยถือทางเข้าร่วม ถนนโชคชัย 4 ซอย 50 เป็นเกณฑ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขสูงสุด แก่การใช้สาธารณูปโภคหลักร่วมกัน (ดู แผนที่ตั้ง ชุมชนฯ)

(จึงขอฝากกรรมการหมู่บ้านทุกสมัย ควรพิจารณาดำเนินการ กับเขตลาดพร้าวด้วย

1. เรื่องชื่อชุมชนสังสิทธิ์ และขอบเขตชุมชนฯ เพื่อให้ทราบขนาดจริง ให้สนง.เขตลาดพร้าว ประกาศ

2. เรื่องถนนซอย 50 ตลอดสาย และซอยทุกซอย เป็นของ กทม.

ติดขัดข้อกฏหมาย ปรึกษา ทุกเรื่อง ฟรี โทร.สายด่วน 1111 กด 77)

ชุมชนสังสิทธิ์ ประกอบด้วย ชื่อบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน

กลุ่มบ้านสังสิทธิ์ (สังสิทธิ์ซอย 1-2 แยก 1, แยก 3, สังสิทธิ์ซอย 3-8 แยก 6, ศาลพระภูมิ, โรงเรียนอนุบาล)

กลุ่มบ้านก่อสร้างเอง (บ้านศิริมงคล, บ้านใบหยก, บ้านอู่รถทัวร์, แยก 1 ฝั่งซ้าย, อู่ซ่อมรถ แยก 4)

กลุ่มบ้านจิรัฐติกร (แยก 6 ล้อมรอบ สังสิทธิ์ซอย 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9)

กลุ่มบ้านเลิศอุบล (บริเวณปะปาน้ำบาดาลเดิม แยก 2, แยก 4)

กลุ่มบ้านกลางเมือง (บริเวณต่อจากเลิศอุบล)

ชื่อกลุ่มบ้านต่าง ๆ เหล่านี้เป็นชื่อบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน เราเรียกขานเพื่อให้เข้าใจกันเท่านั้น ทั้งหมดเราจะใช้ชื่อ "ชุมชนสังสิทธิ์"

จำนวนพื้นที่ ... ไร่ ... งาน ... ตารางวา

จำนวนบ้าน ... หลัง

จำนวนประชากร ... คน

------------------------------------------------------------------------

การกำหนดรหัสชุมชน​เมืองตามน​โยบายกองทุนหมู่บ้าน​และชุมชน​เมือง

ThaiPR.net -- จันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2544 15:28:33 น.

กรุง​เทพฯ--22 ต.ค.--กทม.

นายชัยธวัช อยู่สำราญ ​ผู้อำนวย​การกองปกครอง​และทะ​เบียน กทม. ​เปิด​เผยว่า สำนักทะ​เบียนกลาง กรม​การปกครอง​ ได้ดำ​เนิน​การ

กำหนดรหัส​และบันทึกข้อมูลรายชื่อชุมชน​เมืองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่สำนักงานคณะกรรม​การกองทุนหมู่บ้าน​และชุมชน​เมือง​แห่งชาติ (สทบ.) ​

ได้ส่งบัญชีรายชื่อชุมชน​เมืองทั่วประ​เทศ จำนวน 3,517 ชุมชน ​เป็นชุมชน​เมืองของกรุง​เทพมหานคร จำนวน 1,045 ชุมชน

และชุมชน​เมืองของ​เทศบาล​และ​เมืองพัทยา จำนวน 2,472 ชุมชน ​ไป​ให้สำนักทะ​เบียนกลาง กรม​การปกครอง​เป็น​ผู้กำหนดรหัสตามระบบคอมพิว​เตอร์​ให้

​เพื่อสะดวก​ใน​การบันทึก​และค้นหาข้อมูล ​ซึ่งขณะนี้สำนักทะ​เบียนกลาง กรม​การปกครอง​ ได้ดำ​เนิน​การ​เสร็จสิ้น​แล้ว

​และ​ได้บันทึกข้อมูล​และรหัสชุมชน​เมืองลง​ใน​แผ่นดิสก์ จัดส่ง​ให้สำนักงานคณะกรรม​การกองทุนหมู่บ้าน​และชุมชน​เมือง​แห่งชาติ (สทบ.)

ธนาคารออมสิน ​และธนาคาร​เพื่อ​การ​เกษตร​และสหกรณ์​การ​เกษตร ​เพื่อ​ใช้ตรวจสอบ​และดำ​เนินงาน กองทุนหมู่บ้าน​และชุมชน​เมืองต่อ​ไป​แล้ว

สำหรับ​ในส่วนของกรุง​เทพมหานครนั้น กองปกครอง​และทะ​เบียน​ได้ประสานติดต่อขอบัญชี รายชื่อพร้อมรหัสชุมชน​เมืองจากสำนักทะ​เบียนกลาง

กรม​การปกครอง ​และจัดส่ง​ให้สำนักพัฒนาชุมชน ​เพื่อ​ใช้​ใน​การดำ​เนินงานกองหมู่บ้าน​และชุมชน​เมืองของกรุง​เทพมหานคร​เรียบร้อย​แล้ว

--จบ--

--------------------------------------------------------

กฏหมายภาษีการทำประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

รอให้ประกาศเป็นกฏหมายก่อน จะนำมาเสนอท่าน...

​วันนี้ 11 มีนาคม 2558 ยังมีปรับเปลี่ยนกันอีก​ จนกว่า....จะยอมพอใจ

ติดตามกันไป​​ ประชาชน ผู้สูงอายุที่มีบ้านในทะเบียนและไม่มีงานทำ จะยกเว้น !? จริงหรือเปล่า​

--------------------------------------------------------

ราคาประเมินที่ดิน พ.ศ. 2555 ประกาศใช้แล้ว 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2555 (เดิมใช้ประกาศ พ.ศ. 2551-2554)

นายนริศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้เมื่อได้มีการประกาศใช้

บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน และ

บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง รอบบัญชีปี พ.ศ. 2555-2558 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555

กรมธนารักษ์ จึงได้สั่งการให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่โดยส่วนประเมินราคาทรัพย์สินในเขตรับผิดชอบ จัดทำข้อมูล

มูลค่าที่ราชพัสดุทุกประเภทตามราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินที่ได้ประกาศใช้ในรอบบัญชีใหม่ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน ทั้งนี้

เพื่อสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินของรัฐที่เป็นปัจจุบัน และเพื่อประกอบการรายงานคณะรัฐมนตรีครั้งต่อไป

ราคาประเมินที่ดินใหม่ 2555 หากแยกเป็นในพื้นที่

กรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.13% ราคาประเมินสูงสุดที่ ถนนสีลม ตารางวาละ 850,000 บาท ราคาประเมินต่ำสุดที่ เขตบางขุนเทียน ตารางวาละ 500 บาท

ส่วนในภูมิภาค เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 21.40%

ภาค กลาง ราคาประเมินสูงสุดที่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตารางวาละ 150,000 บาท,

ภาคตะวันออก ราคาประเมินสูงสุดที่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตารางวาละ 150,000 บาท,

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาประเมินสูงสุดที่ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ตารางวาละ 200,000 บาท,

ภาคเหนือ ราคาประเมินสูงสุดที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตารางวาละ 250,000 บาท

ภาคใต้ ราคาประเมินสูงสุดที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตารางวาละ 400,000 บาท.

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 00:00:59 น.

ค้นหาราคาประเมิน จากกรมธนารักษ์ 2559-2562 http://www.treasury.go.th/ewt_news.php?nid=173

ระบบเผยแพร่ราคาประเมินผ่านเว็บไซต์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/

สรปราคาประเมนทนทรพย์ที่ดิน รอบบญชี ปี พ.ศ.2555-2558

หมายเหตุ : ตารางสรปราคาประเมินทุนทรพย์ที่ดิน เปนการสรปภาพรวมของราคาประเมินทุนทรพย์ที่ดินเปนรายถนน เท่านั้น

ไมสามารถใชเปนขอมูลอางองราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้นผู้ต้องการขอทราบราคาประเมิน ทุนทรพย์ที่ดินเฉพาะแปลง

จะต้องตรวจสอบกบสำนกงานที่ดิน หรอสำนกงานธนารกษ์พื้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ หรอที่สำนกประเมนราคาทรพย์สิน กรมธนารกษ์

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) จะประกาศใช้แล้ววันที่ 15 พค. 2556

ให้ประชาชนไปตรวจสอบ ว่าท่านมีผลกระทบหรือไม่ ได้ที่

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร 44 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 http://cpd.bangkok.go.th

เว็บไซต์ สำนักผังเมือง พร้อมให้บริการ แผนที่ GIS 2 มิติ และ 3 มิติ

ให้บริการสำหรับเจ้าหน้าที่ กทม. http://3d-cpd.bma.co.th

ให้บริการสำหรับหน่วยงานภายนอก นิสิต นักศึกษา ประชาชน http://3d-bangkok.go.th

- ไปดูผัง และข้อกำหนดใหม่

- ไปดูสถานที่ปรับปรุงใหม่ 31 แห่ง

- ไปดูเส้นทางการขยายถนนสาธารณะจาก 10 เมตร เป็น 12 เมตร

- ไปดูถนนตัดใหม่ 12 สายทาง

- ไปดูกฎเกณท์การก่อสร้างอาคารขนาด เล็ก ขนาดใหญ่

------------------------------------------------------------------------------------------------------

เรื่องภาระจำยอม

ปัจจุบันบ้านที่พักอยู่เป็นห้องแถวค่ะ อยู่ในซอย ซึ่งบริเวณพื้นที่หน้าบ้านก็จะมีรถผ่านไปมา ทีนี้พื้นที่บริเวณหลังบ้านก็มีคนเดินผ่านไปมาได้

แต่รถผ่านไม่ได้เพราะแคบมาก ต่อมาได้ซื้อพื้นที่บริเวณหลังบ้าน และต้องการที่จะกั้นให้เป็นสัดส่วนรวมเข้ากับตัวบ้านของเรา

ซึ่งหมายความว่าผู้คนก็จะไม่สามารถเดินผ่านได้ ทีนี้เพื่อนบ้านที่เคยเดินผ่านเค้าก็ไม่ยอม อ้างว่าเป็นภาระจำยอมเดินผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว

แต่ทางดิฉันก็เห็นว่าไม่ควรจะเป็นภาระจำยอมเพราะว่าไม่มีการจดทะเบียนว่าเป็นภาระจำยอม และไม่ใช่ทางออกทางเดียว เพราะว่า

เพื่อนบ้านสามารถที่จะเดินเข้าออกทางบริเวณพื้นที่หน้าบ้านดิฉันก็ได้ เพราะฉะนั้นดิฉันจึงมีคำถามที่จะถามค่ะว่า

1. พื้นที่บริเวณส่วนหลังบ้านดิฉันเป็นภาระจำยอมหรือเปล่าคะ ถ้าไม่เป็นภาระจำยอมดิฉันจะสามารถกั้นได้ใช่ไหมคะ

2. ถ้าหากว่าเพื่อนบ้านจะไปขอจดเป็นภาระจำยอมในภายหลังจะได้หรือเปล่า

ขอขอบคุณนะคะ เพราะพื้นที่ในบ้านดิฉันค่อนข้างเล็ก ดิฉันจึงอยากได้พื้นที่บริเวณหลังบ้านมาใช้ประโยชน์เพิ่มเติมน่ะค่ะ

โดย เล็ก - [2 พ.ย. 2545 , 02:37:44 น.]

ข้อความ 1

ภาระจำยอมจะมีได้เฉพาะที่ดินที่เป็นโฉนด กรณีของคุณนั้น พื้นที่ข้างหลังบ้านนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของคุณเพราะคุณซื้อมาจากเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์

คุณมีสิทธิ์ใช้สอยได้เต็มที่ แต่ทั้งนี้ บุคคลอื่นซึ่งได้ใช้สอยที่ดินบริเวณหลังบ้านคุณมาเป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปี เขาก็มีสิทธิที่จะอ้างภาระจำยอมได้

ซึ่งตามกฎหมายแล้วหากเขาใช้สอยโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ เขาก็มีสิทธิได้ภาระจำยอมตามกฎหมาย แต่เขาต้องไปฟ้อง

เพื่อดำเนินการจดทะเบียนภาระจำยอม โดย ฟ้องให้คุณจดทะเบียนภาระจำยอมให้ หรือ หากคุณไม่ยอมหรือแพ้ก็ให้ถือเอาคำสั่งศาลเป็นการแสดงเจตนา

เพื่อจดทะเบียนภาระจำยอมให้ผู้ที่ใช้มาเกิน 10 ปี

คุณซึ่งเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหากคุณไม่ให้บุคคลที่ใช้มาเกิน 10 ปี โดยการปิดกั้น คุณก็อาจถูกฟ้องเพื่อให้เปิดทางภาระจำยอม และ

ไปจดภาระจำยอมได้ แต่คุณมีข้อต่อสู้ว่า บุคคลที่ใช้สอยที่ดินนั้น ใช้สอยมาไม่เกิน 10 ปี หรือ ไม่ต่อเนื่องกัน หรือ การใช้สอยนั้นไม่ได้ใช้สอยโดยสงบ

หรือ เป็นการอาศัยสิทธิของคุณหรือเจ้าของเดิม เช่น ขอเจ้าของเดิมหรือขอคุณในการเดินทุกครั้ง หรือ เจ้าของเดิมหรือคุณสงวนสิทธิในการเดิน เช่น

ไม่เคยให้เดินเลย ปิดป้ายว่าเป็นที่ดินส่วนบุคคล เป็นต้น คุณมีข้อต่อสู้เพื่อมิให้ที่ดินนั้นตกเป็นทางภาระจำยอม

ซึ่งผลของคดีจะเป็นเช่นไรแล้วแต่พยานหลักฐาน ของทั้งสองฝ่าย

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาโทร 0-2224-8106

โดย Jak [4 พ.ย. 2545 , 08:40:08 น.]

ข้อความ 2

ภารจำยอมมีได้ทั้งที่ดินมีโฉนด และที่ดินมือเปล่า

ขอให้มี อสังหาริมทรัพย์แตกต่างกัน 2 เจ้าของขึ้นไปก็พอ

โดย tao_oasis - [14 พ.ย. 2545 , 10:47:56 น.]

ข้อความ 3

ภาระจำยอม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตา 1387 “อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่าง

ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น”

เรื่องภาระจำยอมเป็นเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ 2 อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต่างเจ้าของกัน โดยอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน

เพียงแต่ได้ใช้ประโยชน์จากภาระจำยอมก็พอแล้วโดย อสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งซึ่งเรียกว่า ภารยทรัพย์ ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบ

ถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดใช้สิทธิบางอย่าง หรือต้องงดเว้นใช้สิทธิบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อีกแปลงหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าสามยทรัพย์

โดยภาระจำยอมนี้เป็นสิทธิอย่างหนึ่ง เมื่อได้มาแล้วก็สามารถใช้ได้ตลอดไป คือไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร หรือเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์

จะเปลี่ยนไปกี่คนก็ตาม ภาระจำยอมก็ยังคงอยู่เว้นแต่ที่ดินทั้งสองแปลงจะตกอยู่ภายใต้เจ้าของคนเดียวกันภาระจำยอมก็จะหมดไป

ภาระจำยอมได้มาโดย 2 วิธี คือ ทางนิติกรรม และโดยระยะเวลาตามกฎหมาย การได้ภารจำยอมโดยนิติกรรม คือ เจ้าของภารยทรัพย์และสามยทรัพย์

มาตกลงกัน โดยเจ้าของภารยทรัพย์ยินยอมให้เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินของตน และต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อีกวิธีหนึ่งคือ

ได้โดยอายุความหรือระยะเวลาตามกฎหมาย คือเจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของภารยทรัพย์มาเป็นเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปแล้ว

ตอบคำถาม

1.พื้นที่หลังบ้านท่านเป็นภาระจำยอม เพราะเพื่อนบ้านของท่านอาศัยเดินผ่านในที่ดินดังกล่าวมา 10 กว่าปีแล้ว ถึงแม้ว่าเขามิได้จดทะเบียนภาระจำยอม

ก็ถือว่าเขาได้ภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายแล้ว แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม แต่อาจจะมีปัญหาโต้เถียงกันได้ในเรื่องระยะเวลาซึ่งศาลเท่านั้น

จะเป็นผู้ชี้ขาด และถึงแม้จะมีทางออกด้านหน้าก็ยังต้องตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมอยู่ เพราะ มีทางออกอื่นมิใช่เงื่อนไขของภาระจำยอม ดังนั้น

คุณจึงไม่สามารถที่จะกั้นรั้วในทางภาระจำยอมได้ เว้นแต่ว่าทางเดินตามจริงเขาได้ใช้ประจำ แต่หากเดินเป็นครั้งคราว เพราะมีทางเดินทางด้านหน้า

อยู่แล้ว อย่างไรก็ดีควรจะเจรจากันแต่โดยดี

2.เพื่อนบ้านคุณสามารถไปจดทะเบียนภาระจำยอมได้ เพราะเขาได้เดินผ่านในที่ดินของคุณมามากกว่า 10 ปี เขาจึงได้ภาระจำยอมแล้ว ดังนั้น

เขาสามารถขอให้คุณไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ได้ หากคุณไม่ยอมไปจดทะเบียนให้เขาก็สามรถฟ้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเขาได้ภาระจำยอมได้

ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ต้องพิสูจน์ว่าใช้ประโยชน์มาครบ 10 ปีหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายอาจขอเจรจาในชั้นศาลได้

โดย ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [15 พ.ย. 2545 , 11:21:06 น.]

-------------------------------------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้ใดประสงค์ สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการฃุมฃนฯ

ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2534

ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป

ณ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตลาดพร้าว ภายในระยะเวลากำหนด

ประกาศสำนักงานเขตลาดพร้าว ระยะเวลาการรับสมัคร กำหนดวันเลือกตั้ง และสถานที่เลือกตั้ง (ประมาณในเดือน พฤศจิกายน ของปี)

ตัองเป็นผู้มึคุณสมบัติ ตามข้อ 10 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 11 ดังนี้

ข้อ 10. ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชน

1. มีสัญชาติไทย

2. อายุ 20 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันรับสมัคร

3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนติดต่อกันถึงวันรับสมัคร ไม่น้อยกว่า 180 วัน

4. มีความจงรักภักดีต่อชาคิ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

5. เป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพสุจริต ไม่ประพฤติตนเป็นภัยต่อสังคม

ข้อ 11. บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คือ

1. ติดยาเสพติดให้โทษ

2. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

3. หูหนวกและเป็นใบ้ ซึ่งไม่สามารถอ่านออกและเขียนหนังสือได้

4. ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวข

5. ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายนั้น

6. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และให้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันรับสมัครเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

7. เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาเขต คณะผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการการเมือง ตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราขการการเมือง

ความเจริญ ความสะอาด ความสงบสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทัรพย์สิน ความโปรงใส

อุทิศแรงกายแรงใจช่วยกัน เพื่อลูก หลาน ในชุมชนฯ มีความเป็นอยู่ที่ดี ร่วมกัน ให้ได้ผลสูงสุด

อยู่ในมือท่านทั้งหลาย ที่อาสาสมัครเข้ามาเป็นกรรมการชุมชนฯ สมัครรายบุคคล

(ถ้าสมัครเกินจำนวนคน ตามประกาศรับสมัครของเขตลาดพร้าว ต้องหย่อนบัตรเลือกตั้ง)

แต่ผมอยากแนะนำให้ท่านรวมกลุ่มกันเป็นทีม ตั้งชื่อทีม (ประมาณ 15-20 ท่าน) แจกแจงหน้าที่กันไว้ให้เรียบร้อย

ว่าใครถนัดทำงานอะไร แสดงวิสัยทัศน์แก่ชาวชุมชนฯ จะได้พิจารณาเลือกยกทีมไปเลย

หน้าที่กรรมการชมชนฯ ก็เช่นเดียวกับ กรรมการบริษัทฯ

ทำหน้าที่ กำกับดูแลกิจการ เช่นเดียวกัน กำกับดูแลชุมชนฯ

- ทำให้เจริญเติบโต ยั่งยืน

- สามารถให้การตัดสินใจ

- วางแผน วางนโยบาย และกำกับดูแลให้เกิดความสำเร็จ

- มีธรรมมาภิบาล โปร่งใส ปิดประกาศ แจกแจงได้ทุกเดือน

- ตั้งใจดี ช่วยกันแก้ปัญหาอุปสรรค์ และความเสี่ยง

ท่านคือผู้อาสามาเป็นตัวแทนสมาชิกชุมชน มาทำงานเพื่อส่วนรวม

กระทำการในนามชุมชนฯ โปรดช่วยรักษาเกียรติยศชื่อเสียงของชาวชุมชนฯ โดยรวมทั้งหมดด้วย

และโปรดสำรวจตนเองว่าขณะนี้ท่านรู้จักสมาชิกชุมชนทั้งหมดกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว

คณะกรรมการชุมชนหมู่บ้าน ฯ (จากประกาศ สนง. เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2550) มีหน้าที่ ดังนี้

1. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

2. ประสานงานและดำเนินงานร่วมกับหน่วยราชการองค์การ และหน่วยงานราชการต่าง ๆ

ที่เกี่ยวข้องในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชุน

3. พัฒนาชุมชนทั้งด้านกายภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

และระดมทรัพยากรในชุมชุน มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. เสริมสร้างความสามัคคี และการมีวินัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชุน

5. ส่งเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเภณีอันดีงาม

6. ดูแลทรัพย์สินของชุมชน และสาธารณะสมบัติ

7. เผยแพร่ผลงาน ติดตาม และรายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรณ์ต่าง ๆ

ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชน ต่อผู้อำนวยการเขตฯ

8. แต่งตั้งผู้มีความสามารถเหมาะสมเป็นที่ปรึกษา หรือคณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ

ตำแหน่งงานหลักต่าง ๆ ประกอบ ดังนี้

ประธานกรรมการ

รองประธานกรรมการ

เลขานุการ

เหรัญญิก

นายทะเบียน

ประชาสัมพันธ์

และตำแหน่งอื่น ๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควรแต่งตั้ง

------------------------

(ที่ปรึกษาด้าน...)

(ผู้ช่วยในหน้าที่...)

ท่านถนัดงานด้านใด ก็เตรียมตัวของท่านให้พร้อม เสนอตัวและวิสัยทรรศน์ รับงานด้านนั้นไปทำและดูแล

ให้ชุมชนฯ ของเราทันสมัยเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป อย่างไรก็ตามกรรมการทั้งชุดต้องรับผิดชอบร่วมกัน

รับฟังเสียงประชาชนในชุมชนฯ ช่วยกันดูแลและปรึกษางานร่วมกัน นะจ๊ะ...

ผู้อาสาสมัครท่านใด อยากรู้ว่ากรรมการชุมชนฯ ต้องทำงานอะไรบ้าง ดูบันทึกช่วยจำ จ้า...

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สถาบันที่เกี่ยวข้องกันงานชุมชน ฯ

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 912 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

โทร : 02-378-8300-9 โทรสาร : 02-378-8343

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. 88/24 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-590-7000

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้บริการข้อมูลผ่านศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร แบบ ONE STOP SERVICE

สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบวงจร และทันต่อสถานการณ์

สังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรมใดบ้าง ที่คุณต้องไปติดต่อราชการ (สำนักงานเขตลาดพร้าว)

หน่วยงานที่รับบริจาคเงินและสิ่งของ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

การแจ้งเด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับเข้าเรียน

การขอผ่อนผันยกเว้นเด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับเข้าเรียน

การขอยกเว้น - ผ่อนผันการเข้ารับราชการทหาร

งานสัสดี - ทหารกองเกิน - หมายเรียก - เข้ารับการตรวจเลือก - การรายงานตัวในการเรียกพ

การใช้บุคคลเป็นประกัน (เทียบซี กับยศ ตำรวจ ทหาร)

การรับหลักประกันสัญญา

การถอนเงินประกันซองประกวดราคา

การรับเงินประกันซองประกวดราคา

การเสียภาษีบำรุงท้องที่

การเสียภาษีป้าย

การชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ณ ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตหรืออำเภอ

การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

การขออนุญาตทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง

การแจ้งตั้งสถานที่ จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร

การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร

การขออนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถาน

การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 125 ประเภท

ต้องการตัดคันหินทางเท้าเพื่อใช้เป็นทางเข้า - ออก ในที่ดินหรืออาคาร

การขออนุญาตใช้ที่สาธารณะเป็นการชั่วคราว

ขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร

การขอใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง

การขอเปลี่ยนการใช้อาคาร

การแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแทนการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน

การขออนุญาตเชื่อมท่อระบายน้ำกรณีต้องการสร้างเชื่อมระหว่างท่อระบายน้ำของอาคาร

การบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงาน

การแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานกับวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการดำเนินการ

การขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคารดัดแปลงอาคารรื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคารดัดแปลง

การขออนุญาตดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออก ของรถเพื่อการอื่น

การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคาร

การแจ้งรื้อบ้าน

การขอเลขหมายประจำบ้าน

การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

การทำพินัยกรรม - มรดก ทุกกรณี

การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว

การขอจดทะเบียนชื่อสกุลใหม่

การขอเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อรอง - ร่วมใช้ชื่อสกุลของผู้อื่น

บุตรบุญธรรมทุกกรณี

การจดทะเบียนรับรองบุตร

การจดทะเบียนหย่า

การจดทะเบียนสมรส

การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านทุกกรณี

การติดต่อเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนทุกกรณี

1548 ศูนย์สอบถามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ บัตรประชาชน

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนราษฎร (สูติบัตร มรณะบัตร และทะเบียนบ้าน )

การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร

การใช้ชื่อสกุลของบุตร (แก้ไขชื่อสกุลไปใช้ของบิดา - แก้ไขชื่อสกุลไปใช้ของมารดา)

การแจ้งย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้าน (ย้ายเข้า - ย้ายออก - ย้ายปลายทาง)

การแจ้งตาย (ในบ้าน - นอกบ้าน - ในสถานพยาบาล - ในต่างประเทศ)

การแจ้งเกิด (ในบ้าน - นอกบ้าน - ในสถานพยาบาล)

ขอใบรับรองต่างๆ

------------------------------------------------------------------------------------------------

หน่วยงานที่ติดต่อบ่อย สำนักงานเขตลาดพร้าว

ฝ่ายทะเบียน ทำบัตรประชาชน ทะเบียนราษฏร์ การศึกษาบุตร ขึ้นทะเบียนทหาร

ฝ่ายโยธา ข้างบ้านก่อสร้าง ทำให้เกิดความเสียหาย รำคาญ และเสียสุขภาพ

ฝ่ายเทศกิจ จับสุนัขจรจัด (ไปทำหมัน ฉีดยา ส่งสถานสงเคราะห์) สุนัขไม่สวมปลอกคอในเขตชุมชนฯ

ฝ่ายรักษาความสะอาด ฯ ขยะในถัง ล้น ส่งกลิ่นเหม็น ไม่มาจัดเก็บตามปกติ

ฝ่ายพัฒนาชุมชน ฯ ปัญหาสุขภาพ ยาเสพติด กิจกรรมสตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส

กดดู เตรียมตัวไปอำเภอ ก่อนไปติดต่อเจ้าหน้าที่