พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก : ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

001 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑

002 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

003 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

004 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒

005 พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

006 พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑

007 พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒

008 พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑

009 พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

010 พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

011 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

012 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒

013 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑

014 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒

015 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑

016 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒

017 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑

018 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒

019 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓

020 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑

021 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒

022 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑

023 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒

024 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

025 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒

026 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒

027 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓

028 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑

029 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒

030 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑

031 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒

032 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑

033 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒

034 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

035 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒

036 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓

037 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔

038 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕

039 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑

040 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑

041 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒

042 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓

043 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

044 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓

045 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔

046 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕

047 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖

048 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑

049 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒

050 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑

051 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒

052 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓

053 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔

054 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔

055 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑

056 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒

057 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓

058 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔

059 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕

060 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖

061 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗

062 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑

063 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒

064 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓

065 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑

066 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒

067 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖

068 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑

069 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

070 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑

071 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒

072 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑

073 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒

074 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

075 พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑

076 พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒

077 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑

078 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒

079 พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓

080 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑

081 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒

082 พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๑

083 พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๕ ภาค ๑ ตอน ๒

084 พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒

085 พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑

086 พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒

087 พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓

088 พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔

089 พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕

090 พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖

091 พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๗

------------------------------------------------------------------------------

บทนำ พระพุทธศาสนา เป็นคำสั่งสอนของ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.

การศึกษา หรือ การน้อมประพฤติ ปฏิบัติตามพระธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ ด้วยความเคารพ ด้วยความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง แท้จริง ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์เป็นอันมากให้เกิดแก่ผู้นั้น และผู้เกี่ยวข้อง.

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้ จึงได้จัดทำเว็บไซต์ หมวดธรรมะ นี้ขึ้น โดยผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้มีส่วนในการส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจ ในพระธรรมคำสั่งสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กว้างขวาง ยิ่งๆขึ้นไป ซึ่ง ผู้จัดทำ มีความเห็นว่า . .


" ความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ในพระธรรม นั่นแหละเป็นความตั้งมั่น เป็นความมั่นคง เป็นการคงอยู่ของพระศาสนา. "


พระไตรปิฎก : ฉบับประชาชน ๔๕  เล่ม

ความหมายของพระวินัยปิฎก

     พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบ
ธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า 
อา ปา ม จุ ป) คือ 
๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน 
๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ 
๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย

     พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อในแบบต้นนั้นใหม่)คือ 
๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 
๓. มหาวรรค  ๔. จุลวรรค  ๕. ปริวาร

     บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ 
๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสอง
แบบเข้าด้วยกัน)
๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน) 
๓. ปริวาร ว่า คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)

พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท(สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 
๑๙ ข้อแรก)
เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ(เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)
เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) 
อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาท
และสามัคคี
เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์
เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงด
สวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ 
เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย

     พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก 
๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรม
ขันธ์

ความหมายของพระสุตตันตปิฎก
     พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัส
ยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระ
พุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร 
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร 
๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตาม
หัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร 
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม 
รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร 
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ 
คัมภีร์

พระสุตตันปิฎก ๒๕ เล่ม
๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย "มหา" เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติ
ปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญ
สูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร

๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร

๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่นเทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้า
โกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสาร
วัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ 
ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง
อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน 
พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอา
นิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความ
มีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)

๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
     ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิต และ
สำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน

๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ(บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร) 
ธรรมบท(เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓) อุทาน(พุทธอุทาน ๘๐) อิติวุตตกะ(พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย "เอวมฺเม สุตํ" 
แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า "อิติ วุจฺจติ" รวม ๑๑๒ สูตร) และสุตตนิบาต(ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่ง
เป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ วิมานวัตถุ(เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนใน
อดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง) เปตวัตถุ(เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง) เถรคาถา(คาถา
ของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น) เถรีคาถา(คาถาของ
พระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมี
คาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) 
รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญา
สนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง 
บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในปารายนวรรคและขัคควิสาณ
สูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน 
อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของ
พระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอร
หันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ พระปุณณ
มันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่อย
ไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้น เป็น
เถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่
สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสา
โคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจน
จบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต 
๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวม
เป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ 
เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ

     พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก 
๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรม
ขันธ์

ความหมายของ พระอภิธรรมปิฎก
     พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา
ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ 
๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ
๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด 
๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ 
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ 
๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร

ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดง มาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ 
เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม 
ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ  และชุด ๒ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม 
อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้น
ขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย 
จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่
กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้
เพียง ๑๒๒ มาติกา)
เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็น
เรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท 
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณ
ประเภทต่าง ๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ เช่นอธิบายขันธ์ 
๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์
เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ 
๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคล
ต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อ
แก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่นความเห็น
ว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรมเป็นต้น ประพันธ์
เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความ
รู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือ
ว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์(ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) 
เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ 
อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น 
เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก
เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก 
(กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน
แห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุปธรรม ซึ่ง
กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่มแรกนี้ 
อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลม
ติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า 
กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึง
เจริญวิปัสสนา ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว 
ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิด
ทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะความ
อยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่
อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น 
(เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ 
ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (พิจารณารูปเสียงเป็นต้น ที่ดับเป็น
อดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น
เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๒ (ทุกมา
ติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ 
เป็นต้น
เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ 
ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย 
อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย "กุศล
ธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย" เป็นอย่างไร เป็นต้น 
อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) 
อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุด
กัน เช่นอธิบายว่า "กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม" เป็นอย่างไร เป็นต้น 
อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน 
เช่นชุดโลกียะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่น
เอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น ปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่
กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่
ไม่ใช่โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรม
ที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้
ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓  ชุด ๓ กับชุด ๒  ชุด ๓ กับชุด ๓  
ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก 
ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้
เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)

     คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้นเล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว 
และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด 
แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่มหนัง
สืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า "มหาปกรณ์" แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดย
ขนาดและโดยความสำคัญ

     พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก 
๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรม
ขันธ์

คัดลอกจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

6 พฤษภาคม พ.ศ. 2545


ชาดก : อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง

มหานิบาตชาดก

พระเจ้าสิบชาติ

จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒.

๑. เตมิยชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓]

๒. มหาชนกชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓]

๓. สุวรรณสามชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓]

๔. เนมิราชชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓]

๕. มโหสถชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓][๔][๕][๖][๗][๘][๙][๑๐][๑๑][๑๒]

๖. ภูริทัตชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓][๔][๕]

๗. จันทกุมาร

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓]

๘. มหานารทกัสสปชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓]

๙. วิธุรชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓][๔][๕][๖]

๑๐. มหาเวสสันตรชาดก

จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา [๑][๒][๓][๔][๕][๖][๗][๘][๙][๑๐]


หมวดแนะนำ ชาดก

จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ และ ๒๘

พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ และ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ และ ๒.

ลำดับ เรื่อง ชาดก อรรถกถา

นิทานกถา อรรถกถา [๑][๒][๓][๔][๕][๖][๗][๘]

ว่าด้วย ทูเรนิทาน อวิทูเรนิทาน สันติเกนิทาน

๑. อปัณณกชาดก พระไตรปิฎก อรรถกถา

คน พวกหนึ่งกล่าวฐานะอันหนึ่งว่า ไม่ผิด นักเดาทั้งหลายกล่าวฐานะอันนั้นว่า เป็นที่สอง คนมีปัญญา รู้ฐานะและมิใช่ฐานะนั้นแล้ว ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.

๒. วัณณุปถชาดก พระไตรปิฎก อรรถกถา

ชน ทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน ขุดภาคพื้นที่ทางทราย ได้พบน้ำในทางนั้น ณ ที่ราบ ฉันใด มุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น.

๓. เสรีววาณิชชาดก พระไตรปิฎก อรรถกถา

ถ้า ท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือ ความแน่นอนแห่งสัทธรรม ในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจ ในภายหลัง สิ้นกาลนาน ดุจพาณิช ชื่อ เสรีวะ ผู้นี้ ฉะนั้น.

๔. จุลลกเศรษฐีชาดก พระไตรปิฎก อรรถกถา

คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนไว้ด้วยต้นทุนแม้น้อย ดุจคนก่อไฟน้อยๆ ให้เป็นกองใหญ่ ฉะนั้น.

๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก พระไตรปิฎก อรรถกถา

ข้าวสารทะนานหนึ่งมีราคา เท่าไร พระนครพาราณสี ทั้งภายในภายนอกมีราคา เท่าไร ข้าวสารทะนานเดียวมีค่าเท่าม้า ๕๐๐ เทียว หรือ?

หมวดแนะนำ ชาดก [๑-๑๐] [๑๑-๒๐] [๒๑-๓๐] [๓๑-๔๐] [๔๑-๕๐] [๕๑-๖๐] [๖๑-๗๐] [๗๑-๘๐] [๘๑-๙๐] [๙๑-๑๐๐] [๑๐๑-๑๐๘]

- -- --- ---- ----------------------------------------------------------------------------



หัวข้อธรรมในที่นี้ จะแบ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าออกเป็นหมวดๆ

โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม ดังนี้...


>>>>> หมวด ๑ เอกะ <<<<<

(๑) กัลยาณมิตตตา

(๒) โยนิโสมนสิการ

(๓) อัปปมาทะ


>>>>> หมวด ๒ ทุกะ <<<<<


(๔) กรรม ๒

(๕) กาม ๒

(๖) กามคุณ ๕

(๗) ฌาน ๒

(๘) ฌาน ๒ ประเภท

(๙) ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔

(๑๐) ฌาน ๘

(๑๑) ทาน ๒๑

(๑๒) ทาน ๒๒

(๑๓) ทิฏฐิ ๒

(๑๔) ทิฏฐิ ๓

(๑๕) ที่สุด หรือ อันตะ ๒

(๑๖) ทุกข์ ๒

(๑๗) เทศนา ๒๑

(๑๘) เทศนา ๒๒

(๑๙) ธรรม ๒๑

(๒๐) ธรรม ๒๒

(๒๑) ธรรม ๒๓

(๒๒) ธรรม ๒๔

(๒๓) ธรรมคุ้มครองโลก ๒

(๒๔) ธรรมทำให้งาม ๒

(๒๕) ธรรมมีอุปการะมาก ๒

(๒๖) ธุระ ๒

(๒๗) นิพพาน ๒

(๒๘) บัญญัติ ๒ และ ๖

(๒๙) บุคคลหาได้ยาก ๒

(๓๐) บูชา ๒

(๓๑) ปฏิสันถาร ๒

(๓๒) ปธาน ๒

(๓๓) ปริเยสนา ๒

(๓๔) ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒

(๓๕) ปาพจน์ ๒

(๓๖) ภาวนา ๒

(๓๗) ภาวนา ๔

(๓๘) รูป ๒

(๓๙) มหาภูต ๔

(๔๐) อุปาทายรูป ๒๔

(๔๑) รูป ๒

(๔๒) ฤทธิ์ ๒

(๔๓) วิมุตติ ๒

(๔๔) เวปุลละ ๒

(๔๕) สมาธิ ๒

(๔๖) สมาธิ ๓

(๔๗) สมาธิ ๓

(๔๘) สังขาร ๒

(๔๙) สังคหะ ๒

(๕๐) สัจจะ ๒

(๕๑) สาสน์ หรือ ศาสนา ๒

(๕๒) สุข ๒

(๕๓) สุข ๒

(๕๔) สุทธิ ๒

(๕๕) อริยบุคคล ๒

(๕๖) อริยบุคคล ๔

(๕๗) อริยบุคคล ๘

(๕๘) โสดาบัน ๓

(๕๙) สกทาคามี ๓,๕

(๖๐) อนาคามี ๕

(๖๑) อรหันต์ ๒

(๖๒) อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐

(๖๓) อริยบุคคล ๗

(๖๔) อุปัญญาตธรรม ๒

>>>>> หมวด ๓ ติกะ <<<<<


(๖๕) กรรม ๓

(๖๖) กุศลมูล ๓

(๖๗) อกุศลมูล ๓

(๖๘) กุศลวิตก ๓

(๖๙) อกุศลวิตก ๓

(๗๐) โกศล ๓

(๗๑) ญาณ ๓

(๗๒) ญาณ ๓

(๗๓) ตัณหา ๓

(๗๔) ไตรปิฎก

(๗๕) ไตรลักษณ์

(๗๖) ทวาร ๓

(๗๗) ทวาร ๖

(๗๘) ทุกขตา ๓

(๗๙) ทุจริต ๓

(๘๐) สุจริต ๓

(๘๑) เทพ ๓

(๘๒) เทวทูต ๓

(๘๓) เทวทูต ๕

(๘๔) ธรรม ๓

(๘๕) ธรรมนิยาม ๓

(๘๖) นิมิต ๓

(๘๗) บุญกิริยาวัตถุ ๓

(๘๘) บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

(๘๙) บุตร ๓

(๙๐) ปปัญจะ, ปปัญจธรรม ๓

(๙๐) ปริญญา ๓

(๙๑) ปหาน ๓

(๙๒) ปัญญา ๓

(๙๓) ปาฏิหาริย์ ๓

(๙๔) ปาปณิกธรรม ๓

(๙๕) พุทธจริยา ๓

(๙๖) พุทธโอวาท ๓

(๙๗) ภพ ๓

(๙๘) ภาวนา ๓

(๙๙) รัตนตรัย

(๑๐๐) ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓

(๑๐๑) โลก ๓

(๑๐๒) โลก ๓

(๑๐๓) โลก ๓

(๑๐๔) วัฏฏะ ๓ หรือ ไตรวัฏฏ์

(๑๐๕) วิชชา ๓

(๑๐๖) วิโมกข์ ๓

(๑๐๗) วิรัติ ๓

(๑๐๘) วิเวก ๓

(๑๐๙) เวทนา ๒

(๑๑๐) เวทนา ๓

(๑๑๑) เวทนา ๕

(๑๑๒) เวทนา ๖

(๑๑๓) สมบัติ ๓

(๑๑๔) ทานสมบัติ ๓

(๑๑๕) ไตรสรณะ

(๑๑๖) สังขตลักษณะ ๓

(๑๑๗) อสังขตลักษณะ ๓

(๑๑๘) สังขาร ๓

(๑๑๙) สังขาร ๓

(๑๒๐) สัทธรรม ๓

(๑๒๑) สันโดษ ๓ และ ๑๒

(๑๒๒) สัปปุริสบัญญัติ ๓

(๑๒๓) ไตรสิกขา

(๑๒๔) อธิปไตย ๔

(๑๒๕) อนุตตริยะ ๓

(๑๒๖) อนุตตริยะ ๖

(๑๒๗) อปัณณกปฏิปทา ๓

(๑๒๘) อภิสังขาร ๓

(๑๒๙) อัคคิ ๓

(๑๓๐) อัคคิปาริจริยา

(๑๓๑) อัตถะ หรือ อรรถ ๓

(๑๓๒) อัตถะ หรือ อรรถ ๓

(๑๓๓) อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓

(๑๓๔) อาสวะ ๓

(๑๓๕) อาสวะ ๔

>>>>> หมวด ๔ จตุกกะ <<<<<

(๑๓๖) กรรมกิเลส ๔

(๑๓๗) กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔

(๑๓๘) ฆราวาสธรรม ๔

(๑๓๙) จักร ๔

(๑๔๑) เจดีย์ ๔

(๑๔๒) ทักขิณาวิสุทธิ ๔

(๑๔๓) ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔

(๑๔๔) ธรรมสมาทาน ๔

(๑๔๕) ธาตุ ๔

(๑๔๖) ธาตุกัมมัฏฐาน ๔

(๑๔๗) ธาตุ ๖

(๑๔๘) ธาตุกัมมัฏฐาน ๖

(๑๔๙) นิมิต ๔

(๑๕๐) บริษัท ๔

(๑๕๑) บริษัท ๔

(๑๕๒) บุคคล ๔

(๑๕๓) ปฏิปทา ๔

(๑๕๔) ปฏิสัมภิทา ๔

(๑๕๕) ปธาน ๔

(๑๕๖) ปรมัตถธรรม ๔

(๑๕๗) ปมาณิก ๔

(๑๕๘) ปัจจัย ๔

(๑๕๙) ปาริสุทธิศีล ๔

(๑๖๐) พรหมวิหาร ๔

(๑๖๑) ภูมิ ๔

(๑๖๒) โภควิภาค ๔

(๑๖๓) มรรค ๔

(๑๖๔) ผล ๔

(๑๖๕) มหาปเทส ๔

(๑๖๖) มหาปเทส ๔

(๑๖๗) มิตรเทียม ๔

(๑๖๘) มิตรแท้ ๔

(๑๖๙) โยคะ ๔

(๑๗๐) โยนิ ๔

(๑๗๑) เทศนาวิธี ๔

(๑๗๒) วรรณะ ๔

(๑๗๓) วิบัติ ๔

(๑๗๔) วิบัติ ๔

(๑๗๕) สมบัติ ๔

(๑๗๖) วุฑฒิธรรม ๔

(๑๗๗) เวสารัชชญาณ ๔

(๑๗๘) ศรัทธา ๔

(๑๗๙) สติปัฏฐาน ๔

(๑๘๐) สมชีวิธรรม ๔

(๑๘๑) สมาธิภาวนา ๔

(๑๘๒) สังขาร ๔

(๑๘๓) สังคหวัตถุ ๔

(๑๘๔) ราชสังคหวัตถุ ๔

(๑๘๕) สังเวชนียสถาน ๔

(๑๘๖) สัมปชัญญะ ๔

(๑๘๗) สัมปทาคุณ ๔

(๑๘๘) สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔

(๑๘๙) สุขของคฤหัสถ์ ๔

(๑๙๐) อคติ ๔

(๑๙๑) อธิษฐานธรรม ๔

(๑๙๒) อบาย ๔

(๑๙๓) อบายมุข ๔

(๑๙๔) อบายมุข ๖

(๑๙๕) อปัสเสนธรรม ๔

(๑๙๖) อริยวงศ์ ๔

(๑๙๗) อริยสัจ ๔

(๑๙๘) กิจในอริยสัจ ๔

(๑๙๙) อรูป หรือ อารุปป์ ๔

(๒๐๐) อวิชชา ๔

(๒๐๑) อวิชชา ๘

(๒๐๒) อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔

(๒๐๓) อาจารย์ ๔

(๒๐๔) อาหาร ๔

(๒๐๕) อิทธิบาท ๔

(๒๐๖) อุปาทาน ๔

(๒๐๗) โอฆะ ๔


>>>>> หมวด ๕ ปัญจกะ <<<<<

(๒๐๘) ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์

(๒๐๙) จักขุ ๕

(๒๑๐) ธรรมขันธ์ ๕

(๒๑๑) ธรรมเทสกธรรม ๕

(๒๑๒) ธรรมสวนานิสงส์ ๕

(๒๑๓) นวกภิกขุธรรม ๕

(๒๑๔) นิยาม ๕

(๒๑๕) นิโรธ ๕

(๒๑๖) นิวรณ์ ๕

(๒๑๗) เบญจธรรม

(๒๑๘) ปีติ ๕

(๒๑๙) พร ๕

(๒๒๐) พละ ๕

(๒๒๑) พละ ๔

(๒๒๒) พละ ๕ ของพระมหากษัตริย์

(๒๒๓) พหูสูตมีองค์ ๕

(๒๒๔) โภคอาทิยะ ๕

(๒๒๕) มัจฉริยะ ๕

(๒๒๖) มาร ๕

(๒๒๗) วณิชชา ๕

(๒๒๘) วิมุตติ ๕

(๒๒๙) เวสารัชชกรณธรรม ๕

(๒๓๐) ศีล ๕ หรือ เบญจศีล

(๒๓๑) สังวร ๕

(๒๓๒) สุทธาวาส ๕

(๒๓๓) อนันตริยกรรม ๕

(๒๓๔) อนุปุพพิกถา ๕

(๒๓๕) อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

(๒๓๖) ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐

(๒๓๗) อริยวัฑฒิ หรือ อารยวัฒิ ๕

(๒๓๘) อายุสสธรรม ๕

(๒๓๙) อาวาสิกธรรม ๕ (๑)

(๒๔๐) อาวาสิกธรรม ๕ (๒)

(๒๔๑) อาวาสิกธรรม ๕ (๓)

(๒๔๒) อาวาสิกธรรม ๕ (๔)

(๒๔๓) อาวาสิกธรรม ๕ (๕)

(๒๔๔) อาวาสิกธรรม ๕ (๖)

(๒๔๕) อาวาสิกธรรม ๕ (๗)

(๒๔๖) อินทรีย์ ๕

(๒๔๗) อุบาสกธรรม ๕

(๒๔๘) อุบาสกธรรม ๗

>>>>> หมวด ๖ ฉักกะ <<<<<

(๒๔๙) คารวะ หรือ คารวตา ๖

(๒๕๐) จริต หรือ จริยา ๖

(๒๕๑) สัญเจตนา ๖ หมวด

(๒๕๒) ตัณหา ๖

(๒๕๓) ทิศ ๖

(๒๕๔) ปิยรูป สาตรูป ๖ x ๑๐

(๒๕๕) วิญญาณ ๖

(๒๕๖) สวรรค์ ๖

(๒๕๗) สัญญา ๖

(๒๕๘) สัมผัส หรือ ผัสสะ ๖

(๒๕๙) สารณียธรรม ๖

(๒๖๐) อภิญญา ๖

(๒๖๑) อภิฐาน ๖

(๒๖๒) อายตนะภายใน ๖

(๒๖๓) อายตนะภายนอก ๖


>>>>> หมวด ๗ สัตตกะ <<<<<

(๒๖๔) กัลยาณมิตรธรรม ๗

(๒๖๕) ธรรมมีอุปการะมาก ๗

(๒๖๖) โพชฌงค์ ๗

(๒๖๗) ภรรยา ๗

(๒๖๘) เมถุนสังโยค ๗

(๒๖๙) วิญญาณฐิติ ๗

(๒๗๐) วิสุทธิ ๗

(๒๗๑) สัปปายะ ๗

(๒๗๒) สัปปุริสธรรม ๗

(๒๗๓) อนุสัย ๗

(๒๗๔) วัชชีอปริหานิยธรรม ๗

(๒๗๕) ภิกขุปริหานิยธรรม ๗

(๒๗๖) ภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ (๑)

(๒๗๗) อริยทรัพย์ ๗

>>>>> หมวด ๘ อัฎฐกะ <<<<<

(๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘

(๒๗๙) หลักกำหนดธรรมวินัย ๘

(๒๘๐) หลักกำหนดธรรมวินัย ๗

(๒๘๑) โลกธรรม ๘

(๒๘๒) วิชชา ๘

(๒๘๓) วิโมกข์ ๘

(๒๘๔) ศีล ๘ หรือ อัฏฐศีล

(๒๘๕) ศีล ๑๐ หรือ ทศศีล

(๒๘๖) อาชีววัฏฐมกศีล

(๒๘๗) สมาบัติ ๘

(๒๘๘) สัปปุริสทาน ๘

(๒๘๙) สัปปุริสธรรม ๘

>>>>> หมวด ๙ นวกะ <<<<<

(๒๙๐) นวังคสัตถุสาสน์

(๒๙๑) พุทธคุณ ๙

(๒๙๒) พุทธคุณ ๒

(๒๙๓) พุทธคุณ ๓

(๒๙๔) ธรรมคุณ ๖

(๒๙๕) สังฆคุณ ๙

(๒๙๖) มละ ๙

(๒๙๗) มานะ ๙

(๒๙๘) โลกุตตรธรรม ๙

(๒๙๙) วิปัสสนาญาณ ๙

(๓๐๐) สัตตาวาส ๙

(๓๐๑) อนุบุพพวิหาร ๙


>>>>> หมวด ๑๐ ทสกะ <<<<<

(๓๐๒) กถาวัตถุ ๑๐

(๓๐๓) กสิณ ๑๐

(๓๐๔) กามโภคี ๑๐

(๓๐๕) กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐

(๓๐๖) กิเลส ๑๐

(๓๐๗) กุศลกรรมบถ ๑๐

(๓๐๘) กุศลกรรมบถ ๑๐

(๓๐๙) อกุศลกรรมบถ ๑๐

(๓๑๐) เถรธรรม ๑๐

(๓๑๑) ทสพลญาณ

(๓๑๒) นาถกรณธรรม ๑๐

(๓๑๓) บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี

(๓๑๔) ทศพิธราชธรรม

(๓๑๕) วัตถุประสงค์ในการบัญญัติวินัย ๑๐

(๓๑๖) วิปัสสนูปกิเลส ๑๐

(๓๑๗) สังโยชน์ ๑๐

(๓๑๘) สังโยชน์ ๑๐

(๓๑๙) สัญญา ๑๐

(๓๒๐) สัทธรรม ๑๐

(๓๒๑) สัมมัตตะ ๑๐

(๓๒๒) มิจฉัตตะ ๑๐

(๓๒๓) อนุสติ ๑๐

(๓๒๔) อสุภะ ๑๐

(๓๒๕) อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐


>>>>> หมวดเกิน ๑๐ อดิเรก ทสกะ <<<<<

(๓๒๖) กรรม ๑๒

(๓๒๗) จักรวรรดิวัตร ๑๒

(๓๒๘) ปฏิจจสมุปบาท

(๓๒๙) อายตนะ ๑๒

(๓๓๐) ธุดงค์ ๑๓

(๓๓๑) กิจ หรือ วิญญาณกิจ ๑๔

(๓๓๒) จรณะ ๑๕

(๓๓๓) ญาณ ๑๖

(๓๓๔) จิตตอุปกิเลส ๑๖

(๓๓๕) ธาตุ ๑๘

(๓๓๖) อินทรีย์ ๒๒

(๓๓๗) ภูมิ ๔ หรือ ๓๑

(๓๓๘) โพธิปักขิยธรรม ๓๗

(๓๓๙) มงคล ๓๘

(๓๔๐) กรรมฐาน ๔๐

(๓๔๑) เจตสิก ๕๒

(๓๔๒) จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หนังสือธรรมต่าง ๆ


บทเจริญพระพุทธมนต์ สืบสานพระราชปณิธาน "ธรรมราชินี"


บทเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๒


พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (ภาษาไทย)


มงคล : สิ่งที่เป็นมงคล ๓๘

คาถาธรรมบททั้งหมด ๓๐๒ เรื่อง

----