สิทธิ ของคนไทยต้องได้รับ

สิทธิที่ท่านต้องได้รับจากหน่วยงานของรัฐ ทันทีโดยไม่ต้องร้องขอ

- สิทธิตามรัฐธรรมนูญ

- สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือ ไปเป็นพยานในคดี (ในถิ่นที่อยู่ 200 บาท ในต่างจังหวัด 500 บาท) ค่าอาหาร ที่พักตกลงกัน

- สิทธิการได้รับเงินค่าเยียวยา กรณีถูกจับผิดตัว ยื่นเรื่องเรียกร้องภายใน 1 ปี

- สิทธิการได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่าย ในการใช้บริการสาธารณูประโภคของรัฐ กับผู้มีรายได้น้อย

- สิทธิการได้รับเงินเพื่อคนพิการ

- สิทธิการได้รับเงินเพื่อผู้สูงอายุ

- สิทธิการได้รับลดหย่อนค่าโดยสาร สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ จากบริการสาธารณะของรัฐ

- สิทธิการได้รับเงินค่าส่งเสริมสนับสนุน จัดการทำศพผู้สูงอายุตามประเพณี 2,000 บาท ยื่นเรื่องเรียกร้องภายใน 1 เดือน

- สิทธิการได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด แจกเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ เดือนละ 600 บาท

- สิทธิการได้รับการรักษาพยาบาล จากโรงพยาบาลสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง เรียกรถกรณีฉุกเฉิน 1669 ฟรี

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝากครรภ์ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ ด้วยบัตรประชาชนไทยใบเดียว

สตรีไทยทุกคนที่ตั้งครรภ์ ทันทีที่ตนทราบ รีบไปฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ฟรี

ฝากครรภ์เร็ว ก่อน 12 สัปดาห์ เป็นผลดีต่อสุขภาพเด็ก และผู้ตั้งครรภ์

ได้รับการตรวจทั้งแม่และเด็ก ด้วยเครื่องมือทันสมัย ได้รับยาบำรุงครรภ์ปกติ 5 นัด และดูแลแม่และเด็กต่อเนื่องตลอด 5 ปี

ข้อมูลจะเข้าระบบของกระทรวงสาธารณะสุข เชื่อมโยงสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ

ลงทะเบียนที่หนึ่ง ไปรับบริการตรวจตามนัด ในอีกที่หนี่งได้ สะดวกต่อเนื่อง ไม่ต้องกังวล

ผู้ฝากครรภ์ จะได้รับบัตรตรวจสุขภาพแม่ และบัตรตรวจสุขภาพเด็ก พร้อมกัน

แสดง ตัวอย่าง

(ตัวอย่างผังการดำเนินงาน)

สิทธิประโยชน์นี้ ฟรีทั้งหมด จากบริการของรัฐ ได้แก่ค่าใช้จ่ายดูแลครรภ์ ทั้งเด็กและผู้ตั้งครรภ์ (ไม่รวมถึงการคลอด)

--------------------------------------------------------

การใช้สิทธิ เมื่อประสพภัยจากรถ

- บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด รับแจ้งเหตุ-ร้องเรียน-ปรีกษา 1791

44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-100-9191 แฟ็กซ์ 02-643-0293-4 proyoonp@rvp.co.th

มีหน้าที่ จ่ายค่าสินไหมทดแทน ตาม พ.ร.บ. แทนทุกบริษัทประกันภัย

ไม่ว่าท่านจะมีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัทใด ผู้ประสบภัย ทายาท ผู้รับมอบอำนาจ หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาล

ผู้รักษาพยาบาลสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน จากบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ

โดยที่ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด

วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน

  • 1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
  • 2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม 35,000 บาท
  • 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น
      • หมายเหตุ ค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล แก่ผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการ
      • และจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ
      • (ประกาศใช้ 1 ตุลาคม 2547)

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย


1. กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท

2. กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท

3. สูญเสียอวัยวะ

- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000 บาท

- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท

- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 300,000 บาท

4. ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน 4,000 บาท


* ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

หมายเหตุ สำหรับกรมธรรม์ที่เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป


เอกสารประกอบที่ใช้เพื่อเบิกค่าสินไหมทดแทน

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai Rsc

การใช้สิทธิ เมื่อประสพภัยจากรถสาธารณะ

โดย จนท.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค คุณเสาวนีย์

ต้องการเรียกรับสิทธิ ปรึกษา โทร. 02-248-3737, 089-788-9152

การทำเอกสารเรียกรับสิทธิ เพื่อนำสำเนาไปใช้ประกอบการยื่นขอใช้สิทธิต่างๆ ต่อไป

ต้องมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจไว้ก่อนทันที รวมทั้งแจ้งทรัพย์สินที่เสียหายค้วย

ต้องเก็บตั๋วโดยสารไว้กับตัว ตลอดการเดินทาง

1. จาก พรบ. ภาคบังคับ รถทุกคันต้องมี ผู้บาดเจ็บไม่ต้องจ่ายเงินสำรองค่ารักษาพยาบาล

1.1. กรณีเสียชีวิต เป็นค่าปลงศพ 200,000 บาท กรณีเข้ารักษาพยาบาล ตามจริงไม่เกิน 50,000 บาท

1.2. เงินชดเชยรายวัน นอนรักษาที่โรงพยาบาลวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน

2. จาก ประกันภัยภาคสมัครใจของรถ รถคันใหนจะทำหรือไม่ก็ได้ ไม่มีทำทุกคัน

วงเงินประกันภัย จ่ายต่อครั้งกรณีเสียชีวิตไม่เกิน 250,000 บาท จ่ายต่อครั้งตามกรรมธรรม์ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง

ที่เอกสารแนบท้ายกรณีอุบัติเหตุส่วนบุคคล(PA) ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 100,000 บาท และกรณีเสียชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท

ผู้ประสพภัยจากรถ เรียกรับได้ทันที ทั้ง 2 ข้อ รวมกัน โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ใครถูกผิด

เช่น กรณีเสียชีวิคได้รับ 300,000 บาททันที

ติดตามประกาศ จำนวนเงินที่กองทุนจะจ่ายให้อัตราใหม่ปี 2558 รักษาพยาบาล ตามจริงไม่เกิน...และทรัพย์สินที่เสียหายไม่เกิน...

3. ค่าชดเชย จากบริษัทรถผู้ทำเหตุ โดยการเจรจาไกล่เกลี่ย ถ้าได้รับไม่พอใจ ต้องยื่นฟ้องศาลบังคับ (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาผู้บริโภค เน้นคดีทางแพ่ง)

เช่น ค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องหลังจากอุบัติเหตุ ค่าทำขวัญ ผู้ประสพเหตุต้องสำรองจ่ายไปก่อนเสมอ (เก็บเอกสารการชำระเงินไว้ด้วย)

แล้วเรียกร้องเอากับประกันภัย และจากบริษัทฯ รถ มักจะไม่ยอมจ่าย หรือจ่ายล่าช้า เป็นต้น

ข้อสังเกต การยอมรับค่าสินไหม เป็นจำนวนเงิน มีการลงชื่อ ยกเว้นไม่เอาความ คดีอาญา ควรปรึกษา เช่น

ฝ่ายตรวจสอบสิทธิที่โรงพยาบาล (อยู่ใกล้ๆ กับช่องรับบัตรผู้ป่วย) ที่เรารักษาอยู่ หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก่อน

ก่อนขึ้นรถบริการสาธารณะ

ต้องดูแผ่นป้ายทะเบียนว่าเป็น "สีเหลือง"

มีแผ่นป้าย พรบ. แสดงไว้หน้ารถ

ดูจำนวนบรรทุกผู้โดยสารว่าไม่เกินที่ระบุไว้

ดูลักษณะอาการผู้ขับรถว่ามีอาการอ่อนเพลียหรือไม้

ถ้าเป็น "รถตู้บริการ" ต้องวิ่งได้ภายในระยะไม่เกิน 300 กิโลเมตร

ถ้าระยะทางเกิน 400 กิโลเมตร ต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน ทำหน้าที่ผลัดกัน มีจุดพักรถ

ถ้าขับรถถึง 4 ชั่วโมง ต้องหยุดพักรถ 30 นาที และคนขับควรลงจากรถ เปลี่ยนอริยาบทไปด้วย

ศูนย์การควบคุมการเดินรถ กรมการชนส่งทางบก จะดำเนินการติดอุปกรณ์กับรถ บ.ข.ส. เส้นทางยาวก่อน

สำหรับท่านผู้บริโภค

ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างเข้มงวด ก่อนใช้บริการ

รถตู้โดยสารสาธารณะทุกคัน (ไม่ว่ารถเก่าหรือรถใหม่) ต้องมีเข็มขัดนีรภัยทุกที่นั่งผู้โดยสาร

จำนวนที่นั่ง ต้องเท่ากับที่จดทะเบียนไว้ข้างท้ายรถ (จะไม่เกิน 18 ที่นัง) ผู้โดยสารต้องไม่นั่งที่เสริม หรือเบียดกันไป

และถ้าพบเห็นสถานะการไม่ปกติ โทร. แจ้งตามหมายเลขข้างต้น จะปลอดภัย จ้า...

ผมขอรณรงค์ ให้เด็กสวมหมวกกันน๊อค เมื่ออยู่บนรถมอร์เตอร์ไซด์ ทุกคน...

ชมรมคนห่วงหัว ชวนพุทธศาสนิกชนทำบุญแนวใหม่ ถวาย “สังฆทานหมวกกันน็อก

“หมวกกันน็อกมีอิทธิฤทธิ์ช่วยชีวิตได้ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่”

พุทธศาสนิกชนที่สนใจเข้าร่วม สอบถามข้อมูลที่ชมรมคนห่วงหัวในมูลนิธิเมาไม่ขับ

โทรศัพท์ 02-254-0044 , 02-254-5959 หรือดูเว็บไซด์ มูลนิธิเมาไม่ขับ