เที่ยววัด ทำบุญ

ได้ข่าวมาว่ามีท่องเที่ยวไหว้พระทางเรือ กทม. กำลังหาข้อมูล อยู่จ้า...

ไปกันมาแล้ว 17 มิย. 2555 เที่ยว วัดพราหมณี นมัสการ หลวงพ่อปากแดง

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนไปเที่ยว วัด

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเรียนรู้ ระเบียบปฏิบัติ ในการไปวัด

หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวพุทธที่ดี คือ การเรียนรู้วิธีปฏิบัติในการไปวัดเพื่อจะได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องดังนี้

๑. การแต่งกาย ไปวัด

ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ถ้ามีลายก็เป็นลายเรียบๆ เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบางจนเกินไป ไม่หรูหราจนเกินไป เสื้อผ้าไม่ควรหลวมหรือรัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ

สำหรับผู้หญิงควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ควรตกแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องสำอาง ตลอดจนใส่น้ำหอมมากจนเกินไป ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บจนเกินงาม

เหตุที่ควรปฏิบัติเช่นนี้เพราะวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คนไปวัดเพื่อทำบุญ ทำจิตใจให้สงบ จึงควรตัดเรื่องปรุงแต่งกิเลสเหล่านี้ออกไปเสียก่อน

๒. การนำเด็กหรือบุคคลอื่นๆ ไปวัด

เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก เพราะทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนา ตั้งแต่อยู่ในวัยอันสมควร แต่มีข้อระวังคือ อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อให้เกิดความรำคาญ หรือในกรณีที่เด็กซุกซน อาจจะส่งเสียงดังรบกวนสมาธิของผู้อื่นที่ต้องการความสงบ

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำบุคคลอื่นๆ เช่น พนักงานขับรถหรือคนรับใช้ไปวัดด้วย ก็ควรเปิดโอกาวให้เขาได้ร่วมทำบุญด้วย และกวดขันเรื่องกิริยามารยาทและการแต่งกาย การขับรถเข้าไปในบริเวณวัด ควรระมัดระวังในเรื่องการใช้แตร การเร่งเครื่องยนต์เสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระกำลังสวด และการจอดรถก็ควรจอดให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่ทางวัดได้กำหนดไว้

๓. การเตรียมอาหาร ไปวัด

อาหารที่เหมาะสมสำหรับการนำไปถวายพระภิกษุนั้น ควรเป็นอาหารที่เรารับประทานกันทั่วไป คือ ปรุงจากพืช ผัก หรือเนื้อสัตว์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด แต่ควรระมัดระวังอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุ อันได้แก่

อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบๆ เลือดดิบๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ฯลฯ จนกว่าจะทำให้สุกด้วยไฟ นอกจากนั้น ไม่ควรนำอาหารที่ปรุงด้วยสุราที่มีสีหรือกลิ่นหรือรสปรากฏชัดไปถวายพระภิกษุสงฆ์ และอย่าฆ่าสัตว์โดยจำเพาะเจาะจงว่าจะนำเนื้อนั้นไปทำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์

๔. การเตรียมตัวก่อน ไปวัด

อาจจะทำได้ดังนี้ คือ

๑. จัดทำภารกิจของตนให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นที่กังวล

๒. ทำจิตใจให้แจ่มใส โดยการระลึกถึงบุญกุศลและคุณงามความดีที่เคยได้ทำมาแล้ว

๓. รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเพื่อทำใจให้บริสุทธิ์

๕. การปฏิบัติตนโดยทั่วไป ภายในวัด

วัดเป็นที่รวมของคนหลายประเภทซึ่งแตกต่างกันมาก ทั้งอายุ ฐานะ และความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนนิสัยใจคอ โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังสำรวมตน โดยปฏิบัติดังนี้

๑. สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองด้วยประการทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อให้กาย วาจา ใจ ของเราเหมาะสมที่จะบำเพ็ญบุญกุศล

๒. งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด

๓. ควรนั่งให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่กำหนดไว้

๔. ในการประกอบศาสนพิธี เช่น สวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน

๕. เมื่อมีสิ่งใดทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน กระหายน้ำ เห็นหรือได้ยินกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมของคนอื่น หรือการไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่างๆ ขอให้อดทนและแผ่เมตตา ให้ความเห็นอกเห็นใจทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าให้เกิดโทสะขึ้นได้

๖. การสนทนากับพระ ในการสนทนากับพระนั้น หากเป็นผู้ชายไม่ค่อยมีระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดนัก เพียงแต่ให้ตระหนักว่าเป็นการสนทนากับพระ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของสังคม มีเพศ คือ สถานะทางสังคมเหนือกว่าตน

เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของท่าน ควรจะกราบพระพุทธปฏิมาที่ประดิษฐานอยู่ในนั้นก่อน แล้วจึงกราบพระสงฆ์ ซึ่งนิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับคนที่ต้องแสดงความเคารพอย่างสูง

ทุกครั้งที่พูดกับท่านควรพนมมือไหว้

สรรพนามที่ใช้เรียกตนเอง เช่น "กระผม" "ดิฉัน" โดยมองที่สถานะของพระเป็นตัวกำหนด หากท่านเป็นพระธรรมดา

สรรพนามที่เรียกพระ มักนิยมคำว่า "ท่าน" "พระคุณเจ้า" หากเป็น

พระที่มีสมณศักดิ์สูงก็อาจจะใช้คำว่า "ใต้เท้า" "พระเดชพระคุณ" "พระคุณ" "เจ้าพระคุณ"

สำหรับสมเด็จพระสังฆราชใช้คำว่า "ฝ่าบาท" สรรพนามแทนตนเองใช้คำว่า "กระหม่อม"

ในกรณีที่เป็นสตรีนั้น ควรมีผู้ชายไปด้วยจะเป็นการดี เพราะพระท่านอาจจะมีปัญหาทางพระวินัย ต้องอาบัติได้ง่ายเมื่ออยู่กับสตรีสองต่อสอง

ที่มา : หนังสือวิถีธรรมวิถีไทย(พระพุทธศาสนา) โดย สุชาดา วราหพันธ์

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พิธีกรรม

ที่จะกล่าวในบทนี้เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการ ประกอบพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วในหมวดต้น ๆ มาชี้แจงเพื่อความรู้ และเพื่อเป็นทางปฏิบัติ

แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่มิได้ชี้แจงไว้ข้างต้นเพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ

๑. วิธีแสดงความเคารพพระ

๒. วิธีประเคนของพระ

๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย

๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม

๕. วิธีกรวดน้ำ

จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปตามลำดับ

๑. วิธีแสดงความเคารพพระ

ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระ ก็เพื่อแสดงให้ปรากฏว่า ตนมีความนับถือ ด้วยกายและใจจริง การแสดงให้ปรากฏนี้ส่วนใหญ่แสดงออกทางกาย ซึ่งส่อซึ้งถึงน้ำใจอย่างเด่นชัด พระที่ควรแก่การแสดงความเคารพ ได้แก่ พระพุทธรูปรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น ๑ พระภิกษุสามเณรผู้ทรง เพศอุดมกว่าตน ๑ การแสดงความเคารพต่อพระดังกล่าวนี้ จะนำมาชี้แจงในที่นี้เพียง ๓ วิธี คือ

ก. ประนมมือ

ข. ไหว้

ค. กราบ

ประนมมือ ตรงกับหลักที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “ทำอัญชลี” คือ การกระพุ่มมือทั้งสอง ประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีเหลื่อมล้ำกว่ากัน หรือกางให้ห่าง ตั้งกระพุ่มมือ ที่ประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน มีลักษณะ คล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้าง ชิดชายโครง ไม่ให้กางห่างออกไป แสดงอาการอย่างนี้ เรียกว่าประนมมือ เป็นการแสดง ความเคารพ เวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสวดและฟังเทศน์ เป็นต้น แสดงอย่างเดียวกัน ทั้งชายทั้งหญิง

ไหว้ ตรงกับที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “นมัสการ” หรือ “วันทา” คือการยกมือที่ประนม แล้วขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมจดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือ ทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว อย่างนี้เรียกว่า ไหว้ ใช้แสดงความเคารพพระ ในขณะนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอย่างเดียวกันทั้งชายและหญิง

๒. วิธีประเคนของพระ

การประเคนของพระ คือ การถวายของให้พระได้รับถึงมือ ของที่ประเคนนั้น ต้องเป็น ของที่คนเดียวพอยกได้อย่างธรรมดา ไม่ใช่ของหนัก หรือใหญ่โตจนเกินไป ไม่มีวัตถุอนามาส คือ เงินทอง หรือของกะไหล่ด้วยเงินแท้หรือทองแท้ปนอยู่ด้วย เพราะเป็นของไม่เหมาะแก่ภาวะ ของพระที่จะรับได้ และถ้าเป็นของเคี้ยวของฉัน ต้องประเคนได้เฉพาะในกาล เวลาวิกาลตั้งแต่ เที่ยงแล้วไปจนถึงย่ำรุ่งวันใหม่ ไม่ควรนำมาประเคน วิธีประเคนนั้นพึงปฏิบัติ ดังนี้

ก. พึงนำของประเคนเข้าไปให้ใกล้พระผู้รับ ประมาณ ๑ ศอก (ไม่ถึงศอก หรือไม่ เกินศอกคืบก็ได้) จะนั่งหรือยืนแล้วแต่สถานที่ที่พระนั่งอยู่นั้นอำนวย

ข. จับของที่ประเคนด้วยมือทั้งสองก็ได้ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นเล็กน้อย แล้วน้อม ถวายพระซึ่งท่านจะยื่นมือทั้งสองออกมาจับ ถ้าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของลงบนผ้ากราบ ที่พระปูรับอยู่ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี หนหนึ่ง

หลักสำคัญของการประเคนนี้ ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่ใช่เสือกไส หรือทิ้ง ให้โดยไม่เคารพ

๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณา ถวายจตุปัจจัย

การอาราธนาพระ ก็คือการนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่าง ๆ ต้องทำให้เป็น กิจจะลักษณะ แต่ปางก่อนใช้อาราธนาด้วยวาจาเป็นพื้น แต่ในปัจจุบันนี้มีนิยม ทำหนังสืออาราธนา ความมุ่งหมายก็เพื่อแจ้งกำหนดงานและรายการให้พระสงฆ์ทราบ หนังสืออาราธนานี้ เรียกกันว่า ฎีกานิมนต์พระ มีข้อความที่จะแสดงเป็นตัวอย่าง ดังนี้

“ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก...รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดพระพุทธมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนาแล้วแต่กรณี) ในงาน.....ที่บ้านเลขที่..... ตำบล.....อำเภอ......กำหนดวันที่.....เดือน......พ.ศ.......เวลา.....น.

(หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาต เช้า หรือ เพล ให้บอกด้วย ถ้าต้องการ ตักบาตรหรือปิ่นโต ก็ต้องบอกไว้ในฎีกาให้นำไปด้วย)

ถ้างานนั้นมีเรือหรือรถรับส่ง ก็ให้หมายเหตุบอกไว้ท้ายฎีกานั้น เพื่อพระจะได้ทราบ ล่วงหน้า การวางฎีกานิมนต์พระนี้ ถ้าเป็นพระวัดเดียวกัน ไม่ต้องทำฎีกานิมนต์ เป็นรายองค์ ก็ได้ เป็นแต่ระบุจำนวนพระหรือรายชื่อพระที่ต้องการให้ทางวัดจัดนิมนต์ ต่อให้ก็ได้

และในการถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ ที่นิมนต์มาประกอบพิธีต่าง ๆ ก็มี นิยมถวายค่า จตุปัจจัยเป็นพิเศษจากไทยธรรมอีกส่วนหนึ่งด้วยในการถวายค่าจตุปัจจัยนี้ นิยมทำใบปวารณา ถวาย คือ ถวายด้วยใบปวารณาความมุ่งหมายก็เพื่อสงเคราะห์ ให้ภิกษุได้รับค่าจตุปัจจัยนั้น โดยชอบด้วยวินัย ใบปวารณานี้ มีแบบนิยมเป็นฉบับ ดังนี้

“ขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้าเป็น มูลค่า.....บาท ....สต. หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ”

ใบปวารณานี้ นิยมกลัดติดกับผ้าที่ทอดในงานอวมงคล หรือถวายเฉพาะใบ หรือไม่ ก็ใส่ซองแล้วรวมถวายไปกับเครื่องไทยธรรมในทุก ๆ งาน ส่วนเงินค่าจตุปัจจัยนั้น มอบไปกับ กัปปิยการก คือศิษย์ผู้มากับพระนั้น

๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร

อาราธนาธรรม

การอาราธนา คือ การเชื้อเชิญพระสงฆ์ในพิธีให้ศีล ให้สวดพระปริตร หรือให้แสดงธรรม เป็นธรรมเนียมมีมาแต่ดั้งเดิมที่จะต้องอาราธนาก่อน พระสงฆ์จึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ และการอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมกันมาก็มี ๓ กรณีเท่านั้น

วิธีอาราธนา นิยมกันว่า ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูงเจ้าภาพและแขกนั่งเก้าอี้ ผู้อาราธนาเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับแถวพระสงฆ์ตรงกับรูปที่ ๓ หรือที่ ๔ ห่างแถวพระสงฆ์ พอสมควรหันหน้าไปทางโต๊ะที่บูชา ประนมมือไหว้พระพุทธรูปก่อนแล้วยืนประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาตามแบบที่ต้องการ ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำธรรมดา เจ้าภาพและแขกอื่น ก็นั่งกับพื้น ผู้อาราธนาต้องเข้าไปนั่งคุกเข่าต่อหน้าแถวพระสงฆ์ตรงหัวหน้า กราบพระที่โต๊ะบูชา ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาที่ต้องการตามแบบ คือ

พิธีสวดมนต์เย็น อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร

พิธีเลี้ยงพระ อาราธนาศีล

พิธีถวายทานทุกอย่าง อาราธนาศีล

พิธีเทศน์ ถ้าเทศน์ต่อจากสวดมนต์ ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล เริ่มต้นด้วย อาราธนาพระปริตร แล้วอาราธนาศีล ตอนพระขึ้นเทศน์ รับศีลแล้วอาราธนาธรรมต่อ แต่ถ้า สวดมนต์กับเทศน์ไม่ได้ต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นคนละพิธี ตอนสวดมนต์ก็อาราธนา ตามแบบ พิธีสวดมนต์เย็นที่กล่าวแล้ว ตอนเทศน์ก็เริ่มต้น ด้วยอาราธนาศีลก่อน จบรับศีลแล้วจึงอาราธนา ธรรม

พิธีสวดศพต่าง ๆ เช่น สวดแจง สวดพระอภิธรรม เป็นต้น ถ้าไม่มีพิธีอื่นนำ หน้าให้ อาราธนาศีลก่อน ถ้ามีพิธีอื่นนำหน้าแล้วไม่ต้องอาราธนาศีล

คำอาราธนาศีล ๕ ในพิธีการ

มยํ ภนฺเต

วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺถาย

ติสรเณน สห

ปญฺจ สีลานิ ยาจาม

ทุติยมฺปิ..........

ตติยมฺปิ..........

คำอาราธนาพระปริตร

วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา

สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ

วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา

สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ

วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา

สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ ฯ

คำอาราธนาธรรม

พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ

กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ

สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา

เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ

๕. วิธีกรวดน้ำ

เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วยวิธีนิยม ทำกันดังนี้ คือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑี ขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่ม อนุโมทนาด้วยบท ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำ โดยตั้งใจ นึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับ ภาชนะน้ำริน ใช้มือซ้ายประคอง แล้วว่าบทกรวดน้ำในใจไปจนจบ การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงในที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ ที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควร เช่น ถาดหรือขัน เป็นต้น รองน้ำกรวดไว้เสร็จแล้วจึงนำไป เทลงดินตรงที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาด เพราะน้ำที่กรวดเป็น สักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจสะอาดจริง ๆ

คำกรวดน้ำที่นิยมว่ากันในเวลากรวดทั่ว ๆ ไป มีอยู่ ๓ แบบ คือ แบบสั้น แบบย่อ และแบบยาว ว่าเฉพาะคำบาลีเท่านั้น ดังนี้

คำกรวดน้ำแบบสั้น (คำอุทิศของพระเจ้าพิมพิสาร)

อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ (ว่า ๓ จบ)

หากจะเดิมพุทธภาษิตต่อว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย” ก็ได้

คำแปล

ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด

“ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด”

คำกรวดน้ำแบบย่อ เรียกคาถาติโลกวิชัย

ยงฺกิญฺจิ กุสลํ กมฺมํ กตฺตพฺพํ กิริยํ มม

กาเยน วาจามนสา ติทเส สุคตํ กตํ

เย สตฺตา สญฺ�ญิโน อตฺถิ เย จ สตฺตา อสญฺ�ิโน

กตํ ปุญฺ�ผลํ มยฺหํ สพฺเพ ภาคี ภวนฺตุ เต

เย ตํ กตํ สุวิทิตํ ทินฺนํ ปุญฺ�ผลํ มยา

เย จ ตตฺถ น ชานนฺติ เทวา คนฺตฺวา นิเวทยุํ

สพฺเพ โลกมฺหิ เย สตฺตา ชีวนฺตาหารเหตุกา

มนุญฺ�ํ โภชนํ สพฺเพ ลภนฺตุ มม เจตสา.

คำแปล

กุศลกรรมซึ่งเป็นกิริยาควรทำอันหนึ่งด้วยกายวาจาใจ อันจะเป็นเหตุนำไปให้เกิดใน สวรรค์ชั้นไตรทศเทพ ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ขอสัตว์ซึ่งมีสัญญา และไม่มี สัญญาทุกหมู่เหล่า จงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วนั้น เหล่าสัตว์ที่รู้ผลบุญอันที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอจงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าอุทิศให้ ในบรรดาสรรพสัตว์จำพวกใด ไม่รู้ข่าวถึง บุญข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอเทพยดาทั้งหลายจงนำไปบอกแก่สัตว์จำพวกนั้น ขอสัตว์ทุกหมู่ ในชีวโลก ซึ่งเสพอาหารเป็นเครื่องเลี้ยงชีพ จงได้เสวยซึ่งโภชนะอันพึงใจ ด้วยอำนาจเจตนา อุทิศของ ข้าพเจ้านี้เถิด ฯ

คำกรวดน้ำแบบยาว เป็นคาถาของเก่า

อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อุปชฺฌายา คุณุตฺตรา

อาจริยูปการา จ มาตา ปิตา จ ญาตกา (ปิยา มมํ)

สุริโย จนฺทิมา ราชา คุณวนฺตา นราปิ จ

พฺรหฺมมารา จ อินฺทา จ โลกปาลา จ เทวตา

ยโม มิตฺตา มนุสฺสา จ มชฺฌตฺตา เวริกาปิ จ

สพฺเพ สตฺตา สุขี โหนฺตุ ปุญฺญานิ ปกตานิ เม

สุขญฺจ ติวิธํ เทนฺตุ ขิปฺปํ ปาเปถ โว มตํ

อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อิมินา อุทฺทิเสน จ

ขิปฺปาหํ สุลเภ เจว ตณฺหุปาทานเฉทนํ

เย สนฺตาเน หินา ธมฺมา ยาว นิพฺพานโต มมํ

นสฺสนฺตุ สพฺพทาเยว ยตฺถ ชาโต ภเว ภเว

อุชุจิตฺตํ สติปญฺญา สลฺเลโข วิริยมฺหินา

มารา ลภนฺตุ โนกาสํ กาตุญฺจ วิริเยสุ เม

พุทฺธาธิปวโร นาโถ ธมฺโม นาโถ วรุตฺตโม

นาโถ ปจฺเจกพุทฺโธ จ สงฺโฆ นาโถตฺตโร มมํ

เตโสตฺตมานุภาเวน มาโรกาสํ ลภนฺตุ มา.

คำแปล

ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำนี้ ขอพระอุปัชฌาย์ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล อีกทั้ง อาจารย์ผู้ได้สั่งสอนข้าพเจ้ามา ทั้งมารดาบิดาและคณาญาติทั้งสิ้น ตลอดจน พระอาทิตย์พระจันทร์ และพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ในเอกเทศแห่งเมทนีดล และนรชนผู้มีคุณงามความดี ทั้งหลาย ทุกถิ่นฐาน อีกท้าวมหาพรหมกับหมู่มาร และท้าวมัฆวานเทวราช ทั้งเทพเจ้าผู้ฉกาจรักษา โลกทั้ง สี่ทิศ และพญายามราชอีกมวล มิตรสหาย ทั้งผู้ขวนขวายวางตนเป็นกลาง และผู้เป็นศัตรู ของข้าพเจ้าทุก ๆ เหล่า จงมีความเกษมสุขนิราศภัย ขอบุญที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ด้วยไตรทวาร จงบันดาลให้สำเร็จไตรพิธสุข ถึงความเกษมปราศจากทุกข์ คือ พระอมตมหานฤพานโดยพลัน อีกโสดหนึ่งนั้น ด้วยบุญกรรมนี้และอุทิศเจตนานี้ ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุทันทีซึ่งการตัดขาด ตัณหาอุปาทาน ธรรมอันชั่วในสันดานจงพินาศไปหมด จนตราบเท่าถึงนิพพาน สิ้นกาลทุกเมื่อ เทียว แม้ว่าข้าพเจ้ายังจะท่องเที่ยวไปเกิดในภพใด ๆ ก็ขอให้มีจิตซื่อตรง ดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรกล้าสามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหาย ขอหมู่มารเหล่าร้ายอย่าได้ กล้ำกรายสบโอกาส เพื่อทำให้ข้าพเจ้าพินาศคลายความ เพียรได้ อนึ่งไซร้ พระพุทธเจ้าผู้เป็น ที่พึ่งอันยิ่งอย่างประเสริฐ พระธรรมเป็นที่พึ่งอัน ล้ำเลิศยิ่งประมาณ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง อันไพศาล และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอัน อุดมยิ่งประมาณของข้าพเจ้านี้ ด้วยอานุภาพอันอุดมดีพิเศษ สูงสุดของพระรัตนตรัย ขออย่าให้หมู่มารได้โอกาสทุกเมื่อไป เทอญ ฯ

นอกจากคำกรวดน้ำทั้ง ๓ แบบตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคำกรวดน้ำอีกแบบหนึ่ง เป็น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ เรียก ปัตติทานคาถา ดังนี้

ปุญฺ�สฺสิทานิ กตสฺส ยานญฺ�านิ กตานิ เม

เตสญฺจ ภาคิโน โหนฺตุ สตฺตานนฺตาปฺปมาณกา

เย ปิยา คุณวนฺตา จ มยฺหํ มาตาปิตาทโย

ทิฏฺฐา เม จาปฺยทิฏฺฐา วา อญฺเ� มชฺฌตฺตเวริโน

สตฺตา ติฏฺฐนฺติ โลกสฺมึ เตภุมฺมา จตุโยนิกา

ปญฺเจกจตุโวการา สํสรนฺตา ภวาภเว

�าตํ เย ปตฺติทานมฺเม อนุโมทนฺตุ เต สยํ

เย จิมํ นปฺปชานนฺติ เทวา เตสํ นิเวทยุํ

มยา ทินฺนาน ปุญฺ�านํ อนุโมทนเหตุนา

สพฺเพ สตฺตา สทา โหนฺตุ อเวรา สุขชีวิโน

เขมปฺปทญฺจ ปปฺโปนฺตุ เตสาสา สิชฺฌตํ สุภา.

คำแปล

สัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญอันข้าพเจ้าทำแล้ว ณ บัดนี้ ด้วย แห่งบุญทั้งหลายอื่นอันข้าพเจ้าทำแล้วด้วย เหล่าใดเป็นที่รักและมีคุณ มีมารดาและบิดา ของข้าพเจ้าเป็นต้น เหล่าที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว หรือแม้ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น แล้วเหล่าอื่น ที่เป็น ผู้มัธยัสถ์เป็นปานกลางและเป็นผู้มีเวร สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโลก เป็นไปในภูมิสาม เป็นไป ในกำเนิดสี่ มีขันธ์ห้า มีขันธ์หนึ่ง มีขันธ์สี่ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยและภพใหญ่ ความให้ส่วนบุญ ของข้าพเจ้าอันสัตว์ทั้งหลายเหล่าใดรู้แล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงอนุโมทนาเองเถิด ส่วนสัตว์ ทั้งหลายเหล่าใดยังไม่รู้ซึ่ง ความให้ส่วนบุญของข้าพเจ้านี้ ขอเทพยดาทั้งหลาย พึงบอกแก่สัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นให้รู้ (แล้วอนุโมทนา) เพราะเหตุคืออนุโมทนาซึ่งบุญทั้งหลายอันข้าพเจ้าได้ให้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร เป็นผู้ดำรงชีพโดยสุขทุกเมื่อเถิด จงถึงซึ่งบทอันเกษม คือพระนิพพาน ขอความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นจงสำเร็จ เถิด ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

ทำเนียบวัดไทย

วัดทั้งหมดทั่วประเทศแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา คือวัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรม คำว่า วิสุงคามสีมา ในที่นี้หมายถึงเขตที่ พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างโบสถ์ ส่วนสำนักสงฆ์ คือ วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา จึงไม่มีอุโบสถ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา สถานที่ชุมนุมสำคัญ ของพุทธศาสนาสนิกชน หรือสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาก็คือ วัด ในประเทศไทยมีวัดเป็นจำนวนมาก แบ่งออกเป็น พระอารามหลวง หรือ วัดหลวง วัดราษฎร์ และวัดร้าง

พระอารามหลวง หมายถึงวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง หรือทรงรับไว้เป็นวัดของพระราชวงศ์ หรือเป็นวัดที่ทรงอุปถัมภ์นั้น แต่ละวัดอาจมีฐานะ หรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของวัดหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้

๑.พระอารามหลวง ชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีความสำคัญ มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี ๓ ระดับ คือ

๑) ราชวรมหาวิหาร

๒) ราชวรวิหาร

๓) วรมหาวิหาร

๒.พระอารามหลวง ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ มี ๔ ระดับ คือ

๑) ราชวรมหาวิหาร

๒) ราชวรวิหาร

๓) วรมหาวิหาร

๔) วรวิหาร

๓.พระอารามหลวง ชั้นตรี ได้แก่วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี ๓ ระดับ คือ

๑) ราชวรวิหาร

๒) วรวิหาร

๓) วัดที่ไม่มีสร้อยต่อท้าย (สามัญ)

วัดราษฎร์ หมายถึงวัดที่ประชาชนสร้าง หรือปฏิสังขรณ์ เช่น วัดประสาทบุญญาวาส

วัดร้าง หมายถึงวัดที่ทรุดโทรม ไม่มีพระสงฆ์พำนักอาศัยจำพรรษา ทางราชการจะขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งหากบูรณะได้อาจยกเป็นวัดมีพระสงฆ์ต่อไป เช่น วัดไชยวัฒนาราม (พระนครศรีอยุธยา)

พระอารามหลวงเริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ วัดหลวงที่มีฐานะสูงสุด คือ ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร มีทั้งหมด ๖ วัด อยู่ในกรุงเทพมหานคร ๔ วัด คือ

อีก ๒ วัดนั้นอยู่ต่างจังหวัด ได้แก่

วัดในประเทศไทย

วัดประจำรัชกาล

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๑

วัดอรุณราชวราราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๒

วัดราชโอรสาราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดประจำรัชกาลที่ ๓

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดประจำรัชกาลที่ ๔

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดประจำรัชกาลที่ ๕

วัดบวรนิเวศวิหาร

พระอารามหลวง ชั้นเอก

ที่ประทับสมเด็จพระสังฆราช

วัดประจำรัชกาลที่ ๖

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดประจำรัชกาลที่ ๗

วัดสุทัศนเทพวราราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๘

คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

วัดตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วัดประจำรัชกาลที่ ๙

** ข้อมูลวัดประจำรัชกาลจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรุงเทพมหานคร

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระแก้วมรกต

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พระอารามหลวง ชั้นเอก

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดบวรนิเวศวิหาร

พระอารามหลวง ชั้นเอก

ที่ประทับสมเด็จพระสังฆราช

วัดพระศรีมหาธาตุ

พระอารามหลวง ชั้นเอก

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดจักรวรรดิราชาวาส

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดเทพศิรินทราวาส

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดประยุรวงศาวาส

พระอารามหลวง ชั้นโท

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดมกุฎกษัตริยาราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดชนะสงคราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดระฆังโฆสิตาราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดพิชยญาติการาม

พระอารามหลวง ชั้นโท

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดราชนัดดาราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดสระเกศ

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดราชาธิวาส

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดราชสิทธาราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดอนงคาราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดโสมนัสวิหาร

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดสุวรรณาราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดบรมนิวาส

พระอารามหลวง ชั้นโท

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร

พระอารามหลวง ชั้นโท

เจ้าคณะภาค ๓

วัดไตรมิตรวิทยาราม

พระอารามหลวง ชั้นโท

หลวงพ่อทองคำสุโขทัยไตรมิตร

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดดุสิดาราม

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดเทพธิดาราม

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดยานนาวา

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดสัมพันธวงศาราม

พระอารามหลวง ชั้นตรี

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดบุปผาราม

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดปทุมวนาราม

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดชิโนรสาราม

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดราชผาติการาม

พระอารามหลวง ชั้นตรี

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดปากน้ำ

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดอินทรวิหาร

พระอารามหลวง ชั้นตรี

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดยางสุทธาราม

บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

วัดเสมียนนารี

วัดพัฒนาตัวอย่าง ปี ๒๕๓๑

วัดนาคปรก

พระปางนาคปรก

ภาคกลาง

คลิ๊กอ่านรายละเอียด

พุทธมณฑล

อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก

คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดอโศการาม

จ.สมุทรปราการ

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดญาณเวศกวัน

อ.สามพราน จ.นครปฐม

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต)

คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดพระปฐมเจดีย์

จ.นครปฐม

พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร

คลิ๊กอ่าน ข้อมูลวัด
คลิ๊กอ่าน ข้อมูลวัด

วัดพระพุทธบาท

จ.สระบุรี

พระอารามหลวงชั้นเอก

ชนิดราชวรมหาวิหาร

วัดเสนาสนาราม

จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดสุวรรณดาราราม

จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดนิเวศธรรมประวัติ

จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอารามหลวง ชั้นเอก

คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดพนัญเชิง

จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอารามหลวงชั้นโท

วัดปรมัยยิกาวาส

จ.นนทบุรี

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดโสธรวราราม

จ.ฉะเชิงเทรา

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดพระนอนจักรสีห์

จ.สิงห์บุรี

พระอารามหลวง ชั้นตรี

คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดหน้าพระเมรุราชิการาม

จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอารามหลวงชั้นตรี

วัดพิกุลทอง

จ.สิงห์บุรี

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดโบสถ์์

จ.สิงห์บุรี

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วิหารพระมงคลบพิตร

จ.พระนครศรีอยุธยา

พระมงคลบพิตร

คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดมเหยงคณ์

จ.พระนครศรีอยุธยา

สำนักวิปัสสนา บวชเนกขัมม

วัดปัญญานันทาราม

จ.ปทุมธานี

ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรต์ จังหวัดปทุมธาน

วัดบัวงาม

จ.ราชบุรี

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดมหาธาตุ วรวิหาร

จ.ราชบุรี

พระอารามหลวง ชั้นตรี

คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดปากคลองมะขามเฒ่า

จ.ชัยนาท

หลวงปู่ศุข

วัดสวนแก้ว

จ.นนทบุรี

พระพยอม กัลยาโณ

วัดไชโยวรวิหาร

จ.อ่างทอง

พระมหาพุทธพิมพ์

วัดป้อมวิเชียรโชติการาม

จ.สมุทรสาคร

วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา

ภาคตะวันออก

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดญาณสังวราราม

จ.ชลบุรี

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดเขาสุกิม

จ.จันทบุรี

ศูนย์ปฏิบัติธรรมสายวิปัสสนา

วัดหนองสนม

อ.เมือง จ.ระยอง

ศูนยเผยแผ่พระพุทธศานาจังหวัดระยอง

ภาคเหนือ

คลิ๊กอ่าน ข้อมูลวัด
คลิ๊กอ่าน ข้อมูลวัด
รายละเอียด
คลิ๊กอ่าน ข้อมูลวัด

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

จ.พิษณุโลก

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดพระสิงห์

จ.เชียงใหม่

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดพระธาตุหริภุญไชย

จ.ลำพูน

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

จ.สุโขทัย

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดพระธาตุดอยสุเทพ
คลิ๊กดูรายละเอียด
วัดท่าตอน จ.เชียงใหม่
วัดพระแก้ว จ.เชียงราย

วัดพระธาตุดอยสุเทพ

อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระอารามหลวง ชั้นโท

วัดพระธาตุศรีจอมทอง

จ.เชียงใหม่

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดท่าตอน

จ.เชียงใหม่

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดพระแก้ว

จ.เชียงราย

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง
วัดท่าหลวง
วัดนาควัชรโสภณ

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

จ.ลำปาง

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

จ.ลำปาง

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดท่าหลวง

อ.เมือง จ.พิจิตร

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดนาควัชรโสภณ

อ.เมือง จ.กำแพงเพชร

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดจองกลาง-จองคำ
วัดร่องขุ่น
วัดโพธิ์ประทับช้าง
วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดจองกลาง-วัดจองคำ

อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

โบราณสถานคู่เมืองแม่ฮ่องสอน

วัดร่องขุ่น

จ.เชียงราย

วัดราษฏร์

วัดโพธิ์ประทับช้าง

อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร

วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา

วัดพระธาตุลำปางหลวง

อ.เกาะคา จ.ลำปาง

โบราณสถานคู่เมืองลำปาง

วัดพระธาตุแช่แห้ง
วัดพระแท่นศิลาอาสน์
คลิ๊กอ่านรายละเอียด
คลิ๊กอ่านรายละเอียด

วัดพระธาตุแช่แห้ง

จ.น่าน

พระบรมธาตุแช่แห้ง

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

พระแท่นศิลาอาสน์

วัดคีรีวงศ์

จ.นครสวรรค์

วัดราษฏร์

วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร (ธ)

จ.เชียงใหม่

พระอารามหลวง ชั้นตรี

ภาคตะวันออก

คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดญาณสังวราราม

จ.ชลบุรี

พระอารามหลวง ชั้นเอก

คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดเขาสุกิม

จ.จันทบุรี

ศูนย์ปฏิบัติธรรมสายวิปัสสนา

คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดหนองสนม

อ.เมือง จ.ระยอง

ศูนยเผยแผ่พระพุทธศานาจังหวัดระยอง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดพระธาตุพนม

จ.นครพนม

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม

จ.นครราชสีมา

พระพุทธสกลสีมามงคล

วัดกลางมิ่งเมือง

จ.ร้อยเอ็ด

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดพระนารายณ์มหาราช

จ.นครราชสีมา

พระอารามหลวง ชั้นตรี

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดบึง

จ.นครราชสีมา

พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดหนองป่าพง

จ.อุบลราชธานี

วัดป่า สายปฏิบัติธรรม หลวงปู่ชา

วัดเขาพระอังคาร

จ.บุรีรัมย์

โบราณสถานเก่าแก่

วัดกลางกาฬสินธุ์

จ.กาฬสินธุ์

พระอารามหลวง ชั้นตรี

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดหินหมากเป้ง

จ.หนองคาย

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

วัดทุ่งศรีเมือง

จ.อุบลราชธานี

วัดเก่าแก่

วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

วัดป่าภูก้อน

อ.นายูง จ.อุดรธานี

พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติ

ภาคใต้

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดพระมหาธาตุ

จ.นครศรีธรรมราช

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดพระบรมธาตุไชยา

จ.สุราษฎร์ธานี

พระอารามหลวง ชั้นเอก

วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)

จ.ปัตตานี

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้

วัดชลธาราสิงเห

จ.นราธิวาส

วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย

คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด
คลิ๊กดูรายละเอียด

วัดมัชฌิมาวาส

จ.สงขลา

พระอารามหลวง ชั้นตรี

สวนโมกขพลาราม

จ.สุราษฎร์ธานี

สำนักปฏิบัติธรรม

โดยท่านพุทธทาส ภิกขุ

วัดถ้ำขวัญเมือง

จ.ชุมพร

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

วัดไทยในต่างประเทศ

ส ห รั ฐ อ เ ม ริ ก า

+ Link to www.watwashington.org
+ Link to www.vipassana.iirt.net

วัดป่าอภัยคีรี สหรัฐอเมริกา

สาขาวัดป่าหนองพง ตามแนวทางของหลวงปู่ชา สุภัทโธ

วัดวอชิงตันพุทธวนาราม

รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

วัดพุทธวิปัสสนา เมืองลองบีช

รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

+ Link to วัดใหม่สามัคคีธรรม
+ Link to วัดพรหมคุณาราม
+ Link to วัดไทยลอสแอนเจลิส

วัดใหม่สามัคคีธรรม

รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

วัดพรหมคุณาราม

รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา

วัดไทยลอสแอนเจลิส

รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

+ Link to วัดสามัคคีธรรมาราม
+ Link to วัดพุทธานุสรณ์
+ เปิดเว็บ : วัดพุทธวราราม

วัดสามัคคีธรรมาราม

รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

วัดพุทธานุสรณ์

รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

วัดพุทธวราราม

รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

+ เปิดเว็บ : วัดมงคลรัตนาราม
+ เปิดเว็บ : วัดธรรมาราม นครชิคาโก
+ เปิดเว็บ : วัดพุทธธรรม

วัดมงคลรัตนาราม

รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

วัดธรรมาราม นครชิคาโก

รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

วัดพุทธธรรม

รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

+ เปิดเว็บ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นครชิกาโก
+ เปิดเว็บ : วัดไทยวอชิงตัน ดี.ซี.
+ เปิดเว็บ : วัดพุทธวิหารนานาชาติมิดเวสต

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

วัดไทยวอชิงตัน ดี.ซี.

รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา

วัดพุทธวิหารนานาชาติมิดเวสต์

รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา

+ เปิดเว็บ : วัดพุทธยานันทาราม ลาสเวกัส
+ เปิดเว็บ : วัดมงคลเทพมุนี
+ เปิดเว็บ : วัดพุทธาวาส ฮิวส์ตัน

วัดพุทธยานันทาราม ลาสเวกัส

รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

วัดมงคลเทพมุนี

รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา

วัดพุทธาวาส ฮิวส์ตัน

รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา

+ เปิดเว็บ : วัดมั่งมีศรีสุข
+ เปิดเว็บ : วัดญาณรังสี
+ เปิดเว็บ : วัดไทยลาสเวกัส

วัดมั่งมีศรีสุข

รัฐนอร์ธแคโรไลน่า สหรัฐอเมริกา

วัดญาณรังสี

รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

วัดไทยลาสเวกัส

รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

+ เปิดเว็บ : วัดวชิรธรรมปทีป นครนิวยอร์ก
+ เปิดเว็บ : วัดแคโรไลน่าพุทธจักรวนาราม
+ เปิดเว็บ : วัดธรรมประทีป

วัดวชิรธรรมปทีป นครนิวยอร์ก

รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

วัดแคโรไลน่าพุทธจักรวนาราม

รัฐนอร์ธแคโรไลน่า สหรัฐอเมริกา

วัดธรรมประทีป วอชิงตัน ดี.ซี.

รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา

+
+
วัดบุศย์ธรรมวนาราม

วัดป่าชิคาโก

เมืองเบอร์แบงค์ รัฐอิลลินอยส์

วัดบุศย์ธรรมวนาราม

ฟอร์ทเวิร์ท Texas, usa.

นิวซีแลนด์

+ Link to http://watyarn.net.nz/

วัดญาณประทีป

วัดไทยในนิวซีแลนด์

สวิสเซอร์แลนด์

+ Link to http://www.wat-thai.ch

วัดศรีนครินทรวราราม

วัดไทยในสวิสเซอร์แลนด์

วัดเฉลิมพระเกียรติในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีี

สวีเดน

+ Link to http://www.buddharam.se/

วัดพุทธาราม

วัดไทยในสวีเดน

อ อ ส เ ต ร เ ลี ย

+ Link to www.watdhammarangsee.com

วัดธรรมรังษี ออสเตรเลีย

วัดไทยในออสเตรเลีย

อังกฤษ

+ Link to www.foresthermitage.org.uk/
+ Link to www.watthaiuk.com
+ คลิกชมวัดฯ

วัดป่าสันติธรรม

วัดไทยในอังกฤษ

สาขาวัดป่าหนองพงที่ ๑๕๘

วัดพุทธวิหารแอสตัน

เมืองเบอร์มิงแฮม

ประเทศอังกฤษ

วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร์

เมืองแมนเชสเตอร์

ประเทศอังกฤษ

อินเดีย

+ Link to www.watthaikusinara.org

เนปาล

+ Link to Watthai Lumbini

วัดไทยลุมพินี

วัดไทยในเนปาล

เยอรมัน

วัดป่าอนาลโย เยอรมันนี
วัดพุทธธรรม มิวนิค

วัดป่าอนาลโย

วัดไทยในเยอรมัน

วัดพุทธธรรม มิวนิค

วัดไทยในเยอรมัน

นอร์เวย์

วัดไทยนอร์เวย์

วัดไทยนอร์เวย์

วัดไทยในนอร์เวย์

** Last update : 17/09/2007 **

เว็บมาสเตอร์ธรรมะไทย ...

ในหัวข้อนี้ เว็บไซต์ธรรมะไทยขอแนะนำวัดไทยในต่างประเทศที่มีเว็บไซต์ของวัดครับ ส่วนท่านที่ต้องการข้อมูลวัดไทยในต่างประเทศอื่นๆ ดูที่หัวข้อ ข้อมูลวัดไทยในต่างแดน ครับ...