สมุนไพรเครื่องยาจีน

สมุนไพรเครื่องยาจีน 43 ชนิด

ในการปรุงอาหาร มีส่วนในการเสริมสร้างและบำรุงร่างกายที่สึกหรอ เสื่อมสมรรถภาพ เป็นยาอายุวัฒนะ


สรรพตุณ

1. เห็ดหลินจือ

ขึ้นตามโคนของรากไม้ ช่วยบำรุงและเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยย่อยอาหาร บำบัดอาการ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ธาตุพิการ และหอบหืด

2. กีจี้ หรือ ซัวกีจี้

ใบมีกลิ่นหอม ผลกินได้ ช่วยบำรุงเลือด ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ ห้ามเลือด ใช้บำบัดอาการแน่นหน้าอก กระสับกระส่าย ดีซ่าน และอาการต่าง ๆ ที่มีเลือดออกได้

3. บักหมี่ฮวย หรือดอกนุ่น

เป็นดอกไม้มีขนาดใหญ่ สีแดง ใช้บำบัดอาการร้อนใน ช่วยถอนพิษ ห้ามเลือด รักษาฝีหรือแผลในกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบ บิด และอาการบวมหลังคลอดบุตรได้อีกด้วย

4. แปะไจ๊

นิยมใช้ส่วนรากที่ตากแห้งแล้วจนบิดงอ ม้วนขดเป็นก้อนกลม มีรสหวาน เป็นยาช่วยขับเสมหะ แก้ไอ หอบหืด ขับลม ช่วยบำบัดอาการหายใจลำบาก และมีเสมหะตั่งต้างในปอดได้ เป็นต้น

5. แปะก๊วย

ช่วยบำรุงปอด แก้หอบฆ่าพยาธิ และใช้บำบัดอาการวิงเวียนศรีษะ หูอื้อ ปัสสาวะบ่อย รวมทั้งโรคหลอดลมอักเสบด้วย สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ หากนำใบมาย่างไฟจะให้ผลในทางกลับกัน คือช่วยควบคุมปริมาณปัสสาวะได้

6. เก็กฮวย

เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลเบญจมาศนิยมนำส่วนดอกมาใช้ เป็นยาช่วยย่อยขยายหลอดเลือด ขับลม บำรุงตับ บำรุงสายตา ถอนพิษ บำบัดโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดตีบได้

7. ฉั่งฉิก หรือชำฉิก

ช่วยห้ามเลือด ระงับปวด แก้อาการบวม ห้อเลือดท้องอืดท้องเฟ้อ เหมาะสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร สตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น เพิ่มเกล็ดเลือด และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับเลือดได้ผลดีมาก

8. เต็งฮยง หรือกานพลู

เป็นส่วนดอกตูมของต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอมค้อนข้างแรง มีสาร Eugenol ซึ่งมีสรรพคุณช่วยในการฆ่าเชื้อได้ดี สามารถนำมาอมหรือผสม ในยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก เพื่อให้ลมหายใจหอมได้

9. ห่วยซัว

ส่วนรากมีสรรพคุณเสริมสร้างร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพในการย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง ลดเหงื่อ บำรุงใต และใช้ได้ผลมากกับอาการที่เกิด จากโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำ ซูบผอม ปัสสาวะมาก รวมทั้งอาการ เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ เบื่ออาหารก็ได้

10. ใบปี่แป๊

ประกอบด้วยกรดตาร์ตาริก กรดซิตริกกรดมาลิก น้ำมันหอมระเหย แทนนิก วิตามินบี และวิตามินซี ใช้ใบช่วยบำรุงปอด ขับลม ละลายเสมหะ แก้ไอ แก้อาเจียน บำบัดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาการไอจากไข้หวัดใหญ่ และอาการไอที่มีเลือดปนได้

11. อั่งจ้อ หรือพุทราจีนชนิดแดง

มีรสหวาน กินง่าย กลื่นหอมอ่อน ๆ ช่วยเพิ่มพลัง เสริมสร้างกระเพาะอาหารและม้าม บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอ ขาดแคลนอาหาร รักษาโรคโลหิตจาง โรคเม็ดเลือดแดงน้อยได้

12. ซึงกี หรือกิ่งหม่อน

ได้จากกิ่งของต้นหม่อนที่อุดมไปด้วยน้ำตาลฟรักโตส เจลาติน และแคลเซี่ยม และเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอ แก้ร้อนใน ช่วยให้ข้อกระดูกเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ขับปัสสาวะ แก้อาการไอแบบมีเสมหะ ไอหอบ แน่นหน้าอก และปวดตามเส้นเอ็นได้

13. บ๊วยดำ

ได้จากผลบ๊วยที่ยังไม่แก่ เมล็ดในมีน้ำมัน สรรพคุณทางยา สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อแบ็คทีเรีย เชื้ออหิวาต์ เชื้อวัณโรค บิด ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดใหญ่ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ลดไข้ แก้กระหาย ป้องกันการติดเชื้อในลำใส้ได้อีกด้วย

14. แปะจี้ ป้ายจื่อ หรือโกษฐ์สอจีน

ลักษณะลำต้นกลวง มีขนปกคลุม กลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติขมมัน ใช้ระงับประสาท ระงับปวด แก้ไข้ แก้หืด บำรุงเลือดลม แก้ตกขาว ขับลม บำบัดอาการปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ อาการวิงเวียนในสตรีอันเนื่องจากเลือดลมผิดปกติได้

15. ซัวจูยู้

ใช้ผลตากแห้งที่แกะเมล็ดออกแล้ว รสชาติฝาดอมเปรี้ยว ช่วยบำรุงตับและใต บำบัดอาการเหงื่อออกมาก รอบเดือนมามากผิดปกติ เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ บำรุงประสาท เสริมสร้างร่างกายที่อ่อนแอ ปรับความดันโลหิต โรคกระเพาะอาหาร และบำรุงสายตาได้

16. วุ่ยฮึง หรือเมล็ดเทียนข้าวเปลือก

เป็นเม็ดของต้นเฟนเนล (Fennel seed) เป็นเมล็ดเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าว สีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม รสหวานซ่า มีน้ำมันหอมระเหยและมีกลิ่นเฉพาะตัว แก้ไขอาการหายใจไม่ทั่วท้อง หายใจติดขัด รักษาอาการท้องใส้ไม่ปกติ แก้ปวดฟัน ช่วยย่อยอาหารได้ดี

17. เห็ดหูหนูขาว

ช่วยเสริมสร้างร่างกาย บำรุงปอดและกระเพาะอาหาร ช่วยให้ปอดชุ่มชื้น ชุ่มคอ บำบัดอาการอ่อนเพลีย วัณโรคปอด ไอแห้ง ไอมีเสมหะ มีเลือดปน เลือดกำเดาไหล กระอักเลือด ช่วยให้คอเลสเตอรอลในเลือดตกตะกอนแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจ และช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ดี

18. เทียนหน่ำแซ

นิยมใช้ส่วนรากหรือหัวที่อยู่ใต้ดิน มีรสขม เผ็ด ช่วยขจัดความชี้นในร่างกาย แก้ไอ ละลสยเสใหะ ขับลม แก้บวม แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ แน่นหน้าอกลิ้นเป็นฝ้าขาว ลมบ้าหมู ลมชักในเด็ก ชักกระตุก ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แผลในช่องปาก ใช้พอกฝีที่บวม ฟกช้ำดำเขียว แมลงสัดกัดต่อยได้

19. แปะฮะ

ดอกสีขาวหรือส้ม ส่วนเหง้ามีเนื้อมาก อุดมด้วยโปรตีน ไขมัน แป้ง แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และเหล็ก แก้ร้อนใน บำรุงหัวใจ ระงับประสาท แก้ไอ ขับเสมหะ ใช้บำบัดโรคประสาทอ่อน อ่อนเพลีย หลอดลมอักเสบเรื้อรัง วัณโรคปอด อาการนอนไม่หลับ และบำบัดอาการอาเจียรเป็นเลือดได้

20. ดอกไม้จีน หรือกิมจำเช่า

นิยมใช้ในส่วนที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีน แตลเซี่ยม ฟอสฟอรัส เหล็ก โปรแตสเซี่ยม โปรตีน ไขมัน วิตามินเอ บี ซี มีสรรพคุณแก้ร้อนใน ขยายกระบังลม และบำบัดริดสีดวงทวาร ไอหรืออาเจียรเป็นเลือด ไข้ กระหายน้ำ นอนไม่หลับ อีกทั้งใช้เป็นยาบำรุงได้

21. เหี่ยเฮียะ หรือโกฐจุฬาจีน

นิยมใชใบซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะตัว รสชาติขมอมเผ็ด เป็นยาห้ามเลือด สลายความเย็นในร่างกาย แก้ปวด ปวดประจำเดือน ตกขาว ช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี ปรับเลือดลม บำรุงครรภ์ แก้หืด ไอ ขับเสมหะ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบ และใช้ต้มกับต้นหอมกินแก้หวัดได้

22. ซึงเกียแซ หรือกาฝากต้นหม่อน

เป็นต้นกาฝากที่มีขึ้นอยู่ตามต้นหม่อน ช่วยเสริมสร้างเส้นเอ็น บำรุงตับ ไต เลือด ช่วยขับลม บำรุงครรภ์ เพิ่มน้ำนมในสตรี ใช้บำบัดอาการปวดตามเส้นประสาทที่เอวและหัวเข่า ลดอาการเมื่อยเท้า ปวดหลัง ชาตามแขนและขา บำบัดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดตีบแข็งได้ผลดี

23. ตังกุย หรือโกฐเชียง

มีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว รสชาติหวานขม ได้จากส่วนราก ที่มีสีน้ำตาลปนเทา ใช้ได้ผลดีมากกับโรคในสตรี ประจำเดือนผิดปกติ ขับระดู ตกมูกเลือด นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บำบัดอาการปวดประจำเดือน โลหิตจาง แก้หวัด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้ไข้สะอึกได้ ในอาหารจีนนิยมใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

24. โป๊ยกั๊ก หรือจันทร์แปดกลีบ

มีรสหวานเล็กน้อย ได้จากส่วนผลแห้งสีน้ำตาลที่แตกออกเป็น 7-8 แฉก ในแต่ละแฉกมีเมล็ดอยู่ด้านใน 1 เมล็ด มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะตัว มีสรรพคุณแก้อาเจียร แก้ปวด บำบัดอาการปวดท้อง ท้องผูก อีกทั้งยังใช้ปรุงกลิ่นรสในอาหาร ในยาสีฟัน ยาอม ใส่ในเครื่องดื่ม ฃ่วยขับลมและขับเสมหะได้ดี

25. ซวงเจีย หรือพริกเสฉวน

ได้จากผลของต้น Zanthoxylum piperitum ลักษณะคล้ายเม็ดพริกไทย มีเปลือกหุ้ม เมื่อแตกออกมีเมล็ดสีดำอยู่ข้างใน รสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมรุนแรง สรรพคุณคล้ายพริกไทย ให้ความอบอุ่นในส่วนท้อง ระงับปวด แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารและม้ามขับหนาว ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าพยาธิ

26. ฮ้อซิ่งโอว

ใช้ส่วนรากอันอุดมไปด้วยแป้ง ไขมัน น้ำคาล โดยกินเป็นอาหารหรือยาก็ได้ ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยทำความสะอาดลำไส้ เพิ่มสมรรถภาพในการย่อยและดูดซึมอาหาร บำรุงตับ ใต ไขกระดูก ช่วยให้ผมดำสลวย บำบัดวัณโรค ขจัดคอเลสเตอรอล ป้องกันหลอดเลือดตีบแข็ง ฆ่าเชื้อไวรัส และบรรเทาอาการท้องร่วง

27. ชะโก เชาโก หรือเฉาก๊วยจี้

ได้จากผลและต้นเฉาก๊วยซึ่งเป็นต้นไม้ล้มลุก มีสีน้ำตาลขนาดเท่าลูกสมอ ใช้กลิ่นหอมในอาหาร รสชาติเผ็ดเล็กน้อย เมล็ดและผิวเปลือกมีสารหอมระเหย มีสรรพคุณช่วยขับความเย็นความชื้นออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยชับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร คลื่นไส้อาเจียน อาหารไม่ย่อย และบำบัดอาการแน่นท้อง

28. อึ้งคี้ หรือปักคี้

มีรสหวานอ่อนและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้ส่วนรากโดยตัดส่วนที่กลวงและรากฝอยออกแล้วตากแห้ง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือดลม ขับปัสสาวะ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค บำบัดอาการอ่อนล้า บวมน้ำ เป็นยาบำรุงในคนชราและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เพราะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำในร่างกาย และลดความดันโลหิตได้

29. ไซเอี่ยเซียม

มีรสหวานออกขมเล็กน้อย นิยมใช้รากหรือหัวที่อยู่ใต้ดินที่มีลักษณะคล้ายรูปกระสวย นำมาตากแห้ง ช่วยบำรุงปอด แก้อาการอ่อนเพลีย สำหรับผู้มีอาการอ่อนแอหรือมีไข้ แก้ร้อนใน ไอแห้ง มีเสมหะน้อย หอบ ทั้งยังใช้กับผู้ป่วยวัณโรคปอดเพื่อขยายหลอดลม สร้างความชุ่มชื้นแก่ปอด ลดอาการเจ็บคอ ปากแห้ง และฟื้นฟูกำลังวังชาได้ดี

30. กุยพ้วย หรืออบเชยจีน

ได้จากส่วนเปลือกแห้งของต้นอบเชย ช่วยขับลมบำรุงธาตุแก้ท้องขึ้น ท้องเสีย บิด จุเสียด ปวดศรีษะ อาเจียร หลอดลมอักเสบ อาการปวดท้องในสตรีหลังคลอดบุตร ปวดประจำเดือน มีน้ำมันหอมระเหยและกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้สูดดมแก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ขับเสมหะ ใช้ยรรเทาอาการปวดข้อ ตะคริวกล้ามเนื้ออักเสบได้

31. ตังเซียม

ประกอบด้วย โปรตีน คาโบไฮเดรตกลูโคส อัลคาลอยด์ วิตามิน บี 1 และ บี 2 ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะอาหาร บำรุงเลือดลม และลดความดันโลหิต อีกทั้งยังช่วยเพิ่มเม็ดโลหิตขาว จึงใช้บำบัดโรคลิวโคพีเนีย (Leukopenia) หรืออาการเม็ดเลือดน้อยลง สำหรับผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก หน้าซีด กลัวลม มีเหงื่อออกมากอันเกิดจากสมรรถภาพการทำงานของปอดเสื่อมได้

32. รากโสม

มีหลายชนิด ส่วนที่ใช้คือรากของต้นโสม รสชาตินุ่มปนขมเล็กน้อย ประกอบด้วยกรดโสม น้ำตาล น้ำมันหอมระเหย วิตามินบี 1 บี รวม และโคลีน ช่วยบำรุงร่างกาย เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกระเพาะอาหาร ระงับประสาท เสริมภูมิต้านทานโรค เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ แขนขาไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร หายใจขัด อีกทั้งยังบำบัดอาการโลหิตจางและเลือดลมผิดปกติ

33. เก๋าคี้จี้ หรือเก้ากี้

เป็นผลของไม้เลื้อยชนิตหนึ่ง เมื่อสุกมีสีแดงสด ให้รสหวาน ช่วยบำรุงตับ ใต เสริมสร้างกระดูก ขับลม ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก บำรุงโลหิต บำรุงสายตา แก้ไอ แก้เจ็บคอ ปวดศรีษะ ช่วยให้นอนหลับสบาย มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล จึงใช้บำบัดโรคเบาหวานได้ ช่วยยับยั้งการจับตัวของเซลส์ไขมัน และกระตุ้นการสร้างเซลส์ใหม่ในตับได้อีกด้วย

34. ปั้วแห่ หรือซาเฮียะปั้วแห่

ใช้ส่วนเหง้าหรือลำต้นใต้ดินซึ่งเป็นก้อนกลม เนื้อในสีขาว มีแป้งเป็นส่วนประกอบมาก มีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยาขจัดความชื้น ละลายเสมหะ คลื่นใส้อาเจียน ไอ แน่นหน้าอก ปวดศรีษะ ตกขาว ไอหอบ บีบอัดแน่นท้อง เรอ หรือใช้เป็นยาแก้ฝีบวม ขับเลือด และบำรุงสายตาได้

35. แปะเต่าโข่ว

เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระวาน ใช้ส่วนผลแห้งที่มีรูปทรงเกือบกลม เปลือกสีเหลืองนวลบางกรอบและแตกง่าย ผิวเรียบเป็นมัน มีรสเผ็ด และกลิ่นหอม ช่วยขจัดความชื้นในร่างกายขับลม ให้ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร แก้อาเจียน ท้องอืด แน่นท้อง อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไข้จับสั่น พิษสุรา และช่วยย่อยอาหาร บำบัดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้

36. ตังถั่งแห่เช่า ตังถั่งเช่า หรือถั่งเช่า

พบที่ตัวดักแด้ทั้งในตัวแก่และตัวอ่อนของหนอน Silkworm moth เป็นตัวห่อหุ้มตัวหนอนไว้ในช่วงฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนตัวหนอนตายแล้วจึงจะงอกออกมาทางส่วนหัว มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างร่างกาย เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้ไอ ช่วยให้นอนหลับง่าย ระงับประสาท และขยายหลอดลม จึงใช้บำบัดอาการเมื่อยล้า กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ และอาการปวดเอวได้

37. เจ็กลั้ง

นิยมใช้ทั้งต้น เป็นไม้ล้มลุกไม่ใหญ่นัก มีรสขมอมเผ็ด มีน้ำมันหอมระเหยในตัว ช่วยในการไหลเวียนของเลือด สลายลิ่มเลือดหรือเลือดคั่ง บรรเทาอาการบวมน้ำ ลดอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ กระตุ้นการทำงานของลำไส้เล็ก เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ลดอาการบาดเจ็บห้อเลือด เลือดกำเดา อาเจียนมีเลือดปน ปวดศรีษะ เป็นฝีบวม หรือปวดตาได้

38. โอวเอี๊ยะ

ใช้ส่วนรากตากแห้ง มีรสเผ็ด ช่วยขับความเย็นภายในร่างกาย ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น แก้ปวดแน่นหน้าอก ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย คลื่นใส้อาเจียน ปวดท้องเฉียบพลัน แก้เหน็บชา ปัสสาวะบ่อย บำบัดอาการผิดปกติของกระเพาะและม้าม ปวดศรีษะ ขับพยาธิ อาการฟกช้ำ ปวดตามข้อกระดูก ไขข้ออักเสบ ขับลม และแก้ท้องอืด

39. ตี่ยู้ แปะตี่ยู้ หรือเซียะตี่ยู้

ใช้ส่วนรากหรือลำต้นใต้ดิน ลักษณะรูปกรวยกลมหรือแท่งกลม รสชาคิขมฝาด ช่วยห้ามเลือด ถอนพิษ สมานแผล ไอ อาเจียน เลือดกำเดาไหล ท้องร่วง อุจจาระหรือปัสสาวะมีเลือดปน ริดสีดวงทวาร ฝีบวม ขับหนอง แผลเปื่อยพุพองตามผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ขับร้อน ไล่ความชื้น บำรุงสมอง บำรุงสายตา แก้ปวดท้อง โรคกระเพาะ และอาการเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ได้

40. ซวงเก็ง ซวงซีอง หรือโกฐหัวบัว

เป็นพืชที่มีลำต้นกลวง สูง 30-60 ซม. ใช้ส่วนรากซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย รสเปรี้ยวเล็กน้อย ใช้แก้หวัด ขับลม ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น แก้ปวด ระงับประสาท ลดความดันโลหิต โลหิตจาง แก้โรคริดสีดวง แก้อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง และขยายหลอดเลือด อาการประจำเดือนผิดปกติ ปวดประจำเดือน ปวดศรีษะ อาเจียนเป็นเลือด ขับพยาธิ ลดอาการปวดตามข้อกระดูกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

41. แปะฮวยจั่วจิเช่า หรือจั่วจิเช่า

สามารถใช้ได้ทั้งต้น ให้รสหวานอ่อนและขมเล๋กน้อย ช่วยดับร้อน ถอนพิษ ขับความชื้นในร่างกาย ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ บำบัดอาการไอเนื่องจากปอดทำงานผิดปกติ ต่อมทอนซิลอักเสบ คออักเสบ คางทูม ฝี สิวบวม ไส้ติ่งอักเสบ บิด ดีซ่าน ตับอักเสบและท้องมารในเด็กได้ดี

42. เซ้งมัว

ใช้ส่วนเหง่าหรือราก รสชาติขม ช่วยในการขับพิษออกจากร่างกายดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับเม็ดตุ่มหัดตามผิวหนังในระยะเริ่มแรก บำบัดอาการปวด เจ็บคอ คอบวม ปวดฟัน แผลในช่องปากและลิ้น อาการท้องร่วงเรื้อรัง มดลูกหย่อน แผลฝีต่าง ๆ สลายอาการเลือดคั่ง เจ็บบริเวณชายโครง ท้องร่วงเรื้อรัง อีกทั้งยังใช้ขับพิษร้อนในปอดได้

43. แซตี่

ได้จากส่วนรากของต้นตี่อึง ประกอบด้วยสารแมนนิทอล (Mannitol) อัลคาลอยด์ กรดไขมัน น้ำตาลกลูโคส วิตามินเอ มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น บำรุงสายตา อีกทั้งยังใช้เป็นยาบำบัดอาการเมื่อยล้า ปวดเอว โรคเบาหวานหรืออาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้

คัดลอก ส่วนหนึ่งจากหนังสือ อิ่มอร่อย ตามรอยเจ้าสัวพิมพ์โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

โรค

ประจำเดือนในสตรี

ดับร้อน ถอนพิษไข้

เลือดลมไหลเวียน

ไอเนื่องจากปอด

ไอจากไข้หวัดใหญ่

ช่วยย่อยอาหาร

อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ

ปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ

ปวดข้อ ตะคริวกล้ามเนื้อ

อาการวิงเวียนในสตรี เนื่องจากเลือดลมผิดปกติ

มดลูกหย่อน

ให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น

เพิ่มเกล็ดเลือด

หอบ

หืด

ขยายหลอดลม

ดีซ่าน

บำรุงเลือด

ร้อนใน ไอแห้ง มีเสมหะน้อย

ขับลม

ขับน้ำดี

ขับปัสสาวะ

เลือดกำเดาไหล

ท้องร่วง

ท้องร่วงเรื้อรัง

ห้ามเลือด

ฝี

แผลเปื่อยพุพอง

แผลในช่องปากและลิ้น

แผลในกระเพาะอาหาร

โรคลำไส้อักเสบ

บิด

บวมหลังคลอดบุตร

โรคหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดตีบ

บำรุงตับ

บำรุงใต

บำรุงสายตา

เสริมสร้างกระดูก

ถอนพิษ ขับความชื้นในร่างกาย

น้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล

โรคเบาหวาน

โรคความดันโลหิตสูง

โรคโลหิตจาง

โรคเม็ดเลือดแดงน้อย

ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดใหญ่

พยาธิ

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ขับร้อน

ต่อมทอนซิลอักเสบ

คออักเสบ

คางทูม

โรคริดสีดวง

ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

ไข้สะอึก

ไข้จับสั่น

พิษสุรา

วัณโรคปอด

ท้องมารในเด็ก

-------------------------------------------------------------

สรรพตุณ


สมุนไพรเครื่องยาจีน

ท่านใดที่ต้องการมีส่วนร่วมแจกแจง ข้อมูลลงในตารางที่ว่างอยู่ เชิญส่งอีเมล์มาได้ จ้า...

ไปดู สมุนไพรไทย