เรื่องที่ 9 แนวทางป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งทางศาสนา

ความหมายของคําวา “ความขัดแย้ง”

       ความขัดแย้ง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง “การไม่ลงรอยกัน การไม่ถูกกันความคิดไม่ตรงกัน ความพยายามอยากเป็นเจ้าของ และความเป็นคนต่างมุมมองกัน”  ความขัดแย้งในสังคม เป็นสิ่งที่ไมมีใครปรารถนา แต่ก็หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะตราบใดที่มนุษยมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม ก็ย่อมมีความขัดแย้งเป็น ธรรมดา ความขัดแย้งมีทั้งประโยชน์และโทษ

 สาเหตุที่ทําใหเกิดความขัดแย้ง

       ความขัดแย้งมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความเชื่อศรัทธาในคําสอนของศาสนาแตกต่างกันความมีทิฏฐิมานะ ถือตัวว่าความคิดของตัวเองดีกว่าคนอื่น ความมีวิสัยทัศนที่คับแคบ ขาดการประสานงานที่ดีขาดการควบคุมภายในอย่างมีระบบ สังคมโลกขยายตัวเร็วเกินไป และการมีค่านิยมในสิ่งตาง ๆ ผิดแผกกันความคิดแตกต่างกัน

วิธีป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งทางศาสนาต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม

 วิธีป้องกันแก้ไขความขัดแย้งทางศาสนาต่อการอยู่ร่วมกันมีหลายวิธี เช่น

 1. วิธียอมกัน คือ ทุกคนลดทิฏฐิมานะ หันหน้าเข้าหากัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ดูถูก ไม่ติฉินนินทา ไม่กล่าวว่าร้ายป้ายสี ศาสนาของกันและกัน พบกันครึ่งทาง รู้จักยอมแพ้ รู้จักยอมกัน หวังพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันถือว่าทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลกเดียวกันโดยมีผู้ประสานสัมพันธ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับนับถือ

 2. วิธีผสมผสาน คือ ทุกฝ่ายทุกศาสนาเปิดเผยความจริง มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทํา และร่วมกันแก้ปัญหา ทํากิจกรรมในสังคมร่วมกัน เช่น สร้างสะพาน ถนน ฯลฯ

 3. วิธีหลีกเลี่ยง คือ การแก้ปัญหาลดความขัดแย้งโดยวิธีขอถอนตัว ขอถอยหนี ไม่เอาเรื่อง ไม่เอาความ ไม่ไปก้าวก่ายความคิด ความเชื่อ ของผู้นับถือศาสนาที่ไม่ตรงกับศาสนาที่ตนนับถือ

 4. วิธีการประนีประนอม คือ การแก้ปัญหาโดยวิธีทําให้ทั้งสองฝ่ายยอมเสียสละบางสิ่งบางอย่างลง มีทั้งการให้และการรับ ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า แบบยื่นหมู - ยื่นแมว คือ ทุกฝ่ายยอมเสียบางอย่างและได้ บางอย่างมีอํานาจพอ ๆ กัน ต่างคนต่างก็ไม่เสียเปรียบ