การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและรับวัฒนธรรม

เนื่องจากวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากวิถีการดําเนินชีวิตซ้ําๆ ของคนในสังคมนั้นๆ ในอดีต การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น      น้อยมาก เพราะเป็นลักษณะของสังคมปิด ต่อมาเมื่อแต่ละสังคมมีการติดต่อระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะการติดต่อกันในสังคมข้ามภูมิภาค เช่น         ชาติตะวันตกกับชาติตะวันออก  ซึ่งเกิดขึ้นมากในช่วงยุคล่าอาณานิคม เมื่อชาวตะวันตกออกล่าอาณานิคมทางทวีปเอเชีย พร้อมกับนําวัฒนธรรมของชาติตนเข้ามาด้วย  เช่น ศาสนา ภาษา การแต่งกาย ที่อยูอาศัย อาหาร ความบันเทิง ฯลฯ แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสังคมของชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีความอ่อนแอกว่าก็เริ่ม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมดังกล่าว ทําให้เกิดแรงผลักดันชักจูงทั้งสองทาง คือ ทั้งการกระตุ้นให้ยอมรับ     สิ่งใหม่และการอนุรักษวัฒนธรรมเดิมที่ตอตานการเปลี่ยนแปลง นั้น  

เมื่อพิจารณาเฉพาะสังคมไทยการสร้างวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ก็ดําเนินมาอย่างต่อเนื่องในทุกยุคสมัย แตในสังคมในอดีต ก่อนยุคลาอาณานิคม (เริ่มตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 4  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) สังคมไทยแม้ว่าจะมีการติดต่อกับชาวต่างชาติบ้าง ก็ยังไม่เป็นที่กว้างขวางนัก      ในหมู่ราษฎร ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจึงดําเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่เมื่อถึงยุคล่าอาณานิคมเริ่มการติดต่อกับชาวตางชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาจํานวนมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลง จึงเกิดขึ้นเร็วซึ่งสังเกตได้จากการแต่งกายของขุนนางซึ่งเป็นอย่างตะวันตกมากขึ้นลักษณะอาคารบ้านเรือนแบบยุโรปเริ่มมีขึ้น

ดังนั้นหลายชาติเริ่มหันมาพิจารณาหาแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติตนเองใหม่ จึงเกิดองค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน พากันเร่งฟื้นฟูวัฒนธรรมของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างระหว่างกัน มีการบรรจุเรื่องราวของวัฒนธรรมไว้ให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาเพื่อให้เห็นคุณค่าวัฒนธรรมของตนเอง ส่งผลให้สามารถสืบทอดรักษาวัฒนธรรมไว้อย่างมั่นคง

ตัวอย่างสังคมไทยในอดีตได้รับวัฒนธรรมจากจีน อินเดีย เป็นชาติที่มีวัฒนธรรมเข้มแข็ง ต่อมาเริ่มรับวัฒนธรรมตะวันตก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรื่อยมาจนถึงปจจุบัน และเริ่มรับวัฒนธรรม  ญี่ปุน เกาหลี เพราะมีอิทธิพลด้านการบันเทิง รวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ

ดังนั้นสังคมไทยจะต้องร่วมมือกันสร้างความเข้าใจให้ประชาชนคนไทย ตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมไทยในการรวมกันอนุรักษ์ สืบทอด           ด้วยความภาคภูมิใจ วัฒนธรรมไทยจึงจะคงอยู่ต่อไป