ประวัติศาสดาและคําสอนของศาสนาอิสลาม 

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมูฮัมหมัด ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในดินแดนทะเลทรายอาหรับ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในยุคนั้นชาวอาหรับแตกออกเป็นหลายกลุ่ม ขาดความสามัคคี ยากแก่การปกครอง มีการรบพุงฆ่าฟันกันตลอดเวลา ไม่มีศาสนาเป็นแก่นสาร คนส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้า และรูปเคารพต่าง ๆ ประชาชนไม่มีศีลธรรม สตรีจะถูกขมเหงรังแกมากที่สุด นบีมูฮัมหมัดเกิดขึ้นท่ามกลาง สภาพสังคมที่เสื่อมทรามเช่นนี้ จึงคิดหาวิธีที่จะช่วยปรับปรุงแก้ไขสถานการณนี้ให้ดีขึ้น นบีมูฮัมหมัดเป็นผู้ที่ ฝักใฝ่ในศาสนาหาความสงบและบําเพ็ญสมาธิที่ถ้ําฮีรอบนภูเขานูร ในคืนหนึ่งของเดือนรอมฎอนกาเบรียล ทูตของพระเจ้าได้นําโองการของอัลลอฮมาประทาน นบีมูฮัมหมัดได้นําคําสอนเหล่านี้มาเผยแผ่จนเกิด เป็นศาสนาอิสลามขึ้น ในระยะแรกของการเผยแผ่ศาสนาได้รับการต่อต้านเป็นอย่างมากถึงกับถูกทําร้ายจน ต้องหลบหนีไปอยู่เมืองมะดีนะฮ จนเป็นที่ยอมรับและมีคนนับถือมากมายก็กลับมายึดเมืองเมกกะทําการ เผยแผ่ศาสนาอิสลามอย่างเต็มที่ การเผยแผ่ศาสนาของอิสลามออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุคหลังเป็นไป โดยไร้สงครามเขายึดเมืองเพื่อเผยแผ่ศาสนา โดยมีคัมภีรในศาสนาอิสลาม คือ คัมภีรอัลกุรอาน แนวประพฤติปฏิบัติและหลักคําสอนของศาสนาอิสลาม แนวประพฤติปฏิบัติและหลักคําสอนของศาสนาอิสลามประกอบดวยรายละเอียดที่สําคัญ ๆ ดังตอไปนี้ คือ

       1. ศรัทธาตออัลเลาะห์ ให้ศรัทธาโดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าพระอัลเลาะห์ทรงมีอยู่จริง ทรงดํารงอยู่ด้วยพระองค์ ทรงมีมาแต่ดั้งเดิม โดยไม่มีสิ่งใดมาก่อนพระองค์ ทรงดํารง   อยู่ตลอดกาล ไม่มีสิ่งใดอยู่ หลังจากพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างในท้องฟ้าเพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะอันประเสริฐ

        2. ศรัทธาตอมลาอิกะฮุ ซึ่งเป็นบาวอัลเลาะห์ประเภทหนึ่งที่ไม่อาจมองเห็นตัวตนหรือทราบรูปร่าง ที่แท้จริง บรรดามลาอิกะฮุนี้ปราศจากความผิดพลาดบริสุทธิ์จากความมัว                     หมองทั้งปวง มีคุณสมบัติไม่เหมือนมนุษย์ คือ ไม่กิน ไม่นอน ไม่มีเพศ สามารถจําแลงร่างได้

        3. ศรัทธาในพระคัมภีรของพระเจ้า คือ ศรัทธาวาอัลเลาะห์ทรงประทานคัมภีร์ให้กับบรรดาศาสนทูต เพื่อนําไปประกาศให้ประชาชนได้ทราบหลักคําสอนซึ่งมีอยู 2 ประเภท คือ

              1) สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า

              2) สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันโดยบรรดาคัมภีร์ที่ประทานมานั้น มีวิธีประทานต่าง ๆ กัน ดังนี้

                 (1) ถ่ายทอดโองการต่าง ๆ เขาจิตใจของศาสนา

                  (2) การได้ยินเสียงในลักษณะอยูในภวังค์หรือการฝัน

                  (3) โดยมลาอิกะฮฺ มีนามวา ญิบรีล ถูกส่งมาพร้อมกับโองการของพระเจ้า นํามาให้ศาสดาด้วย คําพูดอันชัดเจน สําหรับคัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกบันทึกตั้งแต่ศาสดานบีมูฮัมหมัดยังมีชีวิตอยู่และได้ท่องจําโดย สาวกของท่าน คัมภีร์นี้ไม่เคยปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างไร มิใช้วรรณกรรมที่มนุษย์ประพันธ์ขึ้นมา แต่ถูกประทาน มาจากอัลเลาะห์เจ้า          

            4. ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต ให้ศรัทธาวาอัลเลาะห์ ทรงคัดเลือกบุคคลเป็นผู้สงสารนําบทบัญญัติ ของพระองค์มาสั่งสอนแก่ปวงชน อัลกุรอานสอนว่า ศาสนทูตที่ปรากฏชื่อในคัมภีรอัลกุรอานมี 25 ทาน มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในบรรดาศาสนทูตดังกลาวทั้งหมด จะละเว้นท่านหนึ่งท่านใดมิได้และถือว่าทุกท่าน ที่กล่าวมานี้เป็นมุสลิมและเป็นบ่าวของอัลเลาะห์เหมือน ๆ กัน

         5. ศรัทธาต่อวันปรโลก มีหลักการว่ามีวันหนึ่งที่เป็นวันพิจารณาผลกรรมของมนุษย์ทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลได้พินาศแตกดับหมดแล้ว จากนั้นอัลเลาะห์จะได้ให้ทุกคนคืนชีพมาชําระงาน ที่เขาประกอบไว้ในโลกดังขอความว่า ผู้ประกอบความดีจะได้รับตอบสนองด้วยสิ่งดี ผู้ประกอบกรรมชั่วก็จะ ได้รับผลตอบสนอง คือ การลงโทษดังขอความว่า ผู้ใดประกอบกรรมดีแม้เพียงน้อยนิดเขาก็จะได้เห็นมัน และผู้ใดประกอบกรรมชั่วแม้เพียงน้อยนิดเขาก็จะได้เห็นมัน

         6. การศรัทธาต่อกฎกําหนดสภาวะ คือ ระเบียบอันรัดกุมที่อัลเลาะห์ทรงกําหนดไว้แก่โลก การศรัทธาต่อกฎกําหนดสภาวะ คือ การยอมรับในอํานาจของอัลเลาะห์ที่ทรงครอบครองความเป็นไปของ ทุกสิ่งแต่ละสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ที่พระองค์ทรงกําหนดไว้ทุกประการ เช่น การถือกําเนิดชาติพันธุ์ เป็นตน การนมัสการนี้จะทําคนเดียวก็ได้ แต่ถ้าจะรวมกันทําเป็นหมู่ยิ่งได้กุศลเพิ่มขึ้น มีข้อห้ามในการ นมัสการเมื่อเวลามึนเมา

         7. การถือศีลอด เป็นหลักมูลฐานของอิสลามข้อหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ มีกําหนดขึ้นในทุก ๆ ปี ปีละ 1 เดือน คือ ตกเดือนรอมฎอน อันเป็นเดือนที่ 6 แห่งปีอิสลาม นับแบบจันทรคติ การถือศีลอด คือ การงดเว้นจากการบริโภคและอื่น ๆ ตามที่กําหนดไว้แน่นอน มีหลักเกณฑ์ในการ ปฏิบัติ คือ

                 1. เป็นมุสลิม

                2. มีอายุบรรลุศาสนาภาวะ (ประมาณ 15 ปี)

                 3. มีสติสัมปชัญญะ

                  4. มีพลังความสามารถที่จะปฏิบัติได้

กิจกรรมที่กระทําในพิธีศีลอด คือ

              1. ตั้งจิตปรารถนา (นียะฮ) ไว้แต่กลางคืน ว่าตนจะถือศีลอด

              2. งดเว้นการกิน ดื่ม และอื่น ๆ ตาม ข้อกําหนด

จุดประสงค์ของการถือศีลอด

              1. เพื่อทําให้จิตใจบริสุทธิ์

              2. ให้รู้จักควบคุมจิตใจและตัดกิเลส

              3. ให้รู้จักรสของการมีขันติ

              4. ให้รู้จักสภาพของคนยากจนอนาถา จะทําให้เกิดความเมตตาแก่คนทั่วไป จุดเริ่มตนของการเขาถือศีลอดในเดือนรอมฎอนตามศาสนาบัญญัติ