รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่รูปแบบของรัฐ รูปแบบการปกครองและการบริหารประเทศ บทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อบังคับใดขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ และไม่ว่ากรณีใด ๆ หากปรากฏว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏต่อประเทศชาติ มีโทษถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยทั่วไปจะบัญญัติหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ ไว้ดังนี้

1. รูปแบบของรัฐ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ คำว่าราชอาณาจักร หมายความว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคำว่าอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ หมายความว่า ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวหรือเอกรัฐ มีรัฐบาลเป็นศูนย์กลาง

มีอำนาจบริหารประเทศได้ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพียงรัฐบาลเดียว

2. รูปแบบการปกครอง ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการยืนยันว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากประชาชน มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. อำนาจอธิปไตยของรัฐ รัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย ไว้ 3 ประการ ได้แก่

1) อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย

2) อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการบริหาร การปกครองประเทศ

3) อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีในศาล

ทั้ง 3 อำนาจนี้เป็นอำนาจของปวงชนชาวไทย คือ เป็นของชนชาวไทยทุกคน โดยมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา ใช้อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรีและใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล

4. สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย รัฐธรรมนูญคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งเป็นชนชาวไทยโดยคำนึงถึงว่า ชนชาวไทยเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี หรือกล่าวว่า ชนชาวไทย มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ห้ามปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงทาสหรือสัตว์ นอกจากนี้ทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพในร่างกาย ในครอบครัว มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทุกคนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในคดีอาญาสิทธิได้รับการให้บริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน มีเสรีภาพในการสื่อสารโดยเสรี มีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร และเสรีภาพในทางวิชาการ เป็นต้น

5. หน้าที่ของชนชาวไทย  กำหนดให้ทุกคนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่ต้องป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมายมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร มีหน้าที่ต้องพิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


6. นโยบายพื้นฐานของรัฐ รัฐธรรมนูญ

7. ระบบรัฐสภา รัฐสภา ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้สมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนกี่คน และที่มาของสมาชิกดังกล่าววิธีการได้มาอย่างไร

8. คณะรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาลจะมีรัฐมนตรีจำนวนเท่าใด และมีวิธีการได้มาอย่างไร

9. ศาล ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายตุลาการ เป็นองค์กรพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องดำเนินไปด้วยความยุติธรรม มีศาลอะไรบ้าง พร้อมกำหนดหน้าที่อำนาจศาลไว้โดยชัดแจ้ง

10. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค ์เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่รัฐว่าถูกต้อง เป็นธรรมหรือไม่ รวมทั้งอำนาจในการถอดถอนเจ้าหน้าที่รัฐออกจากตำแหน่งด้วย

11. การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการใช้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีอิสระในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แก้ปัญหาในพื้นที่

12. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว ย่อมมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ

นอกจากหลักการที่เป็นสาระสำคัญร่วมของรัฐธรรมนูญดังที่กล่าวมาแล้ว รัฐธรรมนูญทั้ง 18 ฉบับยังมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งเป็นสาระสำคัญแตกต่างกันไปโดยสรุปได้ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก สาระสำคัญ คือ ประเทศไทยต้องปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจกว้างมาก คือ พิจารณา

ร่างกฎหมาย ดูแลควบคุมการบริหารประเทศ มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการราษฎร(คณะรัฐมนตรี) ฯลฯ และมีอำนาจวินิจฉัยคดี ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้ต้องหา ซึ่งศาลธรรมดาไม่มีสิทธิ์รับฟ้องได้

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

ประกาศใช้ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 มีหลักการสำคัญแตกต่างจากฉบับที่ 1 อันเป็นฉบับชั่วคราว ดังนี้

1) ยกย่องฐานะพระมหากษัตริย์ให้สูงขึ้น โดยบัญญัติว่า ให้ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือฟ้องร้องมิได้ ให้องค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไปอยู่ในฐานะเป็นกลางทางการเมือง คือ ไม่ต้องรับผิดทางการเมือง

2) สภานิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎร) ไม่มีอำนาจปลดพนักงานประจำ มีอำนาจออกกฎหมายมีอำนาจควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน (แต่ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรได้)


3) ฝ่ายบริหาร ซึ่งเดิมเรียกว่า “คณะกรรมการราษฎร” เปลี่ยนเป็น “คณะรัฐมนตรี” คณะรัฐมนตรีนี้

พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีจำนวนอย่างน้อย 14 คนแต่ไม่เกิน 24 คน และในจำนวน 14 คน ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอายุการใช้ยาวนานที่สุด คือ ประมาณ 15 ปี

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

ประกาศใช้ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489 ยังคงยึดหลักการรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2475เป็นหลัก โดยต้องการให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น มีสาระสำคัญดังนี้

1) กำหนดให้มีสภา 2 สภา คือ สภาผู้แทนฯ กับ วุฒิสภา (เดิมเรียกว่า พฤฒิสภา) ให้สมาชิกสภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ส่วนสมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม

2) มีบทบัญญัติแยกข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมืองออกจากกันเป็นฉบับแรก และกำหนดว่านายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี สมาชิกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำใด ๆ มิได้

3) อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองได้เป็นครั้งแรก (เดิมมีเพียงพรรคเดียว คือ คณะราษฎร)รัฐธรรมนูญนี้ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร เมื่อ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2490 มีอายุการใช้เพียง 18 เดือน

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2490)

ประกาศใช้ 9 พฤศจิกายน 2490 เหตุผลประกาศใช้ คือ ฉบับเดิมที่ถูกยกเลิก ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมได้ สาระสำคัญ คือ

1) มีสภา 2 สภา เช่นเดิม คือ สภาผู้ราษฎรและวุฒิสภา

2) อำนาจหน้าที่วุฒิสมาชิกมีมากขึ้น คือ นอกจากยับยั้งร่างกฎหมายแล้ว ยังมีอำนาจให้ความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารได้

3) เพิ่มเติมให้มีอภิรัฐมนตรี 5 คนเป็นผู้บริหารราชการในพระองค์ และถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

ประกาศใช้ 3 มีนาคม 2492 ฉบับนี้ ผู้ร่างให้ความคาดหวังว่าเป็นฉบับที่ดี มั่นคง และเป็นประชาธิปไตยมาก เพราะได้วางหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้กว้างขวาง และป้องกันการใช้อำนาจของรัฐต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ด้วย ส่วนสภาให้มีสภา 2 สภา เช่นเดิม

ฉบับนี้ใช้ได้ 2 ปีเศษ ก็ถูกยกเลิก โดยคณะรัฐประหาร เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2494

6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495

เหตุผลที่คณะประหารนำรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาใช้ คือ เห็นว่าเหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองช่วงนั้นวิธีการนำมาใช้ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 (ฉบับที่ 2) ก่อน พร้อมตั้งคณะกรรมการแก้ไขปรับปรุงไปด้วย เมื่อเสร็จแล้วจึงนำมาประกาศใช้ เมื่อ 8 ตุลาคม 2495สาระสำคัญ เหมือนฉบับเดิมทุกประการ แต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องสำคัญ คือ กำหนดวิธีลดจำนวนสมาชิกวุฒิสภา


วันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำรัฐประหาร แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราวและวุฒิสภาขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่วันที่ 20 ตุลาคม 2501 คณะรัฐประหารชุดเดิม ได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้

7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

ประกาศใช้ 28 มกราคม 2502 ฉบับนี้ คณะรัฐประหารประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญการปกครองชั่วคราว มีเพียง 20 มาตราสาระสำคัญ คือ ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีมีอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีมีอำนาจเด็ดขาด ตามมาตรา 17 ด้วย การขอมติคณะรัฐมนตรีในการใช้อำนาจสั่งการหรือการกระทำใด ๆก็ได้ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคง ความสงบของประเทศชาติ และราชบัลลังก์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ให้สิทธิเสรีภาพประชาชนในการมีส่วนร่วมในการปกครอง รวมเวลาที่ใช้อยู่ถึง 9 ปีเศษ จึงมีการประกาศรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

ประกาศใช้ 20 มิถุนายน 2511 เป็นฉบับที่ 2 ที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ซึ่งแต่งตั้งโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ) ใช้เวลาร่างนานที่สุด คือ กว่า 9 ปี สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายถึง 100 ล้านบาท สาระสำคัญมี

ดังนี้

1) ให้มีรัฐสภา 2 สภา วุฒิสภามีอำนาจมากกว่าเดิม คือ เดิมมีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายผ่านสภาผู้แทนราษฎร ยังมีอำนาจเพิ่มเติม คือ สามารถควบคุมฝ่ายบริหารเท่าเทียมสภาผู้แทนราษฎร

2) มิให้นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี เป็นสมาชิกรัฐสภา สภาผู้แทนฯ จึงไม่มีบทบาทพอที่จะทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล และเรียกร้องตำแหน่งรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ได้ประมาณ 3 ปี ก็ถูกยกเลิก เพราะมีการรัฐประหารโดยกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่าง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2514

9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

ประกาศใช้ 15 ธันวาคม 2515 ผู้ประกาศใช้ คือ รัฐบาลจอมพล ถนอม กิติขจร ผู้ทำรัฐประหารสาระสำคัญ คือ ใช้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากการแต่งตั้งมีหน้าที่ออกกฎหมายและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีเสนอไปให้พิจารณาภายใน 3 ปี และมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีได้ แต่ไม่มีสิทธิ

เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจสาระสำคัญอื่น ๆ ยังคงเหมือนกับรัฐธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2505 โดยเฉพาะมาตรา 17 ซึ่งเน้นอำนาจสูงสุดเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกาศใช้ได้เพียงปีเศษ นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ได้รวมพลังเรียกร้องให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็ว วันที่ 14 ตุลาคม 2516 รัฐบาลชุดจอมพล ถนอม กิตติขจรจึงออกไป นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517

10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

ประกาศใช้ 7 ตุลาคม 2517 เป็นฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าทุกฉบับที่ใช้มา มีสาระสำคัญ ดังนี้


1) มีรัฐสภา 2 สภา คือ สภาผู้แทนและสภาวุฒิสภา สภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้ง วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง และมีอำนาจน้อยกว่าวุฒิสภา ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ

2) การสืบราชสมบัติ ในกรณีไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาอาจให้ความเห็นชอบในการให้พระราชธิดาสืบสันตติวงศ์ได้

3) หลักการดำเนินงานทางการเมืองให้เป็นไปโดยระบบพรรค ผู้แทนราษฎรต้องมีสังกัดพรรคการเมือง มิให้สมาชิกรัฐสภาทำการค้า หรือกิจการใดที่อาจทำให้รัฐเสียประโยชน์

4) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาอย่างน้อยครึ่งปี รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ และทำการค้ามิได้

5) ให้ประชาชนมีบทบาทในการปกครองท้องถิ่นของตนเองตามระบอบประชาธิปไตย

6) มีบทบัญญัติประกันสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนหลายประการ รัฐธรรมนูญนี้ใช้ได้เพียง 2 ปีก็ถูกคณะปฏิรูปการปกครอง ประกาศยกเลิก เมื่อ 6 ตุลาคม 2519

11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

คณะปฎิรูปการปกครองประกาศใช้เมื่อ 22 ตุลาคม 2519 มีโครงสร้างการปกครองคล้ายรัฐธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2515 คือ ให้มีรัฐสภารัฐสภาเดียว แต่เรียกชื่อว่า “สภาปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน” มีสมาชิกจากการแต่งตั้งไม่มีอำนาจควบคุมคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารตามมาตรา 21 (เหมือนมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502และ พ.ศ. 2515)

รัฐธรรมนูญนี้ยกเลิก เมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้น เมื่อ 20 ตุลาคม 2520

12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520

คณะรัฐประหารประกาศใช้ เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2520 มีโครงสร้างการปกครองคล้ายธรรมนูญการปกครองและรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 2515 2519 เพิ่มเติมสาระสำคัญ คือ กำหนดให้มีสภานโยบายแห่งชาติ ประกอบด้วย บุคคลของคณะรัฐประหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายแห่งรัฐ ควบคุมฝ่ายบริหารแต่งตั้งถอดถอนนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ

รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521

13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521

ประกาศใช้ 22 ธันวาคม 2521 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ร่างโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสาระสำคัญ คือ

1) โครงสร้างการปกครองกำหนด ดังนี้

2) รัฐสภามี 2 สภา คือ สภาผู้แทน และวุฒิสภา สภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้ง วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง และอำนาจไม่เกิน 3 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทน

3) ไม่กำหนดว่าคณะรัฐมนตรีจะต้องมาจากรัฐสภา แต่จะต้องแถลงนโยบายแก่รัฐสภา เมื่อเข้ามาบริหารแผ่นดิน และมีบทเฉพาะกาล ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการหรือการกระทำการใด ๆ ได้เด็ดขาด


จนกว่าคณะรัฐมนตรีได้รับการจัดตั้งจะเข้าปฏิบัติงาน

4) การเลือกตั้ง 4 ปีแรก ตั้งแต่เริ่มประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้มีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตผู้เข้ารับการเลือกตั้งจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ หลังครบ 4 ปีแล้ว ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตการเลือกตั้งเว้นแต่กรุงเทพมหานครให้แบ่งเป็น 3 เขต และผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องสังกัดพรรคการเมือง

14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (ฉบับ ร.ส.ช.)

ร.ส.ช. หรือ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ประกาศใช้ธรรมนูญฯ ฉบับนี้ขึ้นเมื่อ1 มีนาคม พ.ศ. 2534 กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติสภาเดียว มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญและพิจารณาร่างและรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน

15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2539 นับเป็นฉบับที่ 15 ประกาศใช้ 9 ธันวาคม 2534มีสาระสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้

1) พระมหากษัตริย์ ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่น อีกไม่เกิน 18 คน ประกอบเป็นองคมนตรี

2) รัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทน และวุฒิสภา สภาผู้แทน ประกอบด้วยสมาชิก 393 คนสมาชิกวุฒิสภามี 260 คน ประธานสภาผู้แทนเป็นประธานรัฐสภา

3) นายกรัฐมนตรี ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทน

4) การผู้เลือกตั้ง ใช้การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต

16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 มีความยาวถึง 336 มาตรา ยาวกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เคยประกาศใช้ในประเทศไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และเนื่องจากประชาชนทั่วไปกว่า 800,000 คน มีส่วนร่วมโดยตรงและโดยอ้อมในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองไทยไว้มากกว่าของนักการเมืองเหมือนในสมัยเรียน ด้วยเหตุนี้จึงมักนิยมเรียก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

ประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 มี 39 มาตรา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

โดยแต่งตั้งทีมงานนักกฎหมาย เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และได้มีการตั้งหน่วยงานในการดำเนินงานดังนี้

1) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนรัฐสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 250 คน

2) คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ


3) สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550/สมัชชาแห่งชาติของประเทศไทย ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. 2550

4) คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ทำหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินอดีตคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลที่ผ่านมา

18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นฉบับที่มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549มาตรา 25 ถึงมาตรา 31 และสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน35 คน ทำการยกร่างแล้วส่งร่างรัฐธรรมนูญให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและองค์กรซึ่งเป็นคณะบุคคลพิจารณาและเสนอความเห็น รวม 12 คณะ หลังจากนั้นได้นำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ แล้วนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างทั้งฉบับเรียงเป็นรายมาตรา เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว จึงมีการเผยแพร่ต่อประชาชนเพื่อทราบทั้งฉบับ และจัดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ พร้อมกันทั้งประเทศ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 19 สิงหาคม 2550 ระหว่างเวลา08.00 ถึง 16.00 นาฬิกา ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550จากการปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทยว่าได้มอบสิทธิและอำนาจให้ประชาชนชาวไทยให้มีการออกเสียงลงประชามติว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นครั้งแรกของประเทศไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550มีสาระสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติมไปจากรัฐธรรมนูญ 2540 หลายประเด็นดังนี้

1. รัฐสภา

2. คณะรัฐมนตรี

3. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย

1) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมี 4 องค์กร ได้แก่

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง

(2) ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน

(3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช)

(4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

2) องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญมี 3 องค์กร ได้แก่

(1) องค์กรอัยการ

(2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

(3) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

 


4. หลักการอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

1) การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 10,000 คน (เดิมกำหนดไว้ 50,000 คน) มีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อประธานสภา

2) การเสนอถอดถอนนักการเมืองโดยประชาชน ประชาชนผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง จำนวน20,000 คน (เดิมกำหนดไว้ 50,000 คน) มีสิทธิเข้าชื่อเสนอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภาเริ่มกระบวนการถอดถอนนักการเมือง

3) จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติเรื่องจริยธรรมไว้

4) การตรวจสอบทรัพย์สิน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน