เอกลักษณของวัฒนธรรมไทย

เอกลักษณหรือลักษณะประจําชาติ ในทางวิชาการ มีความหมาย 2 ประการ คือ ประการแรก หมายถึง ลักษณะที่เป็นอุดมคติ ซึ่งสังคมต้องการให้คนในสังคมนั้นยึดมั่น เป็นหลักในการดําเนินชีวิตเป็นลักษณะที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งดีงามและใหการเทิดทูนยกย่อง อีกประการหนึ่ง หมายถึง ลักษณะนิสัย ที่ คนทั่วไปในสังคมนั้นแสดงออกในสถานการณ์ต๋าง ๆ เช๋น ในการทํางาน การพักผอนหย่อนใจ การติดต่อ สัมพันธกับผู้อื่น และในการดําเนินชีวิตทั่วไปในสังคม เป็นลักษณะนิสัยที่พบในคนสวนใหญ่ของประเทศ และ  ส่วนมากมักจะแสดงออกโดยไม่รู้ตัวเพราะเป็นเรื่องของความเคยชินที่ปฏิบัติกันมาอย่างนั้น

เอกลักษณของวัฒนธรรมไทยที่เด่น ๆ มีดังนี้

1. ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไทย คนไทยมีลักษณะนิสัยไม่ต้องการอยูในอํานาจบังคับของ ผู้อื่น ไม่ชอบการควบคุมเข้มงวด ไม่ชอบการกดขี่ หรือให้ผู้อื่นเขามายุ่งเกี่ยวสั่งการในรายละเอียดในการ ทํางานและการดําเนินชีวิตส่วนตัว คนไทยเป็นคนที่หยิ่งและรักในศักดิ์ศรีของตนเอง การบังคับน้ําใจกันหรือ ฝ่าฝืนความรู้สึกของกันและกันถือวาเป็นสิ่งไม่ควรทํา

2. การย้ำการเป็นตัวของตัวเองหรือปัจเจกบุคคลนิยม คือ การให้คุณค่าในความเป็นตัวของตัวเอง ความนิยมนี้สวนหนึ่งมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนา ซึ่งย้ำความสําคัญของตัวบุคคลเป็นพิเศษถือว่า บุคคลจะเป็นอย่างไร ย่อมแล้วแต่กรรมของบุคคลนั้นในอดีต การย้ําสอนให้พึ่งตนเอง ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ส่วนการที่จะดีหรือชั่วนั้น อยูที่การกระทําของตนเอง มิได้อยูที่ชาติกําเนิด

3. ความรู้สึกมักน้อยสันโดษและพอใจในสิ่งที่มีอยู่ คนไทยไม่มีความดิ้นรน ทะเยอทะยานที่จะเอาอย่างคนอื่น ถือเสียว่าความสําเร็จของแต่ละคนเป็นเรื่องของบุญวาสนา ทุกคนอาจมีความสุขได้เท่าเทียมกันทั้งนั้น เพราะเป็นเรื่องภายในใจ

4. การทําบุญและการประกอบการกุศล คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องกรรม การเวียนว่าย ตายเกิด จึงมักนิยมทําบุญและประกอบการกุศลโดยทั่วไป โดยถือว่าเป็นความสุขทางใจ และเป็นการสะสมกุศลกรรมในปัจจุบัน เพื่อหวังจะได้รับผลประโยชน์ในอนาคต

5. การหาความสุขจากชีวิต คนไทยมองชีวิตในแง่สวยงาม ความกลมกลืน และพยายามหาความสุข จากโลก ซึ่งตรงกันข้ามกับชาวตะวันตกที่มักจะมองชีวิตในแง่ของความขัดแย้งระหว่างอํานาจฝ่ายต่ำในร่างกาย มนุษย์และอํานาจฝ่ายสูง ซึ่งไดแก่ ศีลธรรมและความรับผิดชอบในใจ คนไทยจึงไม่มีความขัดแย้งในใจเกี่ยวกับ การปล่อยตนหาความสําราญ เพราะถือว่าอยูในธรรมชาติมนุษย์

6. การเคารพเชื่อฟังอํานาจ คนไทยนิยมการแสดงความน้อบน้อมและเคารพบุคคลผู้มีอํานาจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปตามแบบพิธีซึ่งแสดงฐานะสูงต่ำของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

7. ความสุภาพอ่อนโยนและเผือแผ่ คนไทยเป็นมิตรกับทุกคนและมีชื่อเสียงในการต้อนรับ คนไทย นิยมความจริงและช่วยเหลือกันในการมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน และไม่คิดเอาเปรียบผู้อื่นมีความเมตตา สงสาร ไม่ซ้ำเติมผู้แพ้ ถือเป็นคุณธรรมยิ่งของคนไทย

8. ความโอ่อ่า ลักษณะนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อมั่นและหยิ่งในเกียรติของตนเอง คนไทยนั้นถึงแม้ภายนอกจะดูฐานะต่ำ แตในใจจริงเต็มใจยอมรับว่าตัวเองต่ำกว่าผู้อื่น ถือว่าตัวเองมีความสามารถเท่าเทียมกับ ผู้อื่น ถ้าตนมีโอกาสเช่นเดียวกัน คนไทยไม่ยอมให้มีการดูถูกกันง่ายๆ และถือว่าตนมีสิทธิ์เท่าเทียมกับผู้อื่นในฐานะเป็นมนุษยคนหนึ่ง