ความสำคัญของค่านิยม

สังคม มีค่านิยมแตกต่างกันตามวัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิต สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และที่ตั้ง

ถิ่นฐาน ค่านิยมของแต่ละสังคม เป็นแนวความคิดทัศนคติร่วมกันของคนส่วนใหญ่ จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญเกิด

บรรทัดฐานทางสังคมอันเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบในการปฏิบัติต่อกันทางสังคมตามแนวทางของ

ค่านิยมที่สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน

ค่านิยม สามารถช่วยให้การดำเนินชีวิตระหว่างสมาชิกในสังคมมีความสอดคล้องสัมพันธ์ต่อกัน

ลดความขัดแย้งและความตึงเครียดของสมาชิกในสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านการผลิตทางการเกษตรของไทยจากการผลิตแบบเดิมมาสู่การผลิตแบบใหม่ ที่มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยมาทำการผลิต เพื่อลดระยะเวลาและกำลังแรงงานจากแรงงานคนหรือสัตว์ มีผลทำให้เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา มีค่านิยมในการนำเอาเครื่องจักรและสารเคมีมาใช้ทางเกษตร

ค่านิยมที่สำคัญของสังคมไทย ได้แก่

1) การนับถือพุทธศาสนา

2) การเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์

3) การรักสังคมไทย

4) ความซื่อสัตย์สุจริต

5) การเคารพผู้อาวุโส

ค่านิยมที่ควรปลูกฝังตามหลักพระพุทธศาสนา

1. แนวทางปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐาน มี 5 ประการ

1) การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ

2) การประหยัดและอดออม

3) มีระเบียบ วินัย และเคารพกฎหมาย

4) การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา

5) ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

2. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

3. ความเคารพและความอ่อนน้อมถ่อมตน

4. ความกตัญญูก ตเวที”
5. ศรัทธาและปัญญา

ศรัทธา เป็นความเชื่อแต่เป็นความเชื่อบุคคลอื่น เช่น เราเห็นความคิดเห็นหรือการกระทำของ

คนอื่นเป็นสิ่งที่ดี

ปัญญา เป็นความรู้ที่เกิดด้วยตนเอง ซึ่งเกิดจาการคิดพิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์อย่างรอบคอบ

6. ทำงานสุจริต

สุจริต จึงเป็นความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ ซึ่งน่าจะหมายความได้ว่า

1) ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดต่อกฎระเบียบของบ้านเมือง ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

ไม่ประพฤติผิดเล่นการพนัน ไม่ขายยาเสพติด ทำลายเยาวชน สังคม และประเทศชาติ

2) ไม่ผิดประเพณี ประกอบด้วย

(1) ขนบของบ้านเมือง คือ ไม่ผิดกฎหมาย ระเบียบ ของบ้านเมือง

(2) ธรรมเนียม เป็นความประพฤติที่สังคมยอมรับและปฏิบัติกันมา

(3) ไม่ผิดศีลธรรม หมายความว่า มีความประพฤติอันถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ทำกาย

วาจา ใจ สงบ ระวังสำรวมตนอยู่เสมอ