การอยู่ร่วมกัน เป็นสังคมของมนุษย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ย่อมมีความขัดแย้งกันในบางโอกาส เพราะแต่ละบุคคลย่อมมีความปรารถนาที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่ความขัดแย้ง และทะเลาะวิวาทกันได้ ทุกสังคมจึงต้องวางกฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน เพื่อเป็นข้อตกลงกลางในการอยู่ร่วมกันว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้หากฝ่าฝืนจะมีโทษอย่างไร เมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระดับประเทศที่มีประชากรรวมกันหลายล้านคนผู้ปกครองก็จำเป็นต้องวางกฎขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า “กฎหมาย” เพื่อเป็นข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของคนทั้งประเทศเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2475 และกำหนดให้รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยกฎหมายอื่น จะขัดหรือแย้งมิได้ รัฐธรรมนูญในยุคแรก ๆ แม้ว่าจะเกิดจากการยกร่างของคณะบุคคลเพียงไม่กี่คน แต่ก็เป็นพัฒนาการทางกฎหมายที่คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนในระดับแตกต่างกันออกไป และมีการพัฒนาการในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น

       ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมา ซึ่งเราจะพบว่ามีการระบุถึงหน้าที่ สิทธิและเสรีของประชาชนมากขึ้น

การจะเข้าใจหน้าที่สิทธิและเสรีภาพของตนเองที่มีในสังคมได้นั้น จะต้องทำความเข้าใจกับความหมายของ “สถานภาพ บทบาทหน้าที่ สิทธิ และเสรีภาพ” ด้วย เพราะสถานภาพ เป็นต้นทางของการกำหนดบทบาทหน้าที่ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลในสังคม

       สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม ในบุคคลคนเดียวกันอาจจะมีหลายสถานภาพได้ เช่น นายสมชาย เป็นคนไทย อาชีพรับราชการครู เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย-รามคำแหง ได้แก่

1. สถานภาพที่ได้จากถิ่นที่อยู่ ที่ถือกำเนิด ก็จะได้สัญชาติของประเทศที่เกิด เช่น คนไทย คนญี่ปุ่นคนอังกฤษ คนจีน เป็นต้น

2. สถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง ลูกหลาน เป็นต้น

3. สถานภาพที่ได้มาจากการศึกษา เช่น ศิษย์เก่า กศน. ศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีวิทยา

4. สถานภาพที่ได้มาจากการประกอบอาชีพหรือการกระทำ เช่น ครู หมอ พ่อค้า นายกรัฐมนตรีพระ นักบวช นักโทษ เป็นต้น

5. สถานภาพที่ได้จากการสมรส เช่น สามี ภรรยา พ่อหม้าย แม่หม้าย เป็นต้น

       บทบาทหน้าที่ หมายถึง การทำหน้าที่ หรือพฤติกรรมที่เป็นภาระรับผิดชอบตาการทำหน้าที่ หรือพฤติกรรมที่เป็นภาระรับผิดชอบตามสถานภาพที่ได้รับเช่น สถานภาพเป็นครู เป็นทนายความ เป็นต้น เห็นได้ว่าสถานภาพและบทบาทหน้าที่ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ โดยสถานภาพเป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่บุคคลนั้น ๆ ยิ่งบุคคลที่มีหลายสถานภาพ ก็ยิ่งมีบทบาทหน้าที่มากตามไปด้วย


สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่มีกฎหมายให้คุ้มครอง โดยบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพ จะละเมิดล่วงเกิน หรือกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลไม่ได้เช่น สิทธิเลือกตั้ง สิทธิในการรับความคุ้มครองจากรัฐ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณะจากรัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด

       เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคล ซึ่งกระทำนั้นจะต้องขัดต่อกฎหมาย เช่นเสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพในการประกอบสัมมาชีพ เสรีภาพในการพูดการเขียนที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น

หน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ

       รัฐธรรมนูญ ฉบับปีพุทธศักราช 2550 ได้กำหนดหน้าที่ของชนชาวไทยไว้ในหมวดที่ 4 มาตรา 70

ถึงมาตรา 74 ดังนี้

       1. บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์ไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย

อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 70)

       2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 71)

       3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (มาตรา 72)

       4. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษี

อากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ป้องกัน และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญา

ท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 73)

       5. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ

หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี