เรื่องที่ 2 สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

 วัฒนาการของสิทธิมนุษยชน หากศึกษาจากเอกสารหลักฐานถือวjา มีจุดเริ่มต้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ การปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อ พุทธศักราช 2475 จากคําประกาศของคณะราษฎรได้ นําหลักการของสิทธิมนุษยชนไปใช้ในทางปฏิบัติ และระบุรับรองให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน และในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ ก็มีการกล่าวถึง สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ได้ ประกาศบทบัญญัติที่ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนชาวไทยไว้ ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ ของชนชาวสยาม ซึ่งมีสาระสำคัญให้การรับรองหลักความเสมอภาคกัน ในกฎหมาย เสรีภาพในการนับถือ ศาสนา เสรีภาพร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุม การตั้งสมาคม และการอาชีพ โดยบทบัญญัติดังกล่าวถือเป็นการให้ความรับรองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนอย่างเป็นทางการในรัฐธรรมนูญ          ฉบับต่อ ๆ มา

นอกจากนั้นเรายังสามารถศึกษาร่องรอยของพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้จาก การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระบบกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ และเป็นที่ ยอมรับของรัฐต่างชาติด้วยความมุ่งหมายที่จะเรียกร้องเอกราชทางการศาลกลับคืนมาเป็นของไทย แนวความคิดในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ อีกทั้ง มีความพยายามสร้าง กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้โดยตรงและโดยอ้อมผ่านทางสถาบันตุลาการด้วย โดยเฉพาะอย่างงยิ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มีบทบัญญัติที่ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของ ผู้ต้องหาและจําเลยในคดีอาญาซึ่งแตกต่างจากระบบจารีตนครบาลที่มีมาแต่เดิมอย่างสิ้นเชิง

การดำเนินขององคกรรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยตรง ปรากฏขึ้นพร้อมกับการจัดตั้ง สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน (สคช.) สังกัดกรมอัยการ เมื่อ พ.ศ. 2525 ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.)” แต่การดําเนินงานขององค์กรมีขอบเขตจํากัด สืบเนื่องจากกรอบอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตามกฎหมาย ต่าง ๆ ส่วนการดําเนินงานขององค์กรพัฒนาเอกชน เพิ่งมีการก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ ภายหลังเกิด เหตุการณวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 องค์กรแรกที่ถูกก่อตั้ง เมื่อ พ.ศ.2519 สหภาพ เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และในปีเดียวกันนั้นก็มีการก่อตั้ง “กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม” (กศส.) หลังจากนั้นก็มีการรวมตัวกันของบุคคลทั้งในรูปองค์กร สมาคม มูลนิธิ คณะกรรมการ คณะทำงาน กลุมศูนย์ สถาบันตาง ๆ เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนสิทธิมนุษยชนใน แง่ต่างๆ แก่ประชาชน เช่น สิทธิต้องหาในกระบวนการยุติธรรม สิทธิของเกษตรกร สิทธิเด็ก สิทธิสตรี สิทธิผู้ใช้แรงงาน และสิทธิทางการเมือง เป็นต้น