สรุปหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทเทวนิยม คือ ไม่นับถือพระเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ความจริงของชีวิตว่า องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยรูปและนามเท่านั้นรูปและนามเมื่อขยายความก็จะเป็นรูปจิตและเจตสิก จากรูปจิตและเจตสิกก็ขยายความด้วยขันธ 5 ได้แก่ รูปขันธ์ วิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สรุปได้ดังแผนภูมิองค์ประกอบของชีวิต

แผนภูมิแสดงองคประกอบของชีวิตมนุษย์

จากแผนภูมิองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ดังกล่าว ในทางพระพุทธศาสนาอธิบายว่า ชีวิต คือ ความเป็นอยู่ของร่างกาย (รูป) จิตและเจตสิก (นาม) โดยอาศัยความเป็นผู้นําเกิดและ

มรักษาดํารงชีวิต และการกระทําต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิตและเจตสิกเป็นผู้กําหนด

รูป คือ ร่างกายเป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น

นาม คือ ส่วนที่เป็นจิตและเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ และสามารถนึกคิดเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ได้

จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ทําหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้รส รู้กลิ่น รู้สึกต่อการสัมผัส ถูกต้องทางกาย และรู้สึกคิดทางใจ

เจตสิก คือ ธรรมชาติที่รู้สึกนึกคิดเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ เมื่อแยกรูปและนามให้ละเอียดขึ้นก็จะอธิบายด้วยขันธ์ 5 คือ

รูปขันธ์ (รูป) หมายถึง อวัยวะน้อยใหญ่ หรือกลุ่มรูปที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมดของเรา

วิญญาณขันธ์ (จิต) หมายถึง ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อีก ทั้งเป็นธรรมชาติที่ทําให้เกิดความรู้สํานึกคิดต่าง ๆ

เวทนาขันธ์ (เจตสิก) หมายถึง ความรู้สึกเปนสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจหรือเฉย ๆ

สัญญาขันธ์ (เจตสิก) หมายถึง ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจํา หรือเป็นหน่วยความจําของจิตนั่นเอง

สังขารขันธ์ (เจตสิก) หมายถึง ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตใหม่ลักษณะต่าง ๆ เป็นกุศลบ้าง การเกิดขึ้นของ จิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยมีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอเฉพาะจิต อย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตและเจตสิกจะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกัน อิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดจะตองมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอจากความจริงของชีวิตที่พระพุทธองค์ทรงคนพบว่า ชีวิตเป็นเพียงองค์ประกอบของรูปและนาม เท่านั้น แต่เหตุที่คนเรามีความทุกข์อยู่ เพราะความรู้สึกนึกคิดที่เป็นเรื่องเป็นราวว่า “มีเรามีเขา” ทําให้เกิด การยึดมั่นถือมั่นด้วยอวิชชา (ความไม่รู้) ว่าสภาพธรรมเท่านั้นเป็นเพียงรูปและนามที่ “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ดับไป” เท่านั้น

1. หลักธรรมเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตัว คือ อริยสัจ 4 อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ มีอยู่สี่ประการ คือ

     1)  ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยากภาวะที่ทนอยูในสภาพเดิมไม่ได้สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ ก็คือ อุปาทานขันธ์หรือขันธ์ 5

    2)  ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา – ความทะยาน อยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา – ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโนนเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย ภาวทิฏฐิ หรือสัสสตทิฏฐิ และวิภวตัณหา – ความทะยานอยากในความปรารถนา จากภพ ความอยากไม่เป็นโนนไม่เป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ

   3)  ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์กล่าว คือ ดับตัณหาทั้ง  3 ได้อย่างสิ้นเชิง

   4)  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นําไปสู่หรือนําไปถึงความดับทุกข์ ได้แก๋ มรรค อันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ (1) สัมมาทิฏฐิ – ความเห็นชอบ (2) สัมมาสังกัปปะ – ความดําหริชอบ(3) สัมมาวาจา - เจรจาชอบ (4) สัมมากัมมันตะ - ทําการงานชอบ (5) สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ(6) สัมมาวายามะ - พยายามชอบ (7) สัมมาสติ - ระลึกชอบ และ (8) สัมมาสมาธิ – ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียก อีกชื่อหนึ่งได้ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ ทางสายกลาง

2. หลักธรรมเพื่อการอยูรวมกันในสังคม

1) สัปปุริสธรรม 7

      สัปปุริสธรรม 7 คือ หลักธรรมของคนดีหรือหลักธรรมของสัตตบุรุษ 7 ประการ ได้แก่

           (1)  รู้จักเหตุหรือธัมมัุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักวิเคราะห์หาสาเหตุของสิ่งต่าง ๆ

           (2)  รู้จักผลหรืออัตถัญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักผลที่เกิดขึ้นจากการกระทํา

           (3)  รู้จักตนหรืออัตตัญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักตนทั้งในด้านความรู้ คุณธรรมและความสามารถ

          (4)  รู้จักประมาณหรือมัตตัญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักประมาณรู้จักหลักของความพอดีการดําเนินชีวิตพอเหมาะพอควร

          (5)  รู้จักกาลเวลาหรือกาลัญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา รู้จักเวลาไหนควรทําอะไร แล้วปฏิบัติให้เหมาะสมกับเวลานั้น ๆ

                (6)  รู้จักชุมชนหรือปริสัญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติการปรับตนและแก้ไขตนให้ เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มและชุมชน

         (7)  รู้จักบุคคลหรือปุคคลัญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคล ซึ่งมีความแตกตางกันการที่บุคคลได้นําหลักสัปปุริสธรรม 7 มาใช้ในการดําเนินชีวิตพบกับความสุขในชีวิตได้

2) อิทธิบาท 4

     อิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่นําไปสู่ความสําเร็จแห่งกิจการมี 4 ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ  วิมังสา

            (1) ฉันทะ คือ ความพอใจใฝ่รักใฝ่หาความรู้และใฝ่สร้างสรรค์

            (2) วิริยะ คือ ความเพียรพยายามมีความอดทนไม่ท้อถอย

            (3) จิตตะ คือ ความเอาใจใส่และตั้งใจแนวแน่ในการทํางาน

            (4) วิมังสา คือ ความหมั่นใช่ปัญญาและสติในการตรวจตราและคิดไตร่ตรอง

3) กุศลธรรมบถ 10

       กุศลกรรมบถ 10 เป็นหนทางแห่งการทําความดีงามทางแห่งกุศล ซึ่งเป็นหนทางนําไปสู่ความสุขความเจริญ แบงออกเปน 3 ทาง คือ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3

              1. กายกรรม 3 หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย 3 ประการ ได้แก้

                    (1)  เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ การละเว้นจากการฆjาสัตว การเบียดเบียนกัน เป็นผู้เมตตา กรุณา

                    (2)  เว้นจากการลักทรัพย์ คือ เว้นจากการลักขโมย เคารพในสิทธิของผู้อื่น ไมหยิบฉวยเอาของคนอื่นมาเป็นของตน

                    (3)  เว้นจากการประพฤติในกาม คือ การไม่ล้วงละเมิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ไม่ลวงละเมิด ประเวณีทางเพศ

2. วจีกรรม 4 

       วจีกรรม 4  หมายถึง การเป็นผู้มีความประพฤติดีซึ่งแสดงออกทางวาจา 4 ประการ ได้แก่

                 (1)  เว้นจากการพูดเท็จ คือ การพูดแต่ความจริงไม่พูดโกหกหลอกลวง

                 (2)  เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูดแต่ในสิ่งที่ทําให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียว  ไม่พูดจาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกแยกแตกร้าว

                 (3)  เว้นจากการพูดคําหยาบ คือ พูดแต่คําสุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยนกับบุคคลอื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง

                  (4)  เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดแต่ความจริง มีเหตุผล เน้นเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์พูดแต่สิ่งที่จําเป็นและพูดถูกกาลเทศะ

3. มโนกรรม 3 

       มโนกรรม 3 หมายถึง ความประพฤติที่เกิดขึ้นในใจ 3 ประการ ได้แก่

         (1)  ไม่อยากได้ของของเขา คือ ไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

         (2)  ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ มีจิตใจปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญ

         (3)  มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ ความเชื่อที่ถูกต้องคือความเชื่อในเรื่องการทําความดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว และมีความเชื่อว่าความพยายามเป็นหนทางแห่งความสําเร็จ

สังคหวัตถุ 4

       เป็นหลักธรรมคําสอนทางพระพุทธศาสนาที่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจของคนที่ยังไม่เคยรักใครนับถือให้มีความรักความนับถือ สังคหวัตถุเป็นหลักธรรมที่ช่วยผูกไมตรีซึ่งกันและกันให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา

             1. ทาน คือ การให้เป็นสิ่งของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ การให้เป็น การยึดเหนี่ยวน้ําใจกันอย่างดียิ่ง เป็นการสงเคราะห์สมานน้ําใจกันผูกมิตรไมตรีกันให้ยั่งยืน

             2. ปิยวาจา คือ การเจรจาด้วยถ้อยคําไพเราะอ่อนหวานพูดชวนให้คนอื่นเกิดความรักและนับถือ คําพูดที่ดีนั้นย่อมผูกใจคนให้แน่นแฟ้นตลอดไป หรือแสดงความเห็นอกเห็นใจให้กําลังใจรู้จักพูดให้เกิดความ เข้าใจดีสมานสามัคคีย่อมทําให้เกิดไมตรีทําให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

             3. อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน คือช่วยเหลือด้วยแรงกายและขวนขวาย ช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ให้ลุล่วงไป เป็นคนไม่ดูดายช่วยให้ความผิดชอบชั่วดีหรือช่วยแนะนําให้เกิดความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ

             4. สมานัตตตา คือ การวางตนเป็นปกติเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตัว และการวางตนให้เหมาะสม กับฐานะของตนตามสภาพ ได้แก่ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย หรือผู้เสมอกัน ปฏิบัติตามฐานะผู้น้อยคาราวะน้อบน้อม ยําเกรงผู้ใหญ่

อบายมุข 6

      คําว่า อบายมุข คือ หนทางแห่งความเสื่อมหรือหนทางแห่งความหายนะความฉิบหาย มี 6 อย่างได้แก่

              1. การเป็นนักเลงผู้หญิง หมายถึง การเป็นคนมีจิตใจใฝ่ในเรื่องเพศ เป็นนักเจ้าชู้ ทําให้เสียทรัพย์สิน  เงินทองสูญ เสียเวลาและเสียสุขภาพ

              2. การเป็นนักเลงสุรา หมายถึง ผู้ที่ดื่มสุราจนติดเป็นนิสัย การดื่มสุรานอกจากจะทําให้เสียเงินเสียทอง แล้วยังเสียสุขภาพ และบั่นทอนสติปัญญาอีกด้วย

              3. การเป็นนักเลงการพนัน หมายถึง ผู้ที่ชอบเล่นการพนันทุกชนิด การเล่นการพนันทําให้เสีย ทรัพย์์สิน ไม่เคยทําใครร่ํารวยมั่งมีเงินทองได้เลย

              4. การคบคนชั่วเป็นมิตร หมายถึง การคบคนไม่ดีหรือคนชั่ว คนชั่วชักชวนให้ทําในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และอาจนําความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและครอบครัว

              5. การเที่ยวดูการละเล่น หมายถึง ผู้ที่ชอบเที่ยวการละเล่นกลางคืน ทําให้เสียทรัพย์สิน และอาจ ทําให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว

              6. เกียจคร้านทําการงาน หมายถึง ผู้ไม่ชอบทํางาน ไม่ขยัน ไม่ทํางานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ


เบญจศีล  เบญจธรรม

        เบญจศีล   เบญจธรรม คือ หลักธรรมที่ควรปฏิบัติควบคู่กันมุ่งให้บุคคลทําความดีละเว้นความชั่ว

 

เบญจศีล (สิ่งที่ควรละเว้น)   

    1. เว้นจากการฆ่าสัตว์

    2. เว้นจากการลักทรัพย์

    3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

    4. เว้นจากการพูดเท็จ

    5. เว้นจาการเสพของมึนเมา

เบญจธรรม (สิ่งที่ควรประพฤติ)

    1. มีความเมตตากรุณา

    2. ประกอบอาชีพสุจริต

    3. มีความสํารวมในกาม

    4. พูดความจริง ไม่พูดโกหก

    5. มีสติสัมปชัญญะ

โลกบาลธรรมหรือธรรมคุ้มครองโลก

        โลกบาลธรรม หรือ ธรรมคุ้มครองโลก เป็นหลักธรรมที่ช่วยให้มนุษยทุกคนในโลกอยู่กันอย่างมี ความสุข มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ มีคุณธรรม และทําแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการ ได้แก่ หิริโอตตัปปะ

      1.หิริ คือ ความละอายในลักษณะ 3 ประการแล้วไม่ทําความชั่ว (บาป) คือ

                 (1) ละอายแก่ใจหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจตนเองแล้วไม่ทําความชั่ว

                    (2) ละอายผู้อื่นหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แล้วไม่ทําความชั่ว

                    (3) ละอายต่อความชั่วที่ตนจะทํานั้นแล้วไม่ทําความชั่ว

            2.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัว หมายถึง

                    (1) เกรงกลัวตนเอง ติเตียนตนเองได้

                    (2) เกรงกลัวผู้อื่นแล้วไม่กล้าทําความชั่ว

                    (3) เกรงกลัวต่อผลของความชั่วที่ทําจะเกิดขึ้นแก่ตน

                    (4) เกรงกลัวต่ออาญาของแผ่นดินแล้วไม่กล้าทําความชั่ว