พระพุทธศาสนาเชื่อเรื่องการเวียนว่าย ตาย เกิด ในวัฏสงสาร ถ้าสัตว์โลกยังมีกิเลส คือ โลภ โกรธ หลง จะต้องเกิดในไตรภูมิ คือ 3 โลก ได้แก่ นรกภูมิ โลกมนุษย์ และเทวโลก และในการเกิดเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะโปรดสัตว์โลกให้บารมีสมบูรณ์ จึงจะเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ให้พระพุทธเจ้าได้บําเพ็ญบารมีมาทุกภพ ทุกชาติและบําเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวดใน 10 ชาติสุดท้าย เรียกว่า ทศชาติ ซึ่งได้กล่าวไว้ในพระสุตตันตปฎก โดยมีความย่อ ๆ ดังนี้
       1. เตมียชาดก

                เป็นชาดกที่แสดงถึง การบําเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ การออกบวช ความว่า พระเตมียเกิดใน ตระกูลกษัตริย์ แต่ทรงเกรงว่าจะต้องขึ้นครองราชย์เป็นพระราชา เพราะทรงเห็นการลงโทษโจรตามคําสั่ง ของพระราชา เช่น เฆี่ยนบาง เอาหอกแทงบาง พระองค์จึงทรงแก่ลงเป็นงอยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ ไม่พูดจากับ ใครพระราชาปรึกษากับพราหมณ์ให้นําพระองค์ไปฝังเสีย พระมารดาทรงคัดค้าน แต่ไม่สําเร็จ จึงทรงขอให้ พระเตมีย ครองราชย์ 7 วัน เผื่อพระองค์จะตรัสบาง ครั้นครบ 7 วันแล้ว พระเตมียก็ไม่ตรัส ดังนั้น สารถีจึง นําพระเตมียไป

ฝังตามคําสั่งของพระราชา ขณะกําลังขุดหลุมพระเตมียลงจากรถ และตรัสปราศรัยแจ้งวา พระองค์ต้องการจะบวช ไม่ต้องการเป็นพระราชา จากนั้นสารถีกลับไปบอกพระราชา พระราชาจึงเชิญ พระเตมียกลับไปครองราชย์ พระเตมียกลับเทศนาสั่งสอนจนพระชนก ชนนี และบริวาร พากันเลื่อมใสออก บวชตาม

        2. มหาชนกชาดก

                 ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญวิริยบารมี คือ ความเพียร ใจความสําคัญ คือ พระมหาชนก-ราชกุมาร เดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยื่อของสัตวน้ำบาง แตพระองค์ ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงวายน้ำ โดยกําหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปกรุงมิถิลาได้ ชาดกเรื่องนี้ เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไปอย่าเบื่อหนาย (ความเพียร) เสีย เราเห็นตัวเอง เป็นได้อย่างที่ปรารถนา ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้

        3. สุวรรณสามชาดก

              ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญเมตตาบารมี คือ การแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตวทั้งปวงเป็นสุข ทั่วหนา มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสาม เลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้เมตตาปรารถนาดี ต่อผู้อื่น หมูเนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อ พระเจ้ากบิลยักษ์ ยิงเอา ด้วยธนู ด้วยเขาพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพ ผู้เลี้ยงมารดา บิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูง มารดาของสุวรรณสามมา มารดา บิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจะกริยาอ้างคุณความดีของสุวรรณสาม สุวรรณ

สามก็ฟื้นคืนสติและได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ยอมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ ต่อจากนั้น เมื่อพระราชา ขอให้สั่งสอนต่อไปอีกก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง

        4. เนมิราชชาดก

                   ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ ความตั้งใจมั่นคง มีเรื่องเล่าวา เนมิราช ได้ขึ้น ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบําเพ็ญคุณงามความดี เป็นที่รักของมหาชน และในที่สุดเมื่อทรงมอบ ราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบําเพ็ญมา ทอดพระเนตรเห็นเส้นพระเกศาหงอกบ้างก็สลดพระทัยในสังขารจึงทรงออกผนวช

       5. มโหสถชาดก

                 ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญปัญญาบารมี คือ มีปัญญาล้ําเลิศ มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิต เป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะ แห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้ สามารถแนะนําในปัญหาต่าง ๆ ได้ อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความด้วยความดี ไม่พยาบาท อาฆาตครั้งหลัง ใช้ อุบายป้องกันพระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้

       6. ภูริทัตชาดก

                 ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญศีลบารมี คือ การรักษาศีล มีเรื่องเล่าว่า ภูริทัตตนาคราช ไปจําศีล อยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมานต่าง ๆ ทั้งที่สามารถจะทําลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ ด้วยความที่มีใจมั่นต่อศีลของตนในที่สุดก็ได้อิสรภาพ

       7. จันทกุมารชาดก

                 ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดทน จันทกุมาร เป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช พระองค์ทรงช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ราชปุโรหิต เป็นผู้รับสินบนตัดสินคดี ขาดความเป็นธรรม ส่งผลให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตพยาบาท วันหนึ่งพระเจ้าเอกราช ทรงพระสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อทรงตื่นบรรทม ทรงพระประสงค์เดินทางไปดาวดึงสเทวโลก จึงตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ กัณฑหาลพราหมณ์ จึงกราบทูลแนะนําให้ตัดพระเศียรโอรส ธิดา มเหสี บูชายัญ แม้ใครจะทัดทาน ขอร้องก็ไม่เป็นผล ร้อนถึงท้าวสักกะ (พระอินทร์) ต้องมาชี้แจงให้หายเขาใจผิดว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ มหาชน จึงรุมฆ่ากัณฑหาลพราหมณ์ และเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญ

จันทกุมารขึ้นครองราชย์

        8. นารทชาดก

                 ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การวางเฉย พระพรหมนารถ ได้ช่วยให้ พระเจ้าอังคติราช แห่งกรุงมิถิลามหานคร พ้นจากความคิดเห็นผิดที่ได้รับคําสอนจากคุณาชีวก ว่ารูปกาย ของคน สัตว์ เป็นของเที่ยง แม้ตัดศีรษะผู้อื่นแล้วไม่บาป สุขทุกข์เกิดได้เองไม่มีเหตุ คนเราเวียนวายตายเกิด หนักเขาก็บริสุทธิ์เอง เมื่อพระองค์มีความเห็น ดังนั้น พระเจ้าอังคติราชจึงสั่งให้รื้อโรงทาน และมัวเมาใน โลกีย์ ร้อนถึงพระธิดา คือ พระนางรุจา ทรงห่วงพระบิดา จึงสวดอ้อนวอน ขอให้พระบิดาพ้นจากความมัวเมา ร้อนถึง พระพรหมนาทร ทรงจําแลงกายเป็นนักบวช ทรงสอนให้พระเจ้าอังคติราชให้กลับความเห็นที่ผิดมา บําเพ็ญกุศลถือศีล ทําทานปกครองเมืองโดยสงบร่มเย็น

       9. วิทูรชาดก

                 ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบําเพ็ญสัจจบารมี คือ ความซื่อสัตย์ บัณฑิต มีหน้าที่ถวายคําแนะนํา แก่พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ ซึ่งเป็นพระราชาที่คนนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกทัพยะ เล่นสกา ถ้าแพ้จะถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ต้องให้สิ่งที่ปุณณกยักษ์ต้องการ ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์ขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาหน่วงเหนี่ยวประการใดไม่สําเร็จ วิฑูรบัณฑิตรักษาสัจจะไปกับยักษ์ ในที่สุดแม้ ยักษ์จะทําอย่างไรวิฑูรบัณฑิตก็ไม่ตายกับแสดงธรรม จนยักษ์เลื่อมใสและได้กลับคืนบ้านเมือง มีการฉลองรับขวัญเป็นการใหญ่

        10. เวสสันดรชาดก

               เป็นชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าชาติต่อไปจึงจะเกิดเป็นพระพุทธเจ้าชาดกเรื่องนี้ แสดงถึงการ บําเพ็ญทานบารมี คือ การบริจาคทาน มีเรื่องเล่าว่า พระเวสสันดรผู้ใจดี บริจาคทุกอย่างที่มีคนขอ ครั้งหนึ่ง ประทานช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองแก่พราหมณ์ ชาวกาลิงคะ ซึ่งต่อมาขอช้างไปเพื่อให้เมืองของตนหายจากฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธ ขอให้เนรเทศพระราชบิดา จึงจําพระทัยต้องเนรเทศพระเวสสันดร ซึ่งพระนางมัทรีพร้อม ด้วยพระโอรสธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย เมื่อชูชกไปขอสองกุมารก็ประทานให้อีก ภายหลังพระเจ้าสัญชัย พระราชบิดาได้ทรงไถ่สองกุมารจากชูชก และเสด็จไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับกรุง (เรื่องนี้ แสดงการเสียสละส่วนน้อย เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือ การตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้ บําเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ มิใช่เสียสละโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเหตุผล)