เรื่องที่ 6 ค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมโลก

ศีลธรรม จริยธรรม และค่านิยม คือ สิ่งที่กำหนดมาตรฐาน ความประพฤติ ของสมาชิกในสังคมไว้ให้

ปฏิบัติตามแนวทางที่สังคมได้กำหนดว่า เป็นสิ่งดีงาม เหมาะสม กับสภาพสังคมนั้น ๆ รวมทั้ง เป็นมาตรฐานที่

ใช้ตัดสินการกระทำของบุคคลในสังคมว่าถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว เพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ซึ่งเป็น

สิ่งสำคัญที่มีอยู่คู่กับการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับร่วมกัน

ค่านิยมและจริยธรรมที่ทั่วโลกพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในพลเมืองของชาติตน มีดังนี้

1. การไม่เบียดเบียนและก่อความเดือนร้อนให้แก่ผู้อื่น ทั้งการเบียดเบียนทางกาย วาจา ใจ เช่น

การใช้คำพูดที่ส่อเสียด เยาะเย้ยถากถาง ดูหมิ่นผู้อื่น รวมทั้งการกลั่นแกล้ง ทำลายทรัพย์สินผู้อื่น

2. ความเสียสละ โดยเป็นผู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ลดละความเห็นแก่ตัว

ช่วยเหลือผู้อื่นในยามที่มีความจำเป็นได้ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ หรือกำลังทางสติปัญญาเพื่อการอยู่

ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมโดยรวม

3. มีความกล้าหาญทางคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง การทำในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องตามทำนอง

คลองธรรมและละเลิกไม่กระทำความผิด อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองและส่วนรวม หรือทำให้

ตนเองและส่วนรวมเสียผลประโยชน์ก็ตาม

4. ความละอายและเกรงกลัวต่อกระทำความชั่ว โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความชั่วทั้งปวง มีจิตใจที่

ยับยั้งผลประโยชน์ที่ได้มาโดยมิชอบ

5. การรู้จักเคารพในความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น มีความสำนึกในสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค

ของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นของตนเองและผู้อื่น เป็นการยอมรับสติปัญญา ความคิดเห็นของผู้อื่นเท่ากับของ

ตนโดยไม่หลอกตนเอง หรือมีความดื้อรั้น เอาแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ และเหยียดหยามผู้อื่น เป็นการฝึก

ให้เป็นคนมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นรอบด้าน แล้วนำมาพิจารณาด้วยตนเอง เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้ง

6. มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น หมายถึง ความซื่อสัตย์ต่อตนเองเพื่ออยู่ในความไม่

ประมาท ขยันขันแข็งในหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้ง มีความซื่อสัตย์ต่อ

ผู้อื่น ประพฤติปฏิบัติตรงไปตรงมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่คิดโกงหรือทรยศหักหลัง หรือชักชวนไปในทางเสื่อมเสีย

เพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน

7. ความมีวิจารณญาณในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ หรือ ความมีเหตุผลในการพิจารณาไตร่ตรอง

ไม่หลงเชื่อสิ่งใดง่าย ๆ รู้จักควบคุมกาย วาจา โดยใช้สติอย่างรอบคอบ ไม่ทำตามอารมณ์มีจิตใจสงบเยือกเย็น

ไม่วู่วาม สามารถรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นที่ขัดแย้งกับตนอย่างใจกว้าง ไม่แสดงความโกรธหรือไม่พอใจ

ไม่มีทิฏฐิมานะ

8. ความขยัน หมั่นศึกษา หาความรู้ ให้เฉลียวฉลาดในศิลปวิชาการทุกสาขาวิชา

9. ความสามารถในการประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ

10. การักษาสิ่งแวดล้อมและความเป็นชาติ วรรณกรรม ประเพณี ตลอดจนดินแดนของตนเอง