แม้ว่าประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ในทางปฏิบัติผู้บริหารประเทศทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำ นั้น จะมีอำนาจอย่างมากมายและกว้างขวางมากหลายครั้ง ประชาชนมีความคลางแคลงใจในพฤติกรรมของผู้บริหารประเทศ ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำว่าน่าจะเป็นไป เพื่อประโยชน์ตนหรือพวกพ้องมากกว่า เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ก็ไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบใด ๆ ได้จนกระทั่ง เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งได้ริเริ่มให้มีการควบคุมอำนาจรัฐโดยบัญญัติไว้ใน หมวดที่ 10 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ มาตรา 291 – มาตรา 311

ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่อง

1. การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน หนี้สิน

2. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

3. การถอดถอนจากตำแหน่ง

4. การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

       ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” หรือ “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ”ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันว่า หมายถึง องค์กรใดบ้างโดยคำว่า “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” นั้น ไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นคำที่ใช้เรียกรวม ๆถึงองค์กรที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้มีขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ทำหน้าที่ในการจัดการการเลือกตั้ง


บทบาทหน้าที่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ    

       องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

       1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอื่นอีก 4 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา คัดเลือกจากผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง และมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

       2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นคณะบุคคลจำนวน 3 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความรอบรู้ และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริตมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวโดยประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนาม 

รับสนองพระบรมราชโองการ และให้มีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นหน่วยงานอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ   

       3. คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นองค์กรอิสระที่ประกอบไปด้วยประธานสภา 1 คน และกรรมการอื่นอีก 2 คน ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของ

วุฒิสภา

       กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์

มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวโดยมีประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ให้มีสำนักงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ

       4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

       การตรวจเงินแผ่นดิน ให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลางประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลังและด้านอื่น มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และให้มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ๆ ตามกฎหมายบัญญัติ


บทบาทหน้าที่ขององค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

       1 องค์กรอัยการ

       มีหน่วยธุรกิจที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชาการ มีพนักงานอัยการ ทำหน้าที่ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

       2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

       ประกอบด้วย ประธานกรรมาการ 1 คน กรรมการอื่นอีก10 คน ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

       3. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ     

       มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีสำนักงานเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ