เรื่องที่ 1 หลักสิทธิมนุษยชนสากล

หากเราได้ศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของผู้อยู่ในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปจจุบัน มีขอเท็จจริงประการหนึ่งที่พบได้ คือ การที่มนุษย์ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เทาเทียมกันตามเชื้อชาติ สีผิว เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น การทำดังกล่าวหลายครั้ง เป็นการละเมิดสิทธิของอีกบุคคลหนึ่งด้วยความเชื่อว่า บุคคลนั้นมีความด้อยกว่า  ผู้กระทำละเมิดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น บางประเทศมีความเชื่อว่าฐานะของชาย

สูงกว่าหญิง ก็มักจะเกิดการกระทำที่เอารัดเอาเปรียบฝ่ายหญิง หรือประเทศที่ใช้ระบบวรรณะ ก็จะเกิด การกีดกั้นคนในวรรณะที่ต่ำกว่าเป็นต้น

      ในโลกยุคปจจุบันอารยประเทศต่างยอมรับและตองปฏิบัติกับประชาชนของตนเองตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล อาจจะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่ พัฒนาการทางการเมืองการปกครอง ระดับการศึกษา และความตื่นตัวในทางการเมืองของประชาชนในประเทศนั้น ๆ

     ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการศึกษา เรื่อง สิทธิมนุษยชนของประชาชนไทย ก่อนอื่นขอให้ เรามาทำความเข้าใจให้ตรงกันและเป็นพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

ความหมาย สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือศักดิ์ศรีความเป็นคน เป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือแนวคิดอื่น ๆ เผ่าพันธุ์ หรือสังคม ทรัพยสิน ถิ่นกำเนิดหรือสถานะอื่น ๆ

จากความหมายดังกล่าวจึงวิเคราะห์ได้ว่า เรื่อง สิทธิมนุษยชน นั้นเป็นแนวคิดที่มีความเชื่อพื้นฐาน ในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่า เป็นสิทธิหรือสถานะสากล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือสัญชาติ ซึ่งตองได้รับการยอมรับและได้รับการปฏิบัติ

 โดยมีองค์ประกอบของหลักสิทธิมนุษยชนที่แต่ละบุคคลควรได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ได้แก่ เรื่อง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นธรรม ที่จะทำให้บุคคลนั้นดำเนินชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีหลักประกัน ในเรื่องการได้รับการปกป้องคุ้มครองด้วยความเป็นธรรม มีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังนี้

1. สิทธิ ในการที่จะมีที่อยู่อาศัย มีอาหารกิน มียารักษาโรค ที่จะได้รับการศึกษา การไม่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ และการมีชีวิตที่ปลอดภัย

2. เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ในการเลือกอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย ในการเลือกคูครอง ในการเดินทาง ในการนับถือศาสนา และในการชุมนุมโดยสงบสันติปราศจากอาวุธ

3. ความเสมอภาค ในการได้รับการปฏิบัติจากรัฐโดยเท่าเทียมกัน มีหลักประกันวาจะไม่ถูกเลือก ปฏิบัติ และไม่โดนเอาเปรียบ

 4. ความเป็นธรรม กลุ่มคนด้อยโอกาส คนพิการ ผู้อ่อนแอกว่่า ได้แก่ เด็ก สตรี คนชรา คนพิการต้องได้รับการปฏิบัติในบางเรื่องที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไปที่เขาถึงโอกาสได้มากกว่า แข็งแรงกว่า ทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ เพื่อให้โอกาสคนกลุ่มนี้สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ด้อยกว่าคนทั่วไป