รูปแบบการเมืองการปกครองของไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปีพุทธศักราช 2475 เป็นการปกครอง

ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองมีที่มาจากกลุ่มผู้ปกครอง คือ ทหารและกลุ่มขุนนาง ส่วนประชาชนเป็นแค่ไพร่ธรรมดา หรือ ทาสที่ต้องทำตามคำสั่งของกลุ่มผู้ปกครองเท่านั้น ซึ่งเป็นที่มาของระบบอุปถัมภ์ ความอยุติธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกิดจากบุคคลที่เป็นกลุ่มผู้ปกครองในช่วงเวลานั้น ไม่มีระบบที่จะตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจกับคณะผู้ปกครองได้ จากรูปแบบการปกครองดังกล่าว เมื่อมีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามายังประเทศไทย จึงมองว่าไทยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน (อนารยชน)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวตะวันตกที่เดินเข้ามาประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 4 เข้ามาทำหนังสือสัญญาพระราช-ไมตรีกับประเทศไทย หนังสือสัญญาที่ทำขึ้นมานั้นได้ยอมให้ฝรั่งมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ ยอมให้ฝรั่งตั้งศาลขึ้นเรียกว่า “ศาลกงสุล”

       หลักการสำคัญยิ่งในรัฐธรรมนูญ

       คือ อำนาจสูงสุดของประเทศ เป็นของราษฎรทั้งหลาย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศภายใต้

รัฐธรรมนูญ

       บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ถือว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมไทย ได้แก่

1. การรับรองสิทธิของชายและหญิงว่ามีสิทธิเท่าเทียมกัน

2. ความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายกับทุกบุคคล : บุคคลย่อมเสมอกัน ในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

3. ที่มาของรัฐบาล

4. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

5. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ทั้งที่เป็นสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล