4. ศาสนาซิกขเขาสูประเทศไทย

ชาวซิกขส่วนมากยึดอาชีพขายอิสระ บ้างก็แยก ย้ายถิ่นฐานทํามาหากินไปอยู่ต่างประเทศ บ้างก็เดินทางไปมา ระหว่างประเทศ ในบรรดาชาวซิกข์ดังกลาวมีพ่อค้า

ชาวซิกข์ผู้หนึ่งชื่อ นายกิรปารามมาคาน ได้เดินทางไปประเทศอัฟกานิสถาน เพื่อหาซื้อสินค้าแล้วนําไปจําหน่ายยังบ้านเกิดสินค้าที่ซื้อครั้งหนึ่งมีหมาพันธุ์ดีรวมอยู่หนึ่งตัว เมื่อขายสินค้าหมดแล้วได้เดินทางมาแวะที่ประเทศสยามโดยได้นํามาตัวดังกล่าวมาด้วย เขาได้มาอาศัยอยู่ในพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์สยามได้รับความอบอุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เขามีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ถวายหมาตัวโปรดของเขาแด่พระองค์ด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นในความจงรักภักดีของเขา ได้พระราชทานช้างให้เขาหนึ่งเชือก ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ที่จําเป็นในระหวางเดินทางกลับอินเดีย เมื่อเดินทางกลับมาถึงอินเดียแล้วเห็นว่าของที่ได้รับพระราชทานมานั้นสูงค่าอย่างยิ่งควรที่จะเก็บรักษาให้สมพระเกียรติยศแห่งพระเจ้ากรุงสยาม จึงได้นําช้างเชือกนั้นไปถวายพระราชาแห่งแคว้นแคชเมียรและยํามู พร้อมทั้ง เล่าเรื่องที่ตนได้เดินทางไปประเทศสยามได้รับความสุขความสบายจากพี่น้องประชาชนชาวสยาม ซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองด้วยทศพิธราชธรรมเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของประชาชน  พระราชาแห่งแคว้นแคชเมียร ได้ฟังเรื่องราวแล้วก็มีความพอพระทัยอยางยิ่ง ทรงรับช้างเชือก ดังกล่าวเอาไว้แล้วขึ้นระหว่างเป็นราชาพาหนะต่อไป พร้อมกับมอบแก้วแหวนเงินทองให้นายกิรปารามมาคาน เป็นรางวัล จากนั้นเขาก็ได้เดินทางกลับบานเกิด ณ แควนปญจาป แต่ครั้งนี้เขาได้รวบรวมเงินทอง พร้อมทั้งชักชวนเพื่อนพ้องให้ไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงสยามตลอดไป  ต่อมาไม่นานผู้คนที่เขาได้ชักชวนไว้ก็ทยอยกันมาเรื่อย ๆ ดังนั้น ศาสนาสถานแห่งแรกจึงได้ถูกกําหนดขึ้น โดยศาสนิกชนชาวซิกข์ได้เช่าเรือนไม้หนึ่งคูหาที่บริเวณบ้านหมอ หลังโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2455 มาตกแต่งให้เหมาะสมเพื่อใช้ประกอบศาสนากิจ