A-029-ผักกาด

ชื่อสามัญ

Chinese Cabbage

ชื่อวิทยาศาสตร์

Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. cylindrica Tsen & S.H.Lee) (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica chinensis var. pekinensis (Lour.) V.G. Sun) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

ลักษณะ

ผักกาดขาวปลีเป็นผักที่มีอายุปีเดียว ผักกาดขาวขึ้นได้ในดินเกือบทุกประเภท ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ในดินต้องชื้นตลอดฤดูปลูก ผักกาดขาวปลีต้องการน้ำมากสม่ำเสมอ และควรพรวนดินบ่อยๆ ในระยะที่เริ่มเข้าปลี ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี และปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์

สรรพคุณ

  1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  2. มีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
  3. ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  4. ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
  5. ช่วยแก้กระหาย
  6. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
  7. แคลเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง
  8. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด
  9. ช่วยขับน้ำนม (ใบ)
  10. ผักกาดขาวมีออร์กาโนซัลไฟด์ (Organosulffide) และฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  11. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้
  12. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  13. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน
  14. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  15. มีส่วนช่วยกำจัดสารพิษ ของเสีย และโลหะหนักออกจากร่างกาย
  16. ผักกาดอุดมไปด้วยโฟเลตซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
  17. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงมากขึ้น
  18. ช่วยแก้หืด (เมล็ด)
  19. ช่วยแก้อาการหวัด ด้วยการต้มหัวผักกาดดื่มเป็นน้ำ
  20. ช่วยแก้อาการไอและเสมหะ ด้วยการใช้หัวผักกาดพอประมาณ ใส่ขิงและน้ำผึ้งเล็กน้อยแล้วต้มกับน้ำดื่ม (หัวผักกาด, เมล็ด)
  21. ช่วยแก้อาการเสียงแห้ง ไม่มีเสียง ด้วยการคั้นน้ำหัวผักกาดขาว เติมน้ำขิงเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม
  22. ช่วยแก้เลือดกำเดาออก
  23. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด
  24. ช่วยรักษาแผลในปาก ด้วยการคั้นน้ำจากหัวผักกาดขาวแล้วนำมาใช้บ้วนปากเป็นประจำ
  25. ช่วยแก้อาการเรอเปรี้ยว ด้วยการนำหัวผักกาดขาวดิบมาหั่นประมาณ 3-4 แว่นแล้วนำมาเคี้ยวกินแก้อาการ
  26. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ใบ)
  27. ช่วยในการย่อยอาหาร (หัวผักกาด, ใบ)
  28. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  29. ช่วยแก้ท้องเสีย (หัวผักกาด, เมล็ด, ใบ)
  30. ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
  31. ช่วยขับปัสสาวะ
  32. ช่วยแก้พิษสุรา
  33. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
  34. ช่วยรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  35. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเหน็บชา
  36. ช่วยแก้อาการอักเสบ
  37. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือแผลโดนสะเก็ดไฟ ด้วยการใช้หัวผักกาดนำมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้เมล็ดนำมาตำให้แหลกแล้วพอกก็ใช้ได้เช่นกัน (หัวผักกาด, เมล็ด)
  38. ช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้หัวผักกาดหรือใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 60 กรัมนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาคลุกกับเหล้า (อุ่นให้ร้อน) แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (หัวผักกาด, ใบ, เมล็ด)

ประโยชน์

  • ใช้ประกอบอาหาร เมนูผักกาดขาว ได้แก่ ผัดผักกาดขาว, แกงจืดผักกาดขาว, ต้มจืดผักกาดขาวยัดไส้ ฯลฯ

วิธีการปลูก

การปลูกผักกาดขาวสามารถทำได้ 2 วิธี คือ แบบเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก ซึ่งเหมาะกับผักกาดขาวปลี ซึ่งเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง กับอีกแบบ คือ หว่านลงแปลง ซึ่งใช้กับผักกาดขาวใหญ่และผักกาดขาวธรรมดา ซึ่งเมล็ดพันธุ์มีราคาถูก

1. แบบเพาะกล้า หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงเพาะกล้า แล้วโรยทับด้วยดิน คลุกปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหนา 1 เซนติเมตรคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม แล้วรดน้ำเช้าเย็น เมื่อต้นกล้าอายุได้ 15-20 วัน ก็ย้ายไปปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมดินดีแล้วให้มีระยะห่าง 30-35 เซนติเมตร โดยควรย้ายกล้าในตอนเย็น

2. วิธีหว่านลงแปลงปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์หว่านลงในแปลง แล้วโรยทับด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกหนา 1 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม แล้วรดน้ำเช้าเย็น พอกกล้าอายุได้ 15-20 วัน ให้ถอนแยกให้แต่ละต้นห่างกัน 30-35 เซนติเมตร

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักกาดขาวมีสารอาหารต่าง ๆ ค่อนข้างครบ เช่น โปรตีน ไขมัน น้ำตาล ที่สำคัญคือผักกาดขาวมีแคลเซี่ยมและวิตามินซีในปริมาณสูง ซึ่งแคลเซี่ยมนอกจากจะมีหน้าที่เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ ปัจจุบันยังพบว่า แคลเซี่ยมมีบทบาทในการลดความดันโลหิตสูง และป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย ส่วนวิตามินซีจะมีบทบาทในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันมะเร็ง และกำจัดสารพิษและโลหะหนักให้แก่ร่างกาย

รูปภาพ

อ้างอิง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์เดอะแดนดอทคอม

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)