B-028-ทุเรียนเทศ

ชื่อสามัญ

Soursop, Prickly Custard Apple

ทุเรียนน้ำ(ภาคใต้) ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลด หรือหมากพิลด (ภาคอีสาน) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Annona muricata L.

ลักษณะ

ไม้ต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านค่อนข้างมากแต่ไม่เป็นระเบียบ ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลถึงดำ มีความสูง 4 – 5 เมตร ใบเดี่ยว รูปไข่รี เรียวยาว ปลายแหลม โคนเรียวลง ค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ใบเรียงสลับกันไปในระนาบเดียวกับกิ่ง ผิวใบอ่อนเป็นมัน กว้าง 5 – 7 ซม. ยาว 11 – 16 ซม. ก้านใบยาว 1 – 1.5 ซม. เมื่อฉีกใบจะได้กลิ่นเหม็นเขียว ฉุนจัด ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่เป็นรูปหัวใจ ห้อยลงที่ซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย อยู่รวมกัน 2 – 4 ดอก กลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมหนาแข็ง จำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ มีสีเหลืองแกมเขียว ยาว 3.5 – 4.5 ซม. บานแย้มเท่านั้น ไม่บานกว้าง ออกดอกตลอดทั้งปี มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ผลกลุ่ม แต่มองดูคล้ายผลเดี่ยว สีเขียวสด รูปร่างกลมรีคล้ายทุเรียน เปลือกมีหนามแหลมแต่ไม่แข็ง และหนามนิ่มเมื่อสุก เนื้อในผลสีขาวเป็นเนื้อเดียวกันทั้งผล ไม่แยกเป็นแต่ละเมล็ดเหมือนน้อยหน่า มีรสหวานอมเปรี้ยวมีเส้นใยเกาะกันเหนียวแน่น ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 – 15 ซม. ยาว 15 – 25 ซม. น้ำหนักประมาณ 0.5 – 2.0 กิโลกรัม มีรสเปรี้ยว หรือหวานเล็กน้อย ถ้าผลยังดิบมีรสอมเปรี้ยว และมีรสมันเล็กน้อย เมล็ดแก่สีน้ำตาลถึงดำ หุ้มด้วยเนื้อสีขาว

สรรพคุณ

  1. ผลทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ผล ใบ และเมล็ดมีฤทธิ์ทางยา ใช้ผลเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลดิบใช้รับประทานเพื่อรักษาโรคบิด ผลสุกช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  2. ผลจะช่วยเพิ่มน้ำนมกับหญิงให้นมบุตร
  3. ใบนำมาใช้ชงดื่มช่วยทำให้นอนหลับสบาย ใบใช้เป็นยาระงับประสาท ใบช่วยลดอาการไข้ลงได้ทันทีเมื่อตื่นนอน ใบเป็นยาแก้อาการท้องอืด ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทาบริเวณท้อง ใบใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการไอ อาการปวดตามข้อ ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทา
  4. นำใบมาใส่ไว้ในหมอนหนุน จะช่วยทำให้หลับสบายยิ่งขึ้น (เนเธอร์แลนด์)
  5. รากและเปลือกนำมาทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการเครียด ช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดการเกร็ง
  6. ใบช่วยแก้อาการเมา ด้วยการใช้ใบขยี้ลงในน้ำผสมกับน้ำมะนาว 2 ลูก แล้วนำมาจิบ
  7. เมล็ดนำมาใช้ในการช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
  8. ผลดิบนำมาตำแล้วพอกเป็นยาฝาดสมาน
  9. น้ำสกัดจากเนื้อยังช่วยในการขับพยาธิได้

มีงานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า ตั้งแต่สมัยโบราณ ทุเรียนน้ำเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคในแถบแอฟริกาใต้ โดยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก ต้น เมล็ด ใบ ดอก ผล และเมล็ด ดังนี้


ผล - แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้โรคบิด กระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่


เมล็ด - ใช้สมานแผลห้ามเลือด ใช้ฆ่าแมลง


ใบ - นำมาขยี้ผสมกับปูนใช้ทาบริเวณท้องแก้ท้องอืด ใช้รักษาโรคผิวหนัง เมื่อนำมาปูรองให้คนที่เป็นไข้นอนจะช่วยลดไข้ แก้ไอ ปวดตามข้อ ลดอาการปวด ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ ขยายหลอดเลือดป้องกันความดันสูง กำจัดเซลล์มะเร็ง ฆ่าเชื้อโรค ลดเบาหวาน


หน่ออ่อน - กำจัดเซลล์มะเร็ง


ดอก - บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ


ราก -กำจัดแมลง


เปลือกไม้ - กำจัดแมลง ฆ่าเชื้อโรค พยาธิ อะมีบา แบคทีเรีย และรักษาโรคกระเพาะ

ประโยชน์

ทุเรียนเทศใช้กินเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปเป็นผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ในมาเลเซียนำไปทำน้ำผลไม้กระป๋อง เวียดนามนิยมทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น เมล็ดมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง ในทางโภชนาการ ทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ผล ใบ และเมล็ดมีฤทธิ์ทางยา ใช้เป็นยาสมุนไพร ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ใบใช้ฆ่าแมลงขนาดเล็ก ผลใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร[1] และมีสารต้านอนุมูลอิสระ[2]

ในเม็กซิโกและโคลัมเบีย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานและใช้ทำขนม เช่นเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม agua fresca ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ผสมนม ไอศกรีมทำจากทุเรียนเทศเป็นที่นิยม ในอินโดนีเซีย dodol sirsak ทำจากทุเรียนเทศโดยนำไปต้มในน้ำ เติมน้ำตาลจนกว่าจะแข็ง และนำไปทำน้ำผลไม้ปั่น ในฟิลิปปินส์เรียกทุเรียนเทศว่า guyabano ซึ่งน่าจะมาจากภาษาสเปน guanabana ซึ่งนิยมกินผลสุกและทำน้ำผลไม้ สมูทตี และไอศกรีม บางครั้งใช้ทำให้เนื้อนุ่ม ในเวียดนาม ทางภาคใต้เรียก mãng cầu Xiêm ส่วนทางภาคเหนือเรียก mãng cầu ใช้กินสดหรือทำสมูทตี นิยมนำเนื้อไปปั่นใส่นมข้น น้ำแข็งเกล็ดหรือทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น ในมาเลเซียและอินโดนีเซียนิยมกินเป็นผลไม้เช่นกัน ในไทยสมัยโบราณนิยมนำผลอ่อนไปแกงส้ม หรือเชื่อมแบบเชื่อมสาเก ผลสุกกินเป็นผลไม้[3]

  1. ใช้รับประทานเป็นผลไม้สดหรือนำไปทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น
  2. สารสกัดจากส่วนของใบ เมล็ด และลำต้นของทุเรียนเทศมีฤทธิ์ในการต่อต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง (งานวิจัยในอเมริกา)
  3. การรับประทานผลไม้ชนิดนี้จะช่วยเพิ่มน้ำนมกับหญิงให้นมบุตร
  4. ใบนำมาใช้ชงดื่มช่วยทำให้นอนหลับสบาย
  5. นำใบมาใส่ไว้ในหมอนหนุน จะช่วยทำให้หลับสบายยิ่งขึ้น (เนเธอร์แลนด์)
  6. ใบของทุเรียนเทศมีการนำมาใช้เป็นยาระงับประสาท
  7. รากและเปลือกนำมาทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการเครียด ช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดการเกร็ง
  8. ช่วยแก้อาการเมา ด้วยการใช้ใบขยี้ลงในน้ำผสมกับน้ำมะนาว 2 ลูก แล้วนำมาจิบเล็กน้อยและเอาน้ำที่่เหลือลูบหัว (ตำรา Materia medica)
  9. ผลสุกช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  10. ผลดิบใช้รับประทานเพื่อรักษาโรคบิด
  11. เมล็ดนำมาใช้ในการช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
  12. ผลดิบนำมาตำแล้วพอกเป็นยาฝาดสมาน
  13. เมล็ดของทุเรียนเทศนี้จะมีพิษ จึงนำมาใช้ทำยาเบื่อและทำเป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืช
  14. ใบทุเรียนเทศนำมาใช้ปูให้ผู้ป่วยที่เป็นไข้นอน ซึ่งจะช่วยลดอาการไข้ลงได้ทันทีเมื่อตื่นนอน (แถบคาริบเบียน)
  15. ใบของทุเรียนเทศมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการท้องอืด ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทาบริเวณท้อง
  16. ใบใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการไอ อาการปวดตามข้อ ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทา
  17. เปลือก ราก และดอกมีการนำมาใช้เกี่ยวกับข้ออักเสบและผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ
  18. น้ำสกัดจากเนื้อยังช่วยในการขับพยาธิได้
  19. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลไม้กวนต่าง ๆ ไอศกรีม เยลลี่ ซอส รวมไปถึงผลไม้กระป๋องด้วย
  20. ทุเรียนเทศนิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร อย่างเช่น แกงส้มและเชื่อม (ภาคใต้)


วิธีการปลูก

การปลูกทุเรียนเทศ หรือทุเรียนน้ำนั้น สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะทุเรียนน้ำนั้นใช้วิธีขยายพันธุ์โดยเมล็ด ซึ่งเพียงแค่นำเมล็ดมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1-2 วัน จากนั้นนำไปเพาะดินผสมปกติ ต้นทุเรียนเทศจะงอกขึ้นมาได้ภายใน 7 วัน แต่ต้นกล้าจะโตช้าและออกดอกเมื่อมีอายุ3 ปีขึ้นไป และจะติดผลในปีที่ 4 ได้ผลผลิตประมาณปีละ 1.5 - 2 ตัน/ไร่ หรือหากจะใช้วิธีขยายพันธุ์แบบเสียบยอดและทาบกิ่งก็สามารถทำได้ โดยต้นทุเรียนน้ำนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี

วัสดุเพาะ

  • ควรใช้ขุยมะพร้าว หรือดินร่วนซุย

วิธีเพาะเมล็ด

  • แช่เมล็ดทุเรียนเทศไว้ในน้ำสะอาด 1 ถึง 2 คืน เพื่อกระตุ้นการงอก
  • จากนั้นนำไปเพาะในถุงชำ 1 เมล็ด ต่อ 1 ถุง
  • กลบดินหรือวัสดุปลูกหนาประมาณ 1 ถึง 1.5 เซนติเมตร
  • รดน้ำ แล้ววางถุงชำไว้ในที่ร่มมีแดดรำไร
  • รดน้ำวันละ 2 ครั้ง ทั้งเช้าและเย็น เมล็ดทุเรียนเทศจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ เมล็ดจะงอกออกมาเป็นต้นอ่อน

ขั้นตอน การปลูกทุเรียนเทศ

  • เมื่อต้นพันธุ์ที่มีอายุเพาะชำประมาณ 3 ถึง 5 เดือนขึ้นไป สามารถนำไปปลูกลงดินได้ทันที
  • ขุดหลุมปลูกกว้างกว่ากระถางหรือถุงเพาะกล้าเล็กน้อย หากปลูกหลายต้น ควรเว้นระยะห่างระหว่างหลุมปลูก 4 x 4 เมตร
  • ดินที่ขุดขึ้นมา ควรตากทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันกับดินที่ตากแดดแล้ว ใส่รองก้นหลุม
  • นำต้นพันธุ์ลงปลูก กลบดินให้แน่นพอสมควรเพื่อไม่ให้ต้นพันธุ์ล้มหรือเอียง
  • ทุเรียนเทศให้ผลผลิตภายใน 3 ปีหลังการปลูก

การดูแลทุเรียนเทศ หลังการปลูก

การให้น้ำ

  • หลังการปลูกในระยะแรก ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • เมื่อต้นพันธุ์ตั้งตัวได้ ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ในช่วงเช้า ในฤดูฝน เว้นระยะการให้น้ำได้หากฝนตกชุก เมื่อฝนทิ้งช่วงหรือในฤดูแล้ง ให้สังเกตอากาศและดิน หากอากาศร้อนจัดหรือดินแห้ง ควรรดน้ำให้ชุ่ม
  • เมื่อต้นทุเรียนเทศเจริญเติบโตมีอายุ 2 ปี ขึ้นไป รดน้ำสัปดาห์ละครั้ง หรือมากกว่าตามสภาพอากาศ

การให้ปุ๋ย

  • ช่วงหลังปลูก สามารถให้ปุ๋ยเคมีเร่งโตได้จนถึงช่วงอายุ 2 ปี หลังจากนั้น ห้ามให้สารเคมีเด็ดขาด
  • สามารถให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เดือนละ 1 ครั้ง ตามความเหมาะสม (ประมาณ 1 หรือ 2 กำมือ ต่อต้น) แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

*** ควรกำจัดวัชพืชและพรวนดินก่อนให้ปุ๋ย เพื่อให้ทุเรียนเทศได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ***


คุณค่าทางโภชนาการ

ข้อมูลทางโภชนาการของผลทุเรียนเทศดิบต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 66 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 16.84 กรัม
  • น้ำตาล 13.54 กรัม
  • เส้นใย 3.3 กรัม
  • ไขมัน 0.30 กรัม
  • โปรตีน 1.00 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.070 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 2 0.050 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 3 0.900 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 6 0.059 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม 4%
  • วิตามินซี 20.6 มิลลิกรัม 25%
  • ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโพแทสเซียม 278 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%

อ้างอิง

https://health.kapook.com/view66781.html

https://medthai.com

http://natres.psu.ac.th/ProjectSite/webpage/5durian-detail.htm

https://th.wikipedia.org/wiki/%

  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ทุเรียนเทศ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 97
  • Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  • "ตลาดสดสนามเป้า 5 ตุลาคม 2557 แตงโม ล้วงสูตร บะหมี่ไก่กรอบชิ้นยักษ์ 4/4 [HD]". ยูทิวบ์. 5 October 2014. สืบค้นเมื่อ 6 October 2014.
  • ยอดแต้ว อักษรา. ฟูดอับเดท: ทุเรียนเทศผลไม้โบราณที่แทบจะถูกลืมไปแล้ว. ครัว. ปีที่ 18 ฉบับที่ 214 เมษายน 2555 หน้า 12
  • Lannuzel, A (2003-10-06). "The mitochondrial complex i inhibitor annonacin is toxic to mesencephalic dopaminergic neurons by impairment of energy metabolism". Neuroscience. International Brain Research Organization. 121 (2): 287–296. doi:10.1016/S0306-4522 (03) 00441-X Check |doi= value (help). PMID 14521988. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  • Champy, Pierre (2005-08-02). "Quantification of acetogenins in Annona muricata linked to atypical parkinsonism in guadeloupe". Movement Disorders. 20 (12): 1629–1633. doi:10.1002/mds.20632. PMID 16078200. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  • Lannuzel A, Höglinger GU, Champy P, Michel PP, Hirsch EC, Ruberg M. (2006). "Is atypical parkinsonism in the Caribbean caused by the consumption of Annonacae?". J Neural Transm Suppl. Journal of Neural Transmission. Supplementa. 70 (70): 153–7. doi:10.1007/978-3-211-45295-0_24. ISBN 978-3-211-28927-3. PMID 17017523.
  • Caparros-Lefebvre D, Elbaz A. (1999-07-24). "Possible relation of atypical parkinsonism in the French West Indies with consumption of tropical plants: a case-control study". Lancet. 354 (9175): 281–6. doi:10.1016/S0140-6736 (98) 10166-6 Check |doi= value (help). PMID 10440304.
  • BriefingWire, Can Graviola cure cancer?, Cancer Research UK

Messenger Newspapers, 29th September 2010

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, อุไร จิรมงคลการ (ผักพื้นบ้าน), วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ (ผลไม้พื้นเมืองภาคใต้ ความสุขที่คุณเด็ดได้)