A-006-คะน้า

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

ลักษณะ

คะน้า เป็นพืชผักสมุนไพร ที่เจริญเติบโตได้ง่ายๆ มีความสูงประมาณ 30 ซม. ลำต้นมีลักษณะกลมๆ จะมีลำต้นเดี่ยว ต้นมีสีเขียวนวล มีก้านใบยาว ใบกว้างใหญ่สีเขียวนวล คะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 พันธุ์คือ

1.คะน้าใบ มีลักษณะต้นอวบใหญ่ ก้านใบเล็ก ใบกลมหนาสีเขียวนวล มีรสชาติกรอบ ทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดี

2.คะน้ายอดหรือคะน้าก้าน มีลักษณะต้นอวบใหญ่ มีดอกสีขาว ใบแหลมสีเขียวนวล ก้านใหญ่ มีรสชาติกรอบอร่อย มีความต้านทานต่อโรค ต่อความร้อนและความชื้นได้ดี เป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้า ให้ผลผลิตสูง

ต้นคะน้า มีลักษณะกลมๆ จะมีลำต้นเดี่ยว จะมีก้านใบยาว โดยรอบๆ อยู่ห่างๆบนต้นของคะน้า จะมีสีเขียวนวล

ใบคะน้า มีลักษณะมีใบกว้างใหญ่ จะมีสีเขียวนวล ก้านใบยาว ใบจะออกแข็งๆ

รากคะน้า มีระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากฝอยๆ จะมีสีน้ำตาล

ดอกคะน้า ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด มีลักษณะช่อดอกแบบซี่ร่ม รองรับช่อดอกเล็กๆ ไว้ ดอกจะมีสีขาว

เมล็ดคะน้า มีลักษณะกลมๆ มีขนาดเล็กๆ มีสีดำ


Cr : https://www.thai-thaifood.com/th/%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2/

สรรพคุณ

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
  4. ผักคะน้ามีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
  5. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  6. คะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
  8. ช่วยบำรุงโลหิต
  9. ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  11. ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
  12. ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
  13. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
  14. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  15. ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)
  16. ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง (วิตามินอี)
  17. มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง
  18. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  20. ช่วยรักษาโรคหอบหืด เพราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม และยังช่วยขยายหลอดลมของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอีกด้วย
  21. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมเมื่อถูกโจมตีด้วยละอองเกสรหรือฝุ่นที่ทำให้ร่างกายต่อต้าน
  22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก (เส้นใย)
  23. การรับประทานผักคะน้าเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดตะคริว
  24. ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
  25. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน
  26. เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ เพราะผักคะน้าถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีน้ำตาลน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ (3-5%)
  27. ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ (กรดโฟลิก)
  28. ผักคะน้ามีโฟเลตสูง จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
  29. ช่วยลดอาการกินของจุบจิบ เพราะแคลเซียมจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้คงที่ ทำให้ความอยากกินของจุบจิบสลายตัวไปได้ (ธาตุแคลเซียม)


Cr : https://medthai.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2/

ประโยชน์

คะน้าเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารมากมายโดยเฉพาะส่วนยอดของคะน้าสดที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและเกลือแร่ คะน้ายังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกหลายอย่าง

1. ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

คะน้าอุดมไปด้วยวิตามินเอซึ่งมีคุณสมบัติต้านการเกิดเซลล์มะเร็งและยังช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดโอกาสเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และช่วยลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยโดยรวมได้ การกินคะน้าเป็นประจำจะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ปอด และเต้านม

2. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง

คะน้าช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง เนื่องจากเป็นผักที่มีธาตุเหล็กและฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างการสร้างเม็ดเลือดแดงจึงมีส่วนสำคัญในการบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังเป็นสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของการสร้างกล้ามเนื้อและบำรุงเนื้อเยื่อต่างๆ

3. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก

คะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในเลนส์ตา การกินคะน้าจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกลงได้ถึง 20% เมื่อเทียบกับคนไม่ได้กิน

4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

คะน้ามีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงให้กระดูกและฟันแข็งแรง จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือเสื่อมในผู้สูงอายุ และยังมีสารอิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยเสริมการทำงานขฮงแคลเซียมให้ทำงานเป็นปกติขึ้น พบว่า การกินคะน้า 1 ถ้วย = ดื่มนม 1 แก้ว ดังนั้นถ้าไม่ดื่มนมก็มากินคะน้ากันเถอะ

5. ช่วยบำรุงผิวพรรณ

คะน้ามีวิตามินซีช่วยบำรุงผิวพรรณและมีส่วนช่วยเสริมสร้างให้เนื้อเยื่อมีความชุ่มชื้นมากขึ้น

6. ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์

คะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ และทำให้มีสุขภาพแข็งแรง

7. ลดอาการไมเกรน

ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของการเกิดอาการไมเกรนลงได้

8. ปรับสมดุลของฮอร์โมน

ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือนได้


Cr : https://www.honestdocs.co/the-benefits-of-chinese-kale

วิธีการปลูก

การปลูกและขยายพันธุ์คะน้า

คะน้าเป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุย เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด การปลูกจะปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ โดยหว่านเมล็ดลงในแปลงปลูก ในดินที่เตรียมไว้ แบบโรยเมล็ด โรยเรียงเป็นแถว ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 20 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน เมล็ดก็จะงอก ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ให้ทำการถอนต้นเล็กๆ ที่มันเบียดกันออกไป แล้วจึงทำการย้ายต้นกล้า ลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ระยะห่างกันประมาณ 20 ซม.

วิธีดูแลรักษาคะน้า

คะน้าเป็นพืชที่ชอบน้ำ ต้องระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องดูแลรดน้ำเสมอ ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้คะน้าโตได้เร็ว

การเก็บเกี่ยวผลผลิตคะน้า

เมื่อคะน้ามีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-55 วัน จะสามารถตัดได้ คะน้าเป็นผักมีอายุ 2 ปี แต่จะปลูกเป็นผักฤดูเดียว คะน้าสามารถปลูกได้ตลอดปี เราจะใช้มีดคมๆ แล้วจะตัดตรงโคลนต้น ที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป แล้วตัดแต่งใบเสียทิ้งไป แล้วนำบรรจุใส่ภาขนะ

วิธีเก็บรักษาคะน้า

จะนำต้นคะน้า แล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด ล้างก้านใบให้สะอาด เราจะมีวิธีเก็บรักษาให้สดนานๆ คือให้ล้างน้ำให้สะอาดดี แล้วให้สะเด็ดน้ำออกให้หมด แล้วนำมาห่อด้วยกระดาษหรือผ้าขาวบาง แล้วใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็น จะเก็บไว้ใช้ได้นาน


Cr : https://www.thai-thaifood.com/th/%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2/

คุณค่าทางโภชนาการ

คะน้าดิบปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี และประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

น้ำ 92.1 กรัม โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.8 กรัม เส้นใย 1.6 กรัม

แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 2512 ไมโครกรัม วิตามินเอ 419 iu.

วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.08 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม


Cr : https://www.honestdocs.co/the-benefits-of-chinese-kale

รูปภาพ

อ้างอิง